ใครว่า "จำนำข้าว" ขาดทุนแสนล้าน ?

ใครว่า "จำนำข้าว" ขาดทุนแสนล้าน ?

ใครว่า "จำนำข้าว" ขาดทุนแสนล้าน ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลายเป็นประเด็นสุดฮอตข้ามปีสำหรับการดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/2556 ของกระทรวงพาณิชย์ ที่ต้องการยกระดับราคาข้าวเปลือกในตลาด

สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร โดยตั้งวงเงินสำหรับใช้ดำเนินการโครงการถึง 4 แสนล้านบาท แต่ทว่า โครงการดังกล่าวมักถูกโจมตีในจุดโหว่ต่าง ๆ ที่เป็นการเปิดช่องการทุจริตงบประมาณจำนวนมาก "นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์" อธิบดีกรมการค้าภายใน ทัพหน้าแจงเป้าหมายนโยบายแท้จริงของรัฐบาล

 

การรับจำนำข้าวมักถูกโจมตีในเชิงลบ

หลายคนเป็นห่วงเรื่องจำนำข้าวทำให้รัฐบาลขาดทุน 100,000 ล้านบาท จริง ๆ แล้วไม่มี เป็นการคำนวณผิดพลาด หากคิดจากงบประมาณที่ใช้ในการรับจำนำปีก่อน 370,000 ล้านบาท แต่มีของที่ขายได้อยู่ ไม่ใช่ว่าปีนี้จะขาดทุนเท่านี้

ปีหน้าจะขาดทุนเท่านี้ เอามาคูณกันเข้าไปเลย รอบบัญชีกับรอบโครงการจะไม่เหมือนกัน เคยมีข้าวบางสมัยยังขายไม่หมดก็มี แต่คนอาจจะมีความรู้สึกว่าซื้อ ๆ มาแล้วขาย เราอยากให้มองเป้าหมายของการรับจำนำ

ไม่ใช่การซื้อมาขายไป เจตนารมณ์ของรัฐบาล คือ ต้องการสร้างรายได้ที่ดีให้เกษตรกร ให้หลุดพ้นจากวงจรหนี้สิน แต่คงไม่ใช่นโยบายระยะยาว เป็นเพียงการลดภาระของเกษตรกรให้สามารถลืมตาอ้าปาก ยืนบนขาของตัวเองได้

เรามีเส้นทางที่วางไว้ และมีกรอบระยะเวลา หากไม่ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เทียบเท่ากับค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน อาจทำให้เกษตรกรเลิกอาชีพนี้ไปหมด


ผลรับจำนำรอบที่ 1 ปี 2555/2556

ขณะนี้เหลือระยะเวลาอีกราวครึ่งเดือนจะสิ้นสุดโครงการรอบที่ 1 มีข้าวเปลือกเข้าสู่โครงการรับจำนำแล้ว 10 ล้านตัน ซึ่งยังต่ำกว่าประมาณการผลผลิตข้าวของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่คาดการณ์ว่าจะมีผลผลิต 15 ล้านตันข้าวเปลือก

โดยใช้เม็ดเงินไปแล้วประมาณ 130,000 ล้านบาทเศษ ต่ำกว่าที่ตั้งวงเงินรับซื้อเอาไว้ 410,000 ล้านบาททั้งปี วงเงินนี้ส่วนใหญ่เตรียมไว้จำนำข้าว ส่วนจำนำมันสำปะหลังเพียงเล็กน้อย มีที่กู้มา 140,000 ล้านบาท

และมีมติของ ครม.ให้นำเงินที่ได้จากการขายข้าวในสต๊อกของรัฐบาลที่ทยอยคืน 60,000-70,000 ล้านบาทมาหมุนเวียน เม็ดเงินจึงเพียงพอโดยผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เงินก็ผ่านกลับไปสู่บัญชีของเกษตรกร ไม่ได้อยู่ในมือใครเลย

ส่วนที่เห็นผลจำนำข้าวนาปีรอบนี้มากกว่าโครงการนาปี 2554/2555 ซึ่งมีเพียง 6 ล้านตัน เพราะในปีก่อนเกิดปัญหาน้ำท่วม สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตส่วนหนึ่ง ทำให้เกษตรกรต้องปลูกใหม่และนำเข้ามาสู่โครงการรับจำนำนาปรังแทน จึงทำให้ยอดจำนำนาปรังปี 2555 มีมากถึง 14 ล้านตัน รวมแล้วทั้งปีไม่ต่างจากปีที่ก่อน


ความสำเร็จของนโยบายรับจำนำข้าว

โครงการสามารถยกระดับราคาข้าวเปลือกหอมมะลิให้สูงขึ้นจากปีก่อน 9% และราคาข้าวเปลือกเจ้า 5% ปรับสูงขึ้นกว่าปีก่อน 16.1% เพราะราคาจำนำสูงทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 37 ล้านครัวเรือน เข้าร่วมโครงการแล้ว 1.7 ล้านครัวเรือน

ได้รับประโยชน์มีรายได้และเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และชาวนาปลดหนี้ได้


ข้าวเปลือกแพงข้าวถุงจะปรับขึ้น

ขณะนี้สินค้าข้าวถุงยังไม่มีการปรับราคา กรมติดตามความเคลื่อนไหวราคาทุกวัน และปกติมีผู้ผลิตจำนวนมากแข่งขันสูง การปรับราคาไม่ใช่เรื่องง่าย และทางกรมได้ขออนุมัติให้นำข้าวสาร 5% ในสต๊อกมาจัดทำข้าวถุงธงฟ้าขนาด 5 กก. ปริมาณ 300,000 ตัน ขายในร้านถูกใจกว่า 16,000 สาขา


ข้าวล้นโกดัง

นโยบายสต๊อกขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล เพราะบางรัฐบาลอาจจะไม่ขายเลยก็ได้ เก็บไว้เป็นสต๊อกเพื่อความมั่นคง ซึ่งมีคณะอนุกรรมการระบายข้าวกำกับดูแล ประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ


จำนำรอบที่ 2 (นาปรัง)

ปีนี้เป็นปีแรกที่ปรับระบบให้ใช้โครงการรับจำนำแบบรอบที่ 1 และรอบที่ 2 แทนระบบเดิมที่ใช้นาปีและนาปรัง โดยจะขึ้น ทะเบียนเกษตรกรอีกครั้ง คาดการณ์ผลผลิตนาปรังปีนี้มีเรื่องภัยแล้ง ทางกระทรวงเกษตรฯคาดว่าผลผลิตจะได้ประมาณ 9 ล้านตันข้าวเปลีอก

จากเดิม 11-12 ล้านตัน แสดงว่าราคาข้าวน่าจะขึ้น แต่ส่วนใหญ่เป็นข้าวขาว ข้าวเหนียว ราคาจำนำต่ำกว่า ดังนั้น คาดว่าจะใช้งบประมาณในการรับจำนำข้าวรอบ 2 ไม่เกิน 150,000 ล้านบาท ไม่มากเท่ารอบแรก ส่วนโกดังกลางก็มีกำลังความจุเพียงพอ เพราะทางกรมได้ดึงมาดูแลเอง


การอุดช่องโหว่โครงการจำนำข้าว

มีการตั้งคณะอนุกรรมการเข้ามาดูแลทุกเรื่อง เรียกว่ามากที่สุดเพื่อป้องกันและลดปัญหาต่าง ๆ ที่เคยพบจากการรับจำนำที่ผ่านมา เช่น ปัญหาเกษตรกรสวมสิทธิ์ข้าวสู่โครงการรับจำนำ

เคยตรวจสอบพบและดำเนินคดีกับเกษตรกรที่แจ้งขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงเกษตรฯ 10 ไร่ แต่เมื่อนำไปคำนวณคาดการณ์ผลผลิตต่อไร่จะได้ปริมาณผลผลิตข้าวของแต่ละคน แต่เมื่อผลิตจริงเกิดเสียหายได้ต่ำกว่าที่ขึ้นทะเบียน

บางคนมีการนำข้าวของบุคคลอื่นมาสวมสิทธิ์ ส่วนที่เหลือขอยืมชื่อเกษตรกรเพื่อรับส่วนต่าง ขณะนี้จึงเริ่มเข้มงวดตั้งแต่การทำประชาคม เพิ่มการสุ่มตรวจสอบใบประทวนทั้งตำบลเพิ่มเป็น 20% จากเดิม 10% ของที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมด

และให้พิมพ์ข้อความเตือนว่า "กรณีที่สวมสิทธิ์ข้าวเปลือกจะมีความผิดฐานฉ้อโกง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" แต่ยังได้ตรวจสอบทั้งกระบวนการไปถึงโรงสีและโกดังที่เข้าร่วมโครงการ

ที่เดิมมักจะพบพฤติกรรมยักยอกหรือฉ้อโกง ก็แจ้งความดำเนินคดีและขึ้นบัญชีดำ ป้องกันไม่

เข้ามากระทำความผิดได้อีก ขณะนี้ขึ้นบัญชีดำไปแล้ว 3 โรงสี ตั้งแต่ปี 2554 และที่อยู่ระหว่างตรวจสอบก็ยังมีอีกพอสมควร หากพบว่าผิดจะดำเนินการตามกฎหมาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook