รื้อ 400 หลังคาเรือนสร้างไฮสปีดเทรน พาดผ่าน 5 จังหวัด "กรุงเทพฯ-หัวหิน"

รื้อ 400 หลังคาเรือนสร้างไฮสปีดเทรน พาดผ่าน 5 จังหวัด "กรุงเทพฯ-หัวหิน"

รื้อ 400 หลังคาเรือนสร้างไฮสปีดเทรน พาดผ่าน 5 จังหวัด "กรุงเทพฯ-หัวหิน"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เริ่มเห็นเค้าลาง "รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-หัวหิน" ระยะทาง 225 กิโลเมตร หลังจาก "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" เริ่มต้นศึกษาเมื่อพฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา และเดือนเมษายนนี้จะได้เห็นแนวเส้นทางที่เหมาะสม

เปิดยอดเวนคืน 4 เส้นทาง

ทั้งนี้ บริษัทที่ปรึกษาเสนอ 4 แนวทางเลือกให้พิจารณาประกอบด้วย "แนวทางเลือกที่ 1" เส้นทางขนานไปกับทางรถไฟสายใต้ในปัจจุบัน เริ่มต้นจากสถานีกลางบางซื่อผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี มา

สิ้นสุดที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 225 กิโลเมตร มีระยะทางเวนคืน 6,029 เมตร คิดเป็นพื้นที่เวนคืน 75 ไร่ จำนวนผู้ถูกเวนคืน 400 หลังคาเรือน

"แนวทางเลือกที่ 2" เริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ ใช้แนวเขตทางรถไฟสายแม่กลองผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม มาบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายใต้เดิมที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี จนมาสิ้นสุดที่อำเภอหัวหิน ระยะทาง 189 กิโลเมตร จะสั้นกับแนวแรก 34.23 กิโลเมตร มีระยะทางเวนคืน 18,804 เมตร หรือมีพื้นที่เวนคืน 235 ไร่ จำนวน 2,500 หลังคาเรือน

"แนวทางเลือกที่ 3" เริ่มจากชุมทางตลิ่งชัน ใช้พื้นที่เขตทางของถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอก) และถนนพระรามที่ 2 ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม มาบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายใต้เดิมที่ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี จนมาสิ้นสุดที่อำเภอหัวหิน 198 กิโลเมตร ระยะทางลดลงจากแนวแรก 25.49 กิโลเมตร ระยะทางเวนคืน 26,670 เมตร มีพื้นที่เวนคืน 333 ไร่ จำนวน 1,500 หลังคาเรือน



เคาะเลือกแนวรถไฟสายใต้

และ "แนวทางเลือกที่ 4" เริ่มจากชุมทางตลิ่งชัน ใช้พื้นที่เขตทางของถนนกาญจนาภิเษกและถนนเพชรเกษมบางส่วน ใช้แนวเส้นทางใหม่ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม มาบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายใต้เดิมที่อำเภอปากท่อ จนมาสิ้นสุดที่อำเภอหัวหิน 200 กิโลเมตร ระยะทางลดลง 27.29 กิโลเมตร ระยะทางเวนคืน 68,165 เมตร คิดเป็นพื้นที่เวนคืน 852 ไร่ จำนวน 2,600 หลังคาเรือน

สำหรับเส้นทางที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดนั้น คือ "แนวทางเลือกที่ 1" เนื่องจากมีการเวนคืนที่ดินน้อยที่สุด

ขยับตำแหน่งสถานีใหม่

แต่ก็จำเป็นจะต้องปรับปรุงเล็กน้อย โดยเฉพาะเรื่องจุดที่ตั้งสถานี โดยจุดที่จะต้องมีการเปิดพื้นที่ใหม่ คือ "สถานีนครปฐม" ช่วงชุมทางหนองปลาดุก เพราะไม่สามารถลากเข้าไปในพื้นที่บ้านโป่งได้ เนื่องจากเป็นเส้นทางโค้งหักศอกจะต้องเวนคืนที่ดิน"สถานีเพชรบุรี" จะต้องขยับออกจากในเมืองมาทางถนนเพชรเกษมประมาณ 2 กิโลเมตร เนื่องจากแนวรถไฟเดิมค่อนข้างโค้ง และจะต้องตัดผ่านกลางเมือง

และปลายทาง "สถานีหัวหิน" เนื่องจากสถานีเดิมอยู่ในเมืองและฝั่งตรงข้ามเป็นสนามกอล์ฟการรถไฟฯ ต้องขยับสถานีใหม่มาทางซอยหัวหิน 100

เวนคืนชะอำ 68 ไร่ผุดศูนย์ซ่อม

นอกจากนี้ ที่ปรึกษายังเสนอให้สร้างศูนย์ซ่อมบำรุง (ดีโป้) ที่อำเภอชะอำ เป็นที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ เนื้อที่ประมาณ 68 ไร่ อยู่ติดกับศูนย์วัสดุก่อสร้างไทวัสดุ

สำหรับรูปแบบโครงการตลอดเส้นทางจะมีทางยกระดับช่วงบางซื่อ-วงแหวนกาญจนาภิเษก ระยะทาง 17 กิโลเมตร ช่วงนครปฐม 10 กิโลเมตร ช่วงบ้านโป่ง 4 กิโลเมตร ช่วงหัวหิน 5 กิโลเมตร มีสะพานข้ามแยกตามแนวเส้นทาง 12 กิโลเมตร ทางวิ่งลดระดับ 4 กิโลเมตร และทางวิ่งระดับพื้นดิน 171 กิโลเมตร

ด้านแผนการก่อสร้าง หลังผลการศึกษาได้ข้อยุติตามแผนงานภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ หากเริ่มประมูลก่อสร้างตั้งแต่ปี 2557 ตามแผนใช้เวลาสร้าง 5 ปี กำหนดเสร็จและเปิดบริการในปี 2561




แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook