ประกันสังคม เฉลยแล้วเหตุใดผู้ประกันตนมาตรา 33 ถึงยังไม่ได้เงิน 15,000 บาท

ประกันสังคม เฉลยแล้วเหตุใดผู้ประกันตนมาตรา 33 ถึงยังไม่ได้เงิน 15,000 บาท

ประกันสังคม เฉลยแล้วเหตุใดผู้ประกันตนมาตรา 33 ถึงยังไม่ได้เงิน 15,000 บาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีที่ประชุม ครม. อนุมัติโครงการจ่ายเงินชดเชยรายได้ 15,000 บาท ให้กับลูกจ้างสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่จะให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 5.9 หมื่นคน โดยเงื่อนไขจะต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ไม่ได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงานจากไวรัสโควิด-19 ในอัตรา 62% ของค่าจ้างรายวัน เนื่องจากจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมไม่ครบ 6 เดือน ภายใน 15 วันย้อนหลัง ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังและสำนักงานประกันสังคมระบุตรงกันว่าจะเริ่มโอนเงิน 15,000 บาท ให้ประกันสังคมมาตรา 33 ที่ผ่านหลักเกณฑ์ในช่วงกลางเดือน ส.ค. นี้ แต่ปรากฎว่าต้องเลื่อนจ่ายออกไป

ล่าสุด เว็บไซต์ thebangkokinsight รายงานว่า การเลื่อนจ่ายเงิน 15,000 บาท สำหรับผู้ประกันตนที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ในกรณีว่างงานอันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัย (เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างาน) ว่าขณะนี้ สำนักงานประกันสังคมอยู่ระหว่างการขอรับการจัดสรรเงินงบประมาณ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อได้รับการจัดสรรและโอนเงินงบประมาณเรียบร้อยแล้ว จะเร่งทำการจ่ายเงินให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องว่างงานชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 63 และเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนในช่วง 15 เดือนย้อนหลัง จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยโควิด-19 จากกองทุนประกันสังคม โดยสามารถยื่นเรื่องต่อกองทุนประกันสังคมได้ตามปกติ ไม่ต้องรอเงิน 15,000 บาทจากมติ ครม.

เหตุสุดวิสัย หมายความรวมถึง ภัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือโรคติดต่ออันตรายอื่นตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชน และถึงขนาดที่ผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้ หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ดังนี้

ผู้ประกันตนถูกกักตัว

  • ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย และลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เนื่องจากต้องกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค ให้ลูกจ้างดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานในอัตรา 62% ของค่าจ้างรายวัน ตลอดระยะเวลาที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน แต่ไม่เกิน 90 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 63 ถึงวันที่ 31 ส.ค. 63 หรือตามระยะเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของ ครม.

ปิดกิจการชั่วคราว

  • ในกรณีมีเหตุสุดวิสัยถึงขนาดที่นายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการไม่ว่าทั้งหมด หรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว และลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตน ไม่สามารถทำงานได้และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ไม่ว่านายจ้างจะหยุดประกอบกิจการเอง หรือหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งของทางราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้ลูกจ้างดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ในอัตรา 62% ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการ แต่ไม่เกิน 90 วัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 63 ถึงวันที่ 31 ส.ค. 63 หรือตามระยะเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของ ครม. โดยระยะเวลาการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook