“รองนายก” คาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ข้อสรุปภายในเดือน ส.ค. นี้

“รองนายก” คาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ข้อสรุปภายในเดือน ส.ค. นี้

“รองนายก” คาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ข้อสรุปภายในเดือน ส.ค. นี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อสรุปเป็นมาตรการออกมาก่อนที่จะเสนอให้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 พิจารณาในวันที่ 19 ส.ค. นี้ จากนั้นถึงจะเข้าสู่ที่ประชุม ครม. ต่อไป ซึ่งมาตรการชุดนี้จะไม่ใช่การแจกเงินเหมือนที่ผ่านมา หรืออาจปรับลดลงพร้อมยืนยันว่ามาตรการดังกล่าวจะดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบในทุกๆ ด้าน

img_0128นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

นอกจากนี้ ยังพร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอของเอกชนที่ต้องการให้ออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ เช่น ช้อปช่วยชาติ แต่จะต้องจัดทำรายละเอียดของมาตรการเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาด้วย

img_0331นายปรีดี ดาวฉาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

นายปรีดี ดาวฉาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในระยะสั้นทั้ง 3 ด้าน ได้แก่

  1. เศรษฐกิจหดตัวมากที่สุดในไตรมาสที่ 2 เพราะจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง อีกทั้งภาคการส่งออกชะลอตัวลงด้วย
  2. อัตราการว่างงานเพิ่มมากขึ้นถึง 745,000 คน หรือ 2% ของกำลังแรงงาน มีแรงงานมากกว่า 2 ล้านคน ที่ไม่ได้รับเงินเดือนแต่มีงานรอที่จะกลับไปทำ
  3. เม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจมีจำกัด โดยเม็ดเงินงบประมาณรายจ่าย พ.ร.บ. โอนงบประมาณฯ และ พ.ร.ก. เงินกู้ 1 ล้านล้าน ใช้ในการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจไปแล้ว และในช่วงที่เหลือมีเม็ดเงินงบประมาณจำกัดกระตุ้นเศรษฐกิจต้องมีความคุ้มค่า

โดยกระทรวงการคลังมีนโยบายเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข คือ การดูแลค่าครองชีพ การจ้างงานในกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย รวมถึงการประคับประคองผู้ประกอบการย่อยด้วยการเสริมสภาพคล่อง ปรับโครงสร้างหนี้ และการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการท่องเที่ยว การบริโภคภายในประเทศเพื่อทดแทนรายได้ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป

สำหรับทิศทางนโยบายเศรษฐกิจระยะต่อไปต้องวางรากฐานเศรษฐกิจใหม่หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วยการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้มีการเติบโตลดความเหลื่อมล้ำ โดยดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวควบคู่กับการรักษาระดับหนี้สาธารณะให้อยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ร้อยละ 60 ต่อ GDP และเร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐโดยเฉพาะรายจ่ายลงทุน อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ ปรับปรุงกฤหมายและโครงสร้างภาษีให้เป็นธรรม พัฒนากลไกการรักษาเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน และกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ให้ดำเนินการตามพันธกิจท่ามกลางปัจจัยท้าทาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook