อีกแล้ว! ‘เอชเอสบีซี’ เจอข้อหา “ฟอกเงิน” ในอาร์เจนตินา

อีกแล้ว! ‘เอชเอสบีซี’ เจอข้อหา “ฟอกเงิน” ในอาร์เจนตินา

อีกแล้ว! ‘เอชเอสบีซี’ เจอข้อหา “ฟอกเงิน” ในอาร์เจนตินา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เอชเอสบีซี ธนาคารระหว่างประเทศรายใหญ่ กำลังเผชิญหน้ากับคำกล่าวหาว่าทำธุรกิจผิดกฎหมายในอาร์เจนตินา หลังต้องจ่ายค่าปรับให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ ในเรื่องการฟอกเงิน

โดยรัฐบาลอาร์เจนตินากล่าวหาว่าเอชเอสบีซีใช้ใบเสร็จปลอม เพื่อสนับสนุนการฟอกเงินและการหลบเลี่ยงภาษี ซึ่งได้ฟอกเงินไปแล้วราว 392 เปโซ หรือราว 2.2 พันล้านบาท

โดยสำนักงานภาษีของประเทศอาร์เจนตินาได้ส่งสำนวนยื่นฟ้องเอชเอสบีซีแล้ว เมื่อช่วงเย็นของวันจันทร์ที่ผ่านมา

ในส่วนของทางเอชเอสบีซี กล่าวว่ายินดีที่จะร่วมมือในการสืบสวน และยังบอกด้วยว่า การกล่าวหาดังกล่าวนั้นเป็นไปด้วยเจตนาดี โดย ลิสเซท บราโว โฆษกของเอชเอสบีซี

กล่าวว่ายินดีที่จะร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐบาลอาร์เจนตินาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าการตรวจสอบเป็นไปด้วยดี และสามารถบรรลุทางออกที่เหมาะสมได้

ทั้งนี้ในปีที่แล้ว เอชเอสบีซีจ่ายเงินราว 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6 แสนล้านบาท) ให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อเป็นค่าปรับในการฟอกเงิน ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในกรณีการฟอกเงิน

ริคาร์โด เอเชกาเรย์ หัวหน้าสำนักงานภาษีของอาร์เจนตินากล่าวว่า ทางการได้ตรวจสอบในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาและพบว่ามีการใช้เงินในการทำธุรกรรมฉ้อโกงราว 392 ล้านเปโซ (ราว 2.2 พันล้านบาท)

ซึ่งมาจากการหลบเลี่ยงภาษีและการฟอกเงิน นอกจากนี้ เอชเอสบีซียังช่วยให้ลูกค้าหลบเลี่ยงภาษีอีกกว่า 224 ล้านเปโซ (ราว 1.3 พันล้านบาท) และยังหวังว่าศาลจะตัดสินบทลงโทษที่เหมาะสมกับการกระทำดังกล่าว

การฟอกเงิน คือกระบวนการที่มีการซุกซ่อนเงินจากการกระทำผิดกกฎหมายเพื่อให้เป็นเงินถูกกฎหมาย โดยเอชเอสบีซี ซึ่งเคยมีข่าวฉาวเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวบ่อยครั้ง เนื่องจากนโยบายป้องกันที่ค่อนข้างอ่อนแอ

โดยทางธนาคาร เตรียมเพิ่มมาตรการในเรื่องดังกล่าวแล้ว และได้ใช้เงินจำนวน 290 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อป้องกันการฟอกเงิน และจ้าง บ๊อบ วอร์เนอร์ อดีตเจ้าหน้าที่ด้านการควบคุมสินทรัพย์ต่างประเทศ

จากกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ให้เข้ามาตรวจสอบในเรื่องดังกล่าว และดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยรับข้อร้องเรียน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทางธนาคารตั้งขึ้นมาใหม่ เพื่อส่งเสริมการต่อต้านการฟอกเงินและตรวจสอบการรับข้อร้องเรียนของธนาคาร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook