ฟันธง!! เปิดโพย 13 หัวเมืองต่างจังหวัด...อสังหาฯดาวเด่น

ฟันธง!! เปิดโพย 13 หัวเมืองต่างจังหวัด...อสังหาฯดาวเด่น

ฟันธง!! เปิดโพย 13 หัวเมืองต่างจังหวัด...อสังหาฯดาวเด่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

KK-ธนาคาร เกียรตินาคินจัดสัมมนาใหญ่ปีละครั้ง ปีนี้เปิดเวทีชวนคุยหัวข้อ "กรุงเทพฯ คือปัจจุบัน...ภูมิภาค คืออนาคต" ท่ามกลางข้อห่วงใยแนวโน้มปัญหาฟองสบู่ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยฟันธงว่ามีถึง 13 หัวเมืองต่างจังหวัดน่าลงทุนพัฒนาโครงการ

อสังหาฯยังโตได้อีก

"ทิศ ทางอสังหาริมทรัพย์ในปี 2556 มองว่ายังอยู่ในช่วงฟื้นตัวของที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล หลังเกิดปัญหาอุทกภัยปี 2554

อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าอุปสงค์และอุปทานจะขยายตัวอยู่ที่ 5.2% และ 16.5% ตามลำดับ..." คำกล่าวเปิดประเด็นของ "ศราวุธ จารุจินดา" ประธานสายสินเชื่อธุรกิจ ของ KK ตามต่อด้วยมือวิจัยข้อมูล "ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์" ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

ระบุว่า แนวโน้มตลาดอสังหาริมฯในพื้นที่ต่างจังหวัดมีโอกาสเติบโตอย่างมาก สะท้อนจากอัตราขยายตัวของยอดสินเชื่อคงค้างของภูมิภาคต่าง ๆ อยู่ในระดับสูงกว่าเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล


เปิดโพย 13 จังหวัดโตแน่

ทั้งนี้หัวเมืองที่คาดว่าจะมีศักยภาพเติบโตมี 13 จังหวัด แบ่งเป็น 2 เวอร์ชั่น คือเวอร์ชั่นตลาดอสังหาฯ ที่เติบโตสอดคล้องกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจมี 6 จังหวัด คือชลบุรี ภูเก็ต ขอนแก่น ระยอง อุบลราชธานี

และลำปาง กับเวอร์ชั่นอสังหาฯ ที่มีโอกาสเติบโตในอนาคตอันใกล้ 7 จังหวัด ได้แก่ มหาสารคาม หนองคาย บุรีรัมย์ นครราชสีมา สระแก้ว กาญจนบุรี และพิษณุโลก

แนวโน้มดังกล่าว เป็นส่วนผสมมาจากปัจจัยหนุนหลายด้านรวมกัน เริ่มจากนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคของรัฐบาล ทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเติบโตขึ้น (Urbanization)

โดยเฉพาะจังหวัดหัวเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ อาทิ เมืองท่องเที่ยว ทั้งภูเก็ต หัวหิน พัทยา กับเมืองธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งมีโฟกัสอยู่ที่ระยอง ชลบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา

นอกจากนี้ กระแสการรวมกลุ่มเปิดการค้าเสรี โดยเฉพาะการนับถอยหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่นำไปสู่การลงทุนพัฒนาเส้นทางคมนาคมระหว่างภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนและจังหวัดตามเส้นทาง GMS อาทิ หนองคาย สระแก้ว และพิษณุโลก เป็นต้น

ประชากรเขตเมือง ตจว.โตจี๊ด

"ดร.ปิย ศักดิ์" แจกแจงว่า เหตุที่กล้าฟันธงมี 13 จังหวัดแนวโน้มอนาคตธุรกิจอสังหาฯ มาจาก 4 ปัจจัยหลักด้วยกัน คือภูมิภาคนิยม กระแสสังคมเมือง นโยบายเศรษฐกิจมหภาคของรัฐบาล

และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐเริ่มจากปัจจัย "กระแสสังคมเมือง-Urbanization" ภาพที่เริ่มเป็นรูปธรรมชัดเจนเป็นลำดับ นับตั้งแต่นโยบายค่าแรง 300 บาท ได้เห็นภาพแรงงานคืนถิ่น

ได้เห็นภาพคนชนบทเข้ามาพักอาศัย และทำงานในเขตเมือง เป็นการเปลี่ยนผ่านจากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคมอุตสาหกรรมมากขึ้นตัวชี้วัดที่ ชัดเจนคือ "รายได้ประชากร" ประเมินจากปี 2503 มีประชากร 5 ล้านคน อาศัยในเขตเมืองโดยประมาณ ปัจจุบันปี 2556 พบว่าเพิ่มจำนวนเป็น 23 ล้านคน

ประเมิน ว่าภายในปี 2563 ประชากรในเขตเมืองจะทวีจำนวนเป็น 29 ล้านคน นั่นหมายถึงมากกว่า 50% ของทั่วประเทศ ทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยมากทวีคูณในเวลาเดียวกัน ประเด็นรายได้ต่อครัวเรือนในเขตภูมิภาคช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ก็เติบโตเร็วกว่าเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล คือมีอัตราเติบโต 120-140% ขณะที่เขตกรุงเทพฯโตราว ๆ 60% มีผลบวกทางตรง เพราะรายได้มากขึ้น ความต้องการปัจจัย 4 ย่อมมากขึ้นตามไปด้วย

GMS ปลุกจังหวัดหน้าด่านโต

ปัจจัย "นโยบายเศรษฐกิจมหภาค" พบว่าช่วงเปลี่ยนผ่าน 2-3 ปี จนถึง 15 ปีหน้า จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจมหภาคของประเทศไทยครั้งใหญ่ เป็นผลลัพธ์จากนโยบายค่าแรง 300 บาท นโยบายจำนำข้าว ที่สนับสนุนรายได้เกษตรกร เท่ากับเพิ่มกำลังซื้อให้กับกลุ่มรากหญ้า ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ

ปัจจัย "การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน" โครงการแห่งความหวังในต่างจังหวัด หนีไม่พ้นรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน ในอนาคตเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ จะทำให้เชื่อมโยงการเดินทางจากที่หนึ่งสู่ที่หนึ่งได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ผลพลอยได้อัตโนมัติ คือทำให้มีดีมานด์ที่อยู่อาศัยแนวรถไฟความเร็วสูง เพราะเคลื่อนที่เข้ากรุงเทพฯได้ง่ายและเร็วขึ้นนั่นเอง

และสุดท้าย ปัจจัย "ภูมิภาคนิยม" เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าไทยร่วมกับเพื่อนบ้าน 10 ประเทศเริ่มนับถอยหลังเข้าสู่การเปิดเสรีเป็นเออีซีตลาดเดียว โดยเฉพาะความร่วมมืออนุภาคลุ่มน้ำโขง GMS มี 3 เส้นทางหลัก ๆ ที่เรียกว่า "ระเบียงเศรษฐกิจ" คือ

1.แนวเหนือ-ใต้ เชื่อมคุนหมิง ดานัง ท่าขี้เหล็ก แม่สาย กรุงเทพฯ

2.แนวตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมเมืองท่าดานัง ผ่านสะหวันนะเขต เข้าไทยที่ จ.มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ลากยาวผ่านอ่าวรายาวดี เมียนมาร์

3.แนวใต้ เชื่อมเมืองโฮจิมินห์ ผ่านกรุงเทพฯ ทะลุไปถึงเมืองทวาย ซึ่งเป็นแนวเส้นทางที่รัฐบาลเมียนมาร์ออกแรงผลักดันอย่างมาก เพราะทวายจะได้กลายเป็นแลนด์มาร์กในการขนส่งสินค้าจากเวียดนามเข้าสู่ โซนมหาสมุทรอินเดีย

ประเทศไทยในฐานะอยู่จุดศูนย์กลาง GMS จังหวัดหน้าด่านหรือจังหวัดศูนย์กลาง ไม่ว่าจะเป็นเชียงราย (ด่านชายแดนเชียงแสน เชียงของ) พิษณุโลก มุกดาหาร หาดใหญ่ กาญจนบุรี ตาก ได้รับอานิสงส์ทั้งหมด

ตัวชี้วัด คือจังหวัดชายแดนมีตัวเลขการเติบโตการค้าแทบทุกด่าน โดยเฉพาะภาคอีสาน ไม่ว่าจะเป็นหนองคาย มุกดาหาร ปี 2555 โตถึง 20-30% ทั้งในแง่มูลค่าการค้าชายแดน และการขยายตัวของเศรษฐกิจในพื้นที่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook