ดูชัดๆ! แบงค์พันรุ่นเก่า-รุ่นใหม่ ของจริงทั้งคู่

ดูชัดๆ! แบงค์พันรุ่นเก่า-รุ่นใหม่ ของจริงทั้งคู่

ดูชัดๆ! แบงค์พันรุ่นเก่า-รุ่นใหม่ ของจริงทั้งคู่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (25มี.ค.56) เพจเฟสบุ๊ต "We Slender" ได้โพสรูปธนบัตรฉบับละ 1,000 บาทเปรียบเทียบกัน พร้อมเขียนข้อความว่า "ฝากเพื่อนๆ ช่วยกัน "แชร์" ด้วยนะค่ะ ปลอมได้เหมือนมากๆ

แต่จากการตรวจสอบไปยังเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ปรากฏว่า ธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ทั้ง 2 นั้นเป็นของจริงทั้งคู่ แต่เป็นคนละรุ่น ภาพบนเป็นธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท รุ่นที่ 1 ประกาศใช้เมื่อปี 2542

ส่วนภาพล่างเป็นรุ่น 2 ประกาศใช้เมื่อปี 2548 และเป็นธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบันนี้ ซึ่งธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท รุ่น 1 แม้จะมีจำนวนธนบัตรหมุนเวียนอยู่ในมือประชาชนไม่มากนักก็ตาม แต่ก็ยังคงเป็น ธนบัตรที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายเช่นกัน

ทั้งนี้เว็บไซต์ของธนาคาแห่งประเทศไทย หรือ แบงค์ชาติ มีวิธีสังเกตธนบัตรปลอมเพื่อนประชาชนสามารถตรวจสอบและสังเกตุได้ด้วยตัวเอง ธนบัตรต้องมีลักษณะพิเศษที่ยากต่อการปลอมแปลง ประชาชนสังเกตและจดจำได้ ด้วย 3 วิธีง่ายๆ คือ สัมผัส ยกส่อง และ พลิกเอียง





 



1.การสัมผัส

กระดาษธนบัตรรัฐบาลทำจากกระดาษที่มีใยฝ้ายเป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีความแกร่ง ทนทาน และไม่ยุ่ยง่าย เมื่อจับสัมผัสจะให้ความรู้สึกแตกต่างจากกระดาษทั่วไป

ธนบัตรปลอมทำจากกระดาษคุณภาพต่ำ เมื่อถูกใช้เปลี่ยนมือเพียงไม่กี่ครั้งเนื้อกระดาษก็จะนิ่มเป็นขุยและยุ่ยง่าย ลวดลายเส้นนูน เกิดจากการพิมพ์เส้นนูนโดยใช้แม่พิมพ์ที่มีร่องหมึกลึกและใช้แรงกดพิมพ์สูงหมึกพิมพ์จึงนูนขึ้นมาจากเนื้อกระดาษ

อีกทั้งภาพและลายเส้นที่ได้จะมีรายละเอียดคมชัด เหมาะสำหรับการพิมพ์ภาพประธาน เช่น พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ หรือส่วนที่ต้องการเน้นให้เด่นชัด ลวดลายเส้นนูนสามารถสัมผัสและรู้สึกได้ที่ตัวเลขแจ้งชนิดราคามุมขวาบน ตัวอักษรคำว่า รัฐบาลไทย ตัวอักษร และตัวเลขไทยแจ้งชนิดราคาด้านหน้าธนบัตร เมื่อใช้ปลายนิ้วมือลูบสัมผัสบริเวณดังกล่าว จะรู้สึกถึงการนูนของหมึกพิมพ์มากกว่าบริเวณอื่น


2.ยกส่อง เพื่อสังเกตสิ่งที่อยู่ในเนื้อกระดาษและลวดลายซ้อนทับ

อย่างแรก คือดูลายน้ำ เมื่อยกธนบัตรรัฐบาลขึ้นส่องดูกับแสงสว่าง จะเห็นลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

ภาพลายน้ำนี้เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิตกระดาษที่ทำให้เนื้อกระดาษมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน จึงทำให้เห็นเป็นภาพที่มีการไล่ระดับของแสงเงาอ่อนแก่คล้ายภาพสามมิติ

ไม่ใช่ภาพแบนราบเหมือนธนบัตรปลอมที่เลียนแบบด้วยการพิมพ์ภาพลงบนผิวกระดาษ นอกจากลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังมีลายน้ำรูปลายไทยที่มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษประดับควบคู่ไว้อีกด้วย

อย่างที่สอง คือดูแถบสีโลหะในเนื้อกระดาษ ธนบัตรรัฐบาลทุกชนิดราคามีแถบสีโลหะฝังในเนื้อกระดาษตามแนวตั้งบนแถบมีตัวเลขและตัวอักษรโปร่งแสงขนาดเล็กแจ้งชนิดราคาธนบัตรสามารถมองเห็นและอ่านได้ทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่าง

สำหรับธนบัตรชนิดราคา 500 บาท และ 1,000 บาท จะมีบางส่วนของแถบสีโลหะปรากฎให้เห็นเป็นระยะๆ ที่ด้านหลังของธนบัตร เมื่อยกขึ้นส่องดูกับแสงสว่างจะเห็นเป็นเส้นต่อเนื่อง มีตัวเลขและอักษรโปร่งแสงขนาดเล็กแจ้งชนิดราคาธนบัตรเช่นเดียวกัน

ภาพซ้อนทับ เกิดจากการพิมพ์สีพื้นด้วยเครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ภาพได้ทั้งสองด้านในเวลาเดียวกัน ทำให้ส่วนของลวดลายที่ออกแบบไว้ในตำแหน่งตรงกันของด้านหน้าและด้านหลังธนบัตรทับกันสนิทหรือประกอบกันขึ้นเป็นลวดลายหรือภาพที่สมบูรณ์


3.พลิกเอียง เพื่อสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

หมึกพิมพ์พิเศษสลับสี ที่ตัวเลขแจ้งราคามุมขวาบนของธนบัตรชนิดราคา 500 บาท และ 1,000 บาท พิมพ์ด้วยหมึกชนิดพิเศษ เมื่อพลิกธนบัตรไปมาสีของตัวเลข 500 จะเปลี่ยนสลับจากสีเขียวเป็นสีม่วง

ส่วนสีของตัวเลข 1,000 ด้านบนจะเปลี่ยนสลับจากสีทองเป็นสีเขียว แถบฟอยล์สีเงินผนึกอยู่บนด้านหน้าเบื้องซ้ายของธนบัตรชนิดราคา 100 บาท 500 บาท และ 1,000 บาท

จะมองเห็นเป็นหลายมิติแตกต่างกันตามชนิดราคา และจะเปลี่ยนสีสะท้อนแสงวาววับ เมื่อพลิกเอียงธนบัตรไปมา

ตัวเลขแฝง ซ่อนอยู่ในลายประดิษฐ์มุมล่างซ้ายของธนบัตรทุกชนิดราคา เมื่อยกธนบัตรเอียงเข้าหาแสงสว่างและมองผ่านจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางธนบัตรในมุมที่เหมาะสม จะเห็นตัวเลขอารบิกแจ้งชนิดราคาธนบัตรฉบับนั้น


รีสอร์ท "ศรีพันวา" มูลค่า 6,000 ล้านของ ปลาวาฬ อิสสระ

วิกรม กรมดิษฐ์ เจ้าของอาณาจักรอมตะนคร มหาเศรษฐีเมืองไทย

ธุรกิจขายผ้าพันคอน่ารักๆของ "ใหม่ ดาวิกา"

จอห์น วิญญู เผยจุดเปลี่ยนชีวิต ทำตัวหรู สู่เป็นหนี้




แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook