ครม. สรุปผล ชิมช้อปใช้ หนุน GDP ไทยราว 0.1-0.3% ดันคนเข้าสู่ระบบไร้เงินสด

ครม. สรุปผล ชิมช้อปใช้ หนุน GDP ไทยราว 0.1-0.3% ดันคนเข้าสู่ระบบไร้เงินสด

ครม. สรุปผล ชิมช้อปใช้ หนุน GDP ไทยราว 0.1-0.3% ดันคนเข้าสู่ระบบไร้เงินสด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ครม. สรุปผล ชิมช้อปใช้ หนุน GDP ไทยขยายตัวที่ราว 0.1-0.3% ผลักดันสังคมไร้เงินสด

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม. รับทราบสรุปผลการดำเนินงานมาตรการชิมช้อปใช้ ช่วงปลายปี 62 ถึงต้นปี 63 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

159599น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีน.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

โดยสรุปในภาพรวมของมาตรการชิมช้อปใช้ ส่งผลบวกต่อ GDP ไทย ซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 0.1-0.3% ขณะที่ความพึงพอใจของประชาชนนั้น จากการสำรวจพบว่า มีความพึงพอใจต่อเงินสนับสนุน 1,000 บาท 74.6% พึงพอใจต่อความปลอดภัยในการใช้แอปพลิเคชันเป๋าตัง 74.2% และมีความพึงพอใจต่อความสะดวกในการใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง 73.9%

สำหรับผลการดำเนินมาตรการในช่วง วันที่ 27 ก.ย. 62 - 31 ม.ค. 63 มีผู้ได้รับสิทธิ์จำนวน 14,354,159 คน มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 11,802,073 คน มีร้านค้าที่มีผู้ไปใช้สิทธิ์จำนวน 103,053 ร้าน มียอดการใช้จ่ายผ่านระบบการชำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์ (g-Wallet) รวม 28,819 ล้านบาท แยกเป็น ช่องที่ 1 จำนวน 11,671 ล้านบาท และช่องที่ 2 จำนวน 17,148 ล้านบาท กระทรวงการคลังจ่ายเงินชดเชยรวม 12,930 ล้านบาท

ส่วนผลประเมินความคุ้มค่าและความพึงพอใจ พบว่า ยอดการใช้จ่ายของร้าน ชิม ช้อป ใช้ รวมกันมีมูลค่ามากกว่าร้านค้าทั่วไป 7.8 เท่า และการใช้จ่ายส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับร้านโอทอป และ ร้านธงฟ้าประชารัฐ แสดงให้เห็นว่าร้านค้ารายย่อยได้รับรายได้จากมาตรการมากกว่าร้านค้ารายใหญ่

นอกจากนี้ ยังมีการกระจายตัวของการใช้จ่ายครอบคลุมทั่วประเทศและลงไปถึงร้านค้ารายย่อย รวมทั้งได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนให้มีความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การผลักดันให้ประเทศเข้าสู่สังคมไร้เงินสด และการสร้างฐานช้อมูลขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการวิเคราะห์เชิงลึกต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook