คลังโต้เดือด รัฐกู้เงิน 3 ล้านล้านบาท ในปี 2564 ไม่เป็นความจริง!

คลังโต้เดือด รัฐกู้เงิน 3 ล้านล้านบาท ในปี 2564 ไม่เป็นความจริง!

คลังโต้เดือด รัฐกู้เงิน 3 ล้านล้านบาท ในปี 2564 ไม่เป็นความจริง!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นางแพตริเซีย มลคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าในปี 2564 ว่ารัฐบาลเตรียมกู้เงินเพิ่มกว่า 3 ล้านล้านบาท ทำให้มีหนี้สาธารณะทะลุ 9 ล้านล้านบาท นั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

โดยแผนนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 จะมีรายการก่อหนี้ใหม่ จำนวน 1.47 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย

  • การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 623,000 ล้านบาท
  • การกู้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้แผนงานตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 จำนวน 550,000 ล้านบาท
  • การกู้เงินเพื่อสนับสนุนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง จำนวน 133,657 ล้านบาท
  • การกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่รัฐบาล และรัฐวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 จำนวน 158,782 ล้านบาท

ทั้งนี้ ในภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในปัจจุบันการกู้เงินเพื่อการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเป็นกลไกสำคัญ และเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ผ่านวิกฤตการณ์ดังกล่าวไปได้

info

สำหรับแผนการบริหารหนี้เดิม จำนวน 1.28 ล้านล้านบาท เป็นการปรับโครงสร้างหนี้เก่าที่ครบอายุ เพื่อให้การบริหารหนี้สาธารณะอยู่ในกรอบต้นทุนและความเสี่ยงที่เหมาะสม โดยไม่ได้เป็นการเพิ่มยอดหนี้ใหม่แต่อย่างใด

ทั้งนี้ บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agencies) ระดับสากล ได้แก่ S&P Moody’s และ Fitch ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เนื่องจากประเทศไทยมีภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) ที่แข็งแกร่งเป็นผลจากการบริหารจัดการทางการคลังอย่างรอบคอบและรักษาวินัยทางการคลัง โดยประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ปี 2564 ยังคงอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลังซึ่งกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 60

อย่างไรก็ดี การนำเข้า เผยแพร่ หรือส่งต่อข้อมูลที่บิดเบือน ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ อาจเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook