ค่าแรง 300 ไม่พอใช้หนี้ ลูกจ้างชี้ รัฐบาลควรเพิ่มทุกปี

ค่าแรง 300 ไม่พอใช้หนี้ ลูกจ้างชี้ รัฐบาลควรเพิ่มทุกปี

ค่าแรง 300 ไม่พอใช้หนี้ ลูกจ้างชี้ รัฐบาลควรเพิ่มทุกปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายวชิร คูณทวีเทพ อาจารย์ประจำศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงสถานภาพแรงงานไทยหลังจากการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศว่า

รายได้ของลูกจ้างส่วนใหญ่ร้อยละ 35 ระบุว่าได้รับเท่ากับค่าจ้างขั้นต่ำ และมีร้อยละ 26 ระบุว่าได้ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นลูกจ้างรายวันภาคการเกษตร ที่น่าตกใจพบว่าลูกจ้างร้อยละ90 ระบุว่ามีภาระหนี้ โดยปัจจุบันมีหนี้เฉลี่ย 98,428 บาทต่อครัวเรือน สูงกว่าปีก่อนที่มีหนี้เฉลี่ย 91,710 บาท

สำหรับหนี้ที่เพิ่มขึ้นนั้น พบว่า เป็นการกู้ในระบบร้อยละ 48.1 ลดลงจากปีก่อนที่มีสัดส่วนร้อยละ 52.3 ขณะที่การกู้เงินนอกระบบกลับมีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 51.9 จากปีก่อนที่มีสัดส่วนร้อยละ 47.7

ส่วนการผ่อนชำระหนี้นั้น กลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน ได้ผ่อนชำระหนี้ตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 56.8 และพบว่ากลุ่มนี้ประสบปัญหาในการชำระหนี้ค่อนข้างสูง

เมื่อถามว่ามีปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่ายหรือไม่ ร้อยละ 62.8 ตอบว่ามีปัญหา โดยร้อยละ 74 ระบุว่าเป็นเพราะราคาสินค้าแพงขึ้น ขณะที่ร้อยละ 13 ระบุว่าเป็นเพราะดอกเบี้ยสูง และร้อยละ 10.4 ระบุว่าเป็นเพราะรายได้ลดลง

ทั้งนี้ ลูกจ้างมีความเห็นว่า หลังการปรับค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศแล้ว รัฐบาลควรมีการปรับขึ้นค่าจ้างทุกปี โดยอัตราที่เหมาะสมในปัจจุบันอย่างน้อยควรอยู่ที่ 385 บาทต่อวัน ขณะที่ในอีก 3 ปีข้างหน้าควรอยู่ที่ 456 บาทต่อวัน และอีก 5 ปีข้างหน้าควรอยู่ที่ 574 บาทต่อวัน

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าวว่า แม้ว่าจะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ แต่พบว่าแรงงานส่วนใหญ่ยังคงเป็นหนี้

โดยเฉพาะหนี้นอกระบบที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าครองชีพสูงขึ้น และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน จึงจำเป็นต้องก่อหนี้เพิ่ม และการกู้ในระบบไม่สามารถเข้าได้ถึงแหล่งเงินกู้เต็มที่ จึงต้องหันไปกู้นอกระบบแทน


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook