สปสช. พร้อมชดเชย หากเกิดความเสียหายจากการฉีดวัคซีนโควิด-19

สปสช. พร้อมชดเชย หากเกิดความเสียหายจากการฉีดวัคซีนโควิด-19

สปสช. พร้อมชดเชย หากเกิดความเสียหายจากการฉีดวัคซีนโควิด-19
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ที่ประชุม สปสช. ไฟเขียว จ่ายค่าดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ช่วงกักตัวอยู่บ้าน พร้อมจ่ายชดเชยกรณีเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไม่เกิน 4 แสนบาท

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผ่านระบบออนไลน์ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ปรับหลักเกณฑ์รวมถึงแนวทางการจ่ายบริการโควิด-19 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ใน 3 ด้าน ดังนี้

ค่าบริการสาธสารณสุขสำหรับโรคโควิด-19 ได้แก่ การเพิ่มเติมการจ่ายสำหรับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 อัตราครั้งละ 20 บาท

เตรียมหลักเกณฑ์แนวทางการจ่ายรองรับ กรณีกระทรวงสาธารณสุขประกาศมาตรฐานบริการดูแลผู้ป่วย กรณีเข้าเกณฑ์การแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation / Home quarantine) รวมถึงผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการพักรักษาที่พักอาศัยภายใต้การดูแลของหน่วยบริการ นอกจากจะจ่ายชดเชยตามค่าน้ำหนักสัมพันธ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมแล้ว ยังจ่ายชดเชยเพิ่มเติมในอัตราไม่เกินวันละ 1,000 บาท รวมอาหาร 3 มื้อ ให้กับหน่วยบริการ และสนับสนุนวัสดุทางการแพทย์ที่จำเป็น 3 อย่าง ได้แก่ เครื่องวัดความดัน-ปรอทวันไข้-เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ให้กับประชาชน โดยใช้งบประมาณจาก พ.ร.ก.กู้เงินฯ วงเงินไม่เกิน 22 ล้านบาท

จ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือเบื้่องต้นกรณีประชาชนไทยทุกคนที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 แบ่งเป็น ตาย/ทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 4 แสนบาท เสียอวัยวะ/พิการ ไม่เกิน 2.4 แสนบาท และบาดเจ็บ/เจ็บป่วยต่อเนื่อง ไม่เกิน 1 แสนบาท โดย สปสช. จะตั้งกลไกเพื่อให้สามารถจ่ายได้ภายใน 5 วัน หลังยื่นคำร้อง

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราจ่ายค่าบริการผู้ป่วยใน กรณีบริการในเขตเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่หน่วยบริการในระบบบัตรทองโดยจะเพิ่มอัตราการจ่ายตาม DRG ใหม่ จาก 8,350 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ เป็น 8,750 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ ซึ่งจะประมวลผลจ่ายตามผลงานย้อนหลัง ต.ค. 2563 - ก.ย. 2564 ใช้งบประมาณเพิ่ม 2,596.13 ล้านบาท ซึ่งจะใช้กลไกคณะทำงานกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ภายใต้อนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน รับผิดชอบดำเนินการต่อรองราคา และมอบให้เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ดำเนินการจัดหาตามแผนและวงเงินที่กำหนด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook