หุ้น TIDLOR ปิดเทรดช่วงเช้า 50 บาท สูงกว่าไอพีโอ 36.99% มูลค่าซื้อขาย 21,827 ล้านบาท

หุ้น TIDLOR ปิดเทรดช่วงเช้า 50 บาท สูงกว่าไอพีโอ 36.99% มูลค่าซื้อขาย 21,827 ล้านบาท

หุ้น TIDLOR ปิดเทรดช่วงเช้า 50 บาท สูงกว่าไอพีโอ 36.99% มูลค่าซื้อขาย 21,827 ล้านบาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หุ้น TIDLOR ปิดเทรดช่วงเช้าที่ 50.00 บาท เพิ่มขึ้น 13.50 บาท (+36.99%) จากราคาขาย IPO ที่ 36.50 บาทต่อหุ้น มูลค่าซื้อขาย 21,827 ล้านบาท โดยเปิดตลาดที่ 53.50 บาท ราคาขึ้นสูงสุด 55.50 บาท และราคาลงต่ำสุด 47 บาท พบรายการบิ๊กล็อต TIDLOR 1 รายการ จำนวน 795,000 หุ้น มูลค่าซื้อขาย 39.35 ล้านบาท เทรดในราคาเฉลี่ยหุ้นละ 49.50 บาท

บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์ฯแนะ”ซื้อ”หุ้น บมจ.เงินติดล้อ (TIDLOR) ราคาพื้นฐาน 56 บาท อิงกับ P/BV ปี 64F ที่ 5.0 เท่า สำหรับปี 64 คาดการณ์กำไรสุทธิขยายตัว +32%YoY หนุนโดยรายได้ขยายตัว, ต้นทุนการเงินที่อยู่ในระดับต่ำแม้ว่าจะเพิ่มขึ้นก็ตาม และสัดส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้ (C/I ratio) ลดลง แต่ EPS growth ปี 64 จะอยู่ที่ +22%YoY เพราะมี Dilution effect จากการเพิ่มทุน IPO

คุณภาพสินทรัพย์แข็งแกร่งและมี Coverag raito สูง ณ สิ้นปี 63 มี NPL ratio 1.7% (เพิ่มจาก 1.5% ในสิ้นปี 62) เพราะผลกระทบโควิด-19 แต่ก็อยู่ในระดับที่ต่ำ เพราะใช้เกณฑ์ความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยลด LTV ลงเป็น 64% จาก 72% ในช่วงก่อนโควิด คาดว่า NPL ratio สิ้นปี 64F จะเปลี่ยนแปลงไม่มากจากสิ้นปี 63 ด้าน Coverage ratio ประมาณการไว้ที่ 320% โดยให้สมมติฐาน Credit cost 1.5% ในปี 64

นอกจากนี้ พิจารณาเรื่องการเข้าซื้อกิจการ เพื่อขยายผลิตภัณฑ์และการให้บริการ, เพิ่มช่องทางการตลาด และอัพเกรดเทคโนโลยี ทั้งในส่วนธุรกิจสินเชื่อจำนำและธุรกิจนายหน้าประกัน รวมทั้งอาจจะขยายธุรกิจไปในภูมิภาคอาเซียนในลักษณะการเป็นพันธมิตรธุรกิจกับผู้ประกอบการในธุรกิจคอนซูเมอร์ไฟแนนซ์

หุ้น TIDLOR เป็นอันดับ 1 ในธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ, เป็นอันดับ 2 ในธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ และเป็นอันดับ 3 ในธุรกิจนายหน้าประกันภัยในประเทศไทย (โดย TQM มีส่วนแบ่งการตลาด 8% ส่วน TIDLOR ประมาณ 2%) รวมทั้งมีธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อด้วย บริษัทมีรายได้ดอกเบี้ยรับ 83%, รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ 17% (ซึ่งราว 60% จากจำนวนนี้มาจากธุรกิจนายหน้าประกันภัย) และรายได้อื่น 0.3%

บริษัทเน้นใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ โดยให้บริการผ่าน Omni-channel ซึ่งทำให้มีจำนวนสาขาน้อยกว่าคู่แข่งขันในธุรกิจสินเชื่อจำนำฯ ณ ปัจจุบันมี 1,076 สาขา (ขณะที่ MTC, SAWAD มีเกือบ 5 พันสาขา) แต่มีเครือข่ายอื่นๆ ที่ไม่ใช่สาขา (เช่น การให้บริการผ่านสาขาของ BAY, เอเจนต์, ดีลเลอร์, เทเลเซลส์) ที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรม (MTC ไม่มีช่องทางนี้ ขณะที่ SAWAD จับมือกับธนาคารออมสิน) ทั้งนี้ TIDLOR มีรายได้จากสาขา 38% และรายได้จากที่ไม่ใช่สาขา 62%

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook