วิธีลงทะเบียนไกล่เกลี่ยหนี้ "บัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคล" ชวนไขคำตอบเหตุใดบางคนสมัครไม่ผ่าน

วิธีลงทะเบียนไกล่เกลี่ยหนี้ "บัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคล" ชวนไขคำตอบเหตุใดบางคนสมัครไม่ผ่าน

วิธีลงทะเบียนไกล่เกลี่ยหนี้ "บัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคล" ชวนไขคำตอบเหตุใดบางคนสมัครไม่ผ่าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เปิดขั้นตอนลงทะเบียนไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ให้กับลูกหนี้ 3 สถานะ ทั้งการขอจ่ายเงินต้น หรือยกเว้นดอกเบี้ย พร้อมปลดล็อกข้อสงสัยเหตุใดบางคนสมัครไม่ได้

ก่อนหน้านี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม และสำนักงานยุติธรรม จัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เพื่อช่วยหาทางออกและแก้ไขปัญหาหนี้สินระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ร่วมกัน

โดยมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ดังกล่าวจะครอบคลุมหนี้ทุกสถานะ ทั้งลูกหนี้ที่มีสถานะดี, ลูกหนี้ NPL ตั้งแต่ก่อนฟ้องอยู่ระหว่างการฟ้อง และลูกหนี้ NPL ที่มีคำพิพากษาบังคับคดีแล้ว สามารถลงทะเบียนทางออนไลน์ได้ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย. นี้ โดยมีผู้ให้บริการทางการเงินที่เข้าร่วมมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ ดังนี้

ธนาคารพาณิชย์ Non-Bank
ธนาคารกรุงเทพ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด
ธนาคารกรุงไทย บริษัท ซิตี้คอร์ป ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บริษัท เทสโก้ โลตัส มันนี่ เซอร์วิสเซส จำกัด
ธนาคารกสิกรไทย บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด
ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น เอ สาขากรุงเทพฯ บริษัท พรอมิส (ประเทศไทย) จำกัด
ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
ธนาคารทหารไทย บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด (บัตร First Choice)
ธนาคารธนชาต บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
ธนาคารยูโอบี บริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารออมสิน บริษัท ไอทีทีพี จำกัด
  บริษัท ไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน)

 

บริษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.)

  • บริษัท บริหารสินทรัพย์ คอลเลคเชียส จำกัด
  • บริษัท บริหารสินทรัพย์ ชโย จำกัด
  • บริษัท บริหารสินทรัพย์ ทวีทรัพย์ จำกัด
  • บริษัท บริหารสินทรัพย์ ฮาร์โมนิช จำกัด

วิธีลงทะเบียนไกล่เกลี่ยหนี้

  ลูกหนี้แต่ละประเภท จะได้รับความช่วยเหลืออย่างไรบ้าง

  ลูกหนี้สถานะที่ยังดี

วิธีลงทะเบียนไกล่เกลี่ยหนี้1

สามารถเปลี่ยนเป็น Term Loan มีระยะเวลาผ่อน 4 ปี อัตราดอกเบี้ยลดจากร้อยละ 16 เหลือ 12

  • เช่น นาย ก มีวงเงินบัตรเครดิต 100,000 บาท เป็นหนี้บัตรเครดิต 60,000 บาท = 16% ทบต้นทบดอก

สามารถเปลี่ยนสินเชื่อผ่อนรายเดือน (Term Loan) 60,000 บาท = 12% และสามารถขอคงวงเงินที่เหลือ 40,000 บาทได้ ไม่เสียประวัติในเครดิตบูโร

  ลูกหนี้สถานะ NPL ตั้งแต่ก่อนฟ้องอยู่ระหว่างการฟ้อง

วิธีลงทะเบียนไกล่เกลี่ยหนี้2

สามารถจ่ายเฉพาะส่วนเงินต้น ดอกเบี้ยค้างยกให้เมื่อจบสัญญา โดยมีระยะเวลาผ่อนชำระนานถึง 10 ปี

  • เช่น หากมีเงินต้น 128,000 บาท เลือกผ่อนชำระเงินต้น 10 ปี สามารถผ่อนชำระเพียงเดือนละ 1,300 บาท 120 เดือน

  ลูกหนี้สถานะ NPL ที่มีคำพิพากษาบังคับคดีแล้ว

วิธีลงทะเบียนไกล่เกลี่ยหนี้3

สามารถจ่ายเฉพาะส่วนเงินต้น ดอกเบี้ยค้างยกให้เมื่อจบสัญญา โดยมีระยะเวลาผ่อนชำระนาน 3 เดือน 3 ปี และ 5 ปี

  • เช่น มีเงินต้น 50,000 บาท ดอกเบี้ยยกให้หากผ่อนสูงสุด 5 ปี โดยผ่อน 1-3 ปีแรกเดือนละ 1,111 บาท ส่วนปีที่ 4-5 ผ่อนเดือนละ 416 บาท

  สำหรับวิธีการลงทะเบียนไกล่เกลี่ยหนี้ออนไลน์ ในงานมหากรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล

1. เข้า google แล้วพิมพ์ว่า www.1213.or.th/app/dmed/V1

2. เลือกประเภทหนี้ที่ต้องการแก้ไข "สินเชื่อบัตรเครดิต/สินเชื่อส่วนบุคคล"

3. เลือกสถานะการชำระหนี้มี 3 ประเภท ดังนี้

  • ยังชำระอยู่แต่เริ่มฝืดเคือง หรือค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน (ทางด่วนแก้หนี้)
  • ค้างชำระเกิน 3 เดือน หรือถูกฟ้อง (คลินิกแก้หนี้)
  • ศาลพิพากษาแล้ว หรือถูกบังคับคดี (มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้)

เมื่อเลือกสถานะแล้วให้กดดำเนินการต่อ

4. อ่านข้อมูลและข้อตกลงให้เข้าใจครบถ้วน เมื่ออ่านเสร็จแล้ว ทำเครื่องหมายที่ช่อง "ข้าพเจ้ายอมรับข้อตกลงในการใช้งานนี้" จากนั้นกดปุ่มยอมรับ

วิธีการลงทะเบียนไกล่เกลี่ยหนี้ออนไลน์

5. กรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อสมัครลงทะเบียนออนไลน์

วิธีการลงทะเบียนไกล่เกลี่ยหนี้ออนไลน์2

  • ชื่อ-นามสกุล
  • เลขที่บัตรประชาชน หรือเลขที่หนังสือเดินทาง

จากนั้นกดดำเนินการต่อ

6. กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน

วิธีการลงทะเบียนไกล่เกลี่ยหนี้ออนไลน์3

  • เบอร์โทรศัพท์
  • E-mail
  • ที่อยู่ติดต่อ
  • ช่องทางที่ทราบถึงการไกล่เกลี่ย
  • เลือกธนาคาร หรือบริษัที่ต้องการแก้ไขหนี้
  • เลือกรูปแบบการชำระที่ต้องการ เช่น ไม่เกิน 3 เดือน, ไม่เกิน 3 ปี และไม่เกิน 5 ปี (โดยชำระ 80% ใน 3 ปีแรก)

วิธีการลงทะเบียนไกล่เกลี่ยหนี้ออนไลน์4

หากมีหลายธนาคารหรือบริษัทที่อยากเข้าร่วมมหกรรม ให้กดปุ่ม "+เพิ่มสถาบันการเงิน" และเลือกรูปแบบการชำระเงินที่ต้องการ

**ในกรณีที่เกิดข้อสงสัยว่ามีหนี้อยู่กับสถาบันการเงินไหนบ้าง สามารถเข้าไปตรวจสอบเครดิตบูโรได้ที่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (https://www.ncb.co.th/)

7. เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว ให้ทำเครื่องหมายที่ช่อง "ข้าพเจ้ายืนยันความถูกต้องและเข้าร่วมโครงการ" จากนั้นเลือกปุ่ม "กดเพื่อขอรหัสเพื่อใช้ส่งข้อมูล"

8. ระบบจะส่งรหัสตัวเลข 6 หลัก ไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนไว้ เพื่อใช้ยืนยันการส่งข้อมูล ให้นำรหัสเลข 6 หลัก มาใส่ในช่องรหัส

วิธีการลงทะเบียนไกล่เกลี่ยหนี้ออนไลน์5

  ลงทะเบียนผ่านศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)

สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกในการกรอกข้อมูลออนไลน์ติดต่อได้ที่เบอร์ 1213 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น. จะมีเจ้าหน้าที่ของแบงก์ชาติช่วยบริการกรอกข้อมูล

หากเป็นช่วงนอกเวงลาทำการตลอด 24 ชม. สามารถส่งอีเมล์มาที่ fcc@bot.or.th ฝากชื่อและเบอร์โทรศัพท์ ไว้ เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้ติดต่อกลับไป

  ตรวจสอบสถานะการดำเนินการ มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ และทางด่วนแก้หนี้

วิธีการลงทะเบียนไกล่เกลี่ยหนี้ออนไลน์6

หากต้องการตรวจสอบสถานะการดำเนินการทางออนไลน์ ให้เข้าเว็บไซต์ https://www.1213.or.th/App/DMed/V1/Status

  • เลือกประเภทอ้างอิงบุคคล (บัตรประชาชน หรือเลขหนังสือเดินทาง)
  • กรอกเลขประจำตัวบุคคล
  • รหัสติดตามเรื่อง
  • จากนั้นกดตรวจสอบ

  สาเหตุที่ลูกหนี้บางรายไม่ได้รับความช่วยเหลือจากมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้

  1. อายุของลูกหนี้เกิน 60 ปีขึ้นไป และมาขอผ่อนชำระเป็นระยะเวลายาว
  2. ลูกหนี้ที่อยู่ในมาตรการความช่วยเหลืออื่นๆ แล้ว เช่น ยืดระยะเวลาการผ่อนชำระทำให้ลดค่างวดลง หรือพักชำระหนี้มาแล้ว
  3. ลูกหนี้มีข้อเสนอใหม่ที่ต่างจากมาตรการกลาง เช่น ขอลดดอกเบี้ย, ไม่จ่ายดอกเบี้ย, ขอลดเงินต้น, ขอพักชำระหนี้โดยไม่มีกำหนดเวลา, ขอรวมหนี้กับเจ้าหนี้อื่นด้วย และไม่ขอจ่ายหนี้เลย
  4. ลูกหนี้ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 จึงไม่มีเอกสารประกอบการพิจารณา
  5. ลูกหนี้อยู่ระหว่างการผ่อนชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งลูกหนี้สามารถไปขอเจรจากับเจ้าหนี้โดยตรงเองได้อยู่แล้ว
  6. ลูกหนี้ขอลดการอายัดเงิน ลูกหนี้จะต้องไปเจรจากับกรมบังคับคดี หาก ธปท. ทราบสาเหตุจะประสานกับเจ้าหนี้ และกรมบังคับคดีพิจารณาช่วยเหลือเป็นรายกรณี
  7. อายุการฟ้องคดีที่เหลือ และอายุการบังคับคดีที่เหลือน้อยจนดำเนินการไม่ทัน
  8. ลูกหนี้ขอให้มีการถอนฟ้อง หรือขอระงับการดำเนินคดี หรือถอนการบังคับคดี โดยไม่มีการชำระหนี้
  9. ลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายราย แต่ยังไม่มีข้อสรุปกับเจ้าหนี้รายอื่น รวมทั้งเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิ์ (มีสิทธิเรียกร้องก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ) เหนือกว่าเจ้าหนี้ที่เข้าร่วมโครงการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook