ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง พร้อมวิธีคำนวณก่อนยื่นแบบฟอร์ม

ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง พร้อมวิธีคำนวณก่อนยื่นแบบฟอร์ม

ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง พร้อมวิธีคำนวณก่อนยื่นแบบฟอร์ม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"ขายของออนไลน์" เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้มหาศาล เพราะด้วยเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการใช้งานและช้อปปิ้งเพียงแค่คลิกเดียวเท่านั้น อีกทั้งต้นทุนก็ต่ำ ทำให้เหล่าพ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์บางคนรวยภายในพริบตาเลยทีเดียว แต่ก็ต้องยอมรับว่าเมื่อมีรายได้เข้ามามากขึ้น "การเสียภาษี" ก็จะเป็นเรื่องที่พ่วงตามมาติดๆ กัน อยากรู้หรือมั้ยการเสียภาษีออนไลน์มีกี่ประเภท แล้ใช้วิธีคำนวณภาษีอย่างไรบ้าง Sanook Money มีข้อมูลดีๆ ที่พอจะรวบรวมได้มาฝากกัน

  การเสียภาษีจากการขายของออนไลน์

มี 2 ประเภท ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  • ผู้ค้าออนไลน์ทั่วไปต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับมนุษย์เงินเดือนทั่วไป โดยยื่นแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.94 ซึ่งจะมี 2 ช่วง ได้แก่
    • ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค. สรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในปีก่อนหน้านี้
    • ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. สรุปรายได้ที่เกิดขึ้นช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

  • ผู้ค้าที่จดเป็นบริษัทจำกัด มีรายได้มากกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนและจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7% ทุกๆ เดือน สำหรับยอดขายของเดือนที่ผ่านมา

  วิธีคำนวณขายของออนไลน์

วิธีที่ 1

  • (เงินได้-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี

วิธีที่ 2

  • เงินได้ x 0.5%
    (หากมียอดขายเกิน 1,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป)

ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักก่อนนำไปคำนวณภาษีมีดังนี้

  • หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% (แบบเหมา)
  • หักค่าใช้จ่ายตามจริง สำหรับร้านค้าที่ผลิตสินค้าเอง ซึ่งในกรณีนี้จะต้องมีเอกสารที่ต้องใช้ยื่นด้วย

เช่น นาง ก มีรายได้จากการขายเสื้อผ้าผ่านทางเฟซบุ๊ก 1,000,000 บาทต่อปี ใช้วิธีคำนวณที่ 1 (เงินได้-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี

1,000,000-600,000-60,000 = 340,000

จากนั้นเอาไป x อัตราภาษีตามฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่กำหนดไว้

ขั้นเงินได้สุทธิ อัตราภาษี
0-150,000 -
150,001-300,000 5
300,001-500,000 10
500,001-750,000 15
750,001-1,000,000 20
1,000,001-2,000,000 25
2,000,001-5,000,000 30
5,000,001 ขึ้นไป 35

เท่ากับว่า นาง ก มีเงินได้สุทธิ 340,000 บาท ต้องเสียภาษีในอัตรา 10% ทำให้ต้องเสียภาษีอยู่ที่ 7,500+4,000 = 11,500 บาท

หากใช้วิธีคำนวณภาษีแบบที่ 2 นาง ก จะต้องเสียภาษี 1,000,000 x 0.5% = 5,000 หลังจากนั้นจึงเลือกเสียภาษีตามวิธีที่คำนวณได้มากกว่า นั่นคือวิธีแรก ซึ่งต้องเสียภาษีทั้งหมด 11,500 บาท

ในกรณีที่ค้าขายในลักษณะของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องมีนักบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชีในการทำงบการเงิน ก่อนส่งให้กรมสรรพากร และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิ

กำไรสุทธิ = รายรับ-ต้นทุน-ค่าลดหย่อน ซึ่งจะต้องมีนักบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชีในการทำงบการเงิน ก่อนส่งให้กรมสรรพากร และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ในกรณีที่มียอกขายเกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องไปจดภาษีมูลค่าเพิ่มนับจากวันทีเกินภายใน 30 วัน โดยส่วนทีเกินมา 1.8 ล้านบาทจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% ทุกๆ เดือน สำหรับยอดขายของเดือนที่ผ่านมา

  กรมสรรพากรจะรู้รายได้จากการขายของออนไลน์ได้อย่างไร

ตั้งแต่ปี 2563 มีการประกาศใช้กฎหมายอีเพย์เมนต์ (e-Payment) โดยธนาคาจะส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรตรวจสอบการเสียภาษีโดยใช้หลักเกณฑ์ดังนี้

  • มีการฝากเงิน หรือรับโอนเงินรวมทุกบัญชีเกิน 3,000 ครั้งต่อปี
  • มีการฝากเงิน หรือรับโอนเงินรวมทุกบัญชีเกิน 400 ครั้งต่อปี และยอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาท

โดยสถาบันจำนับจำนวนธุรกรรมรวมกันทุกบัญชีที่เกิดขึ้นใน 1 ปี (1 ม.ค.-31 ธ.ค.) ส่งให้กรมสรรพากรตรวจสอบ

สรุป เมื่อมีรายได้จากการขายออนไลน์ก็ต้องเสียภาษี ทำให้ถูกต้องเพื่อความสบายใจในอนาคต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook