ถ้าไม่รับเงินเดือน เสียภาษีลดลงใช่มั้ย?

ถ้าไม่รับเงินเดือน เสียภาษีลดลงใช่มั้ย?

ถ้าไม่รับเงินเดือน เสียภาษีลดลงใช่มั้ย?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เพจเฟซบุ๊ก TaxBugnoms โพสต์ข้อความเกี่ยวกับกรณีที่ พนักงานไม่รับเงินเดือน จะทำให้เสียภาษีลดลงหรือไม่ ส่งผลกระทบกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

เวลาพนักงานไม่รับเงินเดือน สิ่งที่เชื่อมโยงกับเรื่องของภาษี คือ การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะว่าวิธีการคำนวณภาษีนั้น จะคำนวณจากเงินได้ที่ได้รับ หมายถึง เงิน ทรัพย์สิน ประโยชน์ที่ได้รับ (อ่านนิยามเพิ่มตามมาตรา 39)

ดังนั้น เมื่อไม่ได้รับ "เงิน" จริง ก็จะไม่ถือเป็นเงินได้ของบุคคลนั้น ทำให้การเสียภาษีเงินได้ลดลงไปด้วย

ยกตัวอย่างเช่น นาย ก เป็นมนุษย์เงินเดือน ได้รับเงินเดือนในอัตรา 120,000 บาทต่อเดือน

หากนาย ก บอกว่าไม่รับเงินเดือน 3 เดือน เงินได้ทั้งปีของนาย ก ก็จะลดลงจาก 1,440,000 บาท เหลือ 1,080,000 บาท ซึ่งย่อมมีผลทำให้นาย ก เสียภาษีเงินได้ลดลง

แต่ผลกระทบของเรื่องนี้ยังไม่จบ เพราะอาจจะไปกระทบเรื่องการคำนวณภาษีหัก หรือ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1) ที่นายจ้างหักนำส่งให้กรมสรรพากรในแต่ละเดือน เนื่องจากการคำนวณภาษีหักนี้ จะคำนวณจากเงินได้ทั้งปีที่นาย ก ได้รับ

เมื่อเงินได้ลดลง ภาษีที่ถูกหักจะลดลงไปด้วย และน่าจะลดลงมาก ในกรณีที่การลดเงินเดือนนั้น เกิดขึ้นในช่วงกลางปีถึงปลายปี

อย่างเช่นตัวอย่างของนาย ก ตอนแรกภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะคำนวณจาก เงินได้จำนวน 1,440,000 บาท หักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน แล้วคำนวณภาษีทั้งปีออกมาเป็นเท่าไร แล้วแบ่งหักไว้ในแต่ละเดือนเท่าๆ กัน

ถ้าผ่านไปสัก 7-8 เดือน เกิดมีการเปลี่ยนแปลงเงินได้ขึ้นมา ย่อมส่งผลต่อภาษีที่หักไว้ล่วงหน้า อาจจะหักไว้มากกว่าจำนวนที่นาย ก ต้องจ่าย

ดังนั้น นาย ก อาจจะได้คืนภาษีปลายปีได้ หากภาษีที่คำนวณได้จากเงินได้ที่ปรับใหม่ น้อยกว่าภาษีที่ถูกหักไว้ในระหว่างปีนั่นเอง

ป.ล. 1 กรณีคนที่ไม่เสียภาษีและไม่ถูกหักภาษี การลดเงินเดือนจะไม่มีผลต่อการเสียและหักภาษี
ป.ล. 2 การลดเงินเดือน อาจไม่ได้เกี่ยวกับ ความสามารถในการทำงานแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook