ประกันสังคมมาตรา 40 คืออะไร ได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?
ผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 40 คืออะไร และได้รับสิทธิประโยชน์อะไรพิเศษบ้าง มาเปิดเงื่อนไขพร้อมกันได้ที่นี่
ประกันสังคมมาตรา 40 คือ ประกันสังคมที่ให้ความคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ผู้ค้า ผู้มีอาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนซ์ พร้อมกับมี 3 ทางเลือกให้ผู้ประกันตนเลือกจ่ายเพื่อรับความคุ้มครองต่างๆ เช่น ทางเลือกที่ 1 เลือกจ่าย 70 บาทต่อเดือน, ทางเลือกที่ 2 เลือกจ่าย 100 บาทต่อเดือน และทางเลือกที่ 3 เลือกจ่าย 300 บาทต่อเดือน
เงื่อนไขการรับประโยชน์ทดแทน ผู้ประกันตนประกันสังคมมาตรา 40 มีดังนี้
ประกันสังคมมาตรา 40 กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วัน/ปี
- การรักษาพยาบาลใช้สิทธิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือบัตรทอง 30 บาท
เงื่อนไขการรับสิทธิ
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 4 เดือน ก่อนประสบอันตราย/เจ็บป่วย
- รักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับสิทธิวันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วันต่อปี
ประกันสังคมมาตรา 40 กรณีทุพพลภาพ
- ได้รับเงินทดแทนการขาดได้ตั้งแต่ 500 – 1,000 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี
- ตายก่อนครบ 15 ปี รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท
เงื่อนไขในการรับสิทธิ
- จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 6 เดือน ภายในระยะเวลา 10 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 500 บาทต่อเดือน
- จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 12 เดือน ภายในระยะเวลา 20 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 650 บาทต่อเดือน
- จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 24 เดือน ภายในระยะเวลา 40 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 800 บาทต่อเดือน
- จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 36 เดือน ภายในระยะเวลา 60 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 1,000 บาทต่อเดือน
ประกันสังคมมาตรา 40 กรณีตาย
- ได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท
เงื่อนไขการรับสิทธิ
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 12 เดือนก่อนเสียชีวิต
หมายเหตุ
- “อุบัติเหตุ” หมายความว่า เหตุที่เกิดโดยไม่คาดดิดเป็นเหตุให้เสียชีวิต เช่น อุบัตเหตุจากการขนส่ง การตกหรือล้ม การจมน้ำ การสัมผัสความร้อนและสิ่งของที่ร้อน การสัมผัสสารพิษ การถูกทำ้ร้าย การดำเนินการตามกฎหมายและการปฏิบัติการสงคราม การสัมผัสสัตว์และพืชมีพิษ ภัยธรรมชาติจากฟ้าผ่า แผ่นดินไหว เป็นต้น
** ยกเว้น กรณีอุบัติเหตุ ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายใน 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต
ประกันสังคมมาตรา 40 กรณีชราภาพ (รับเงินบำเหน็จ)
- ได้เงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืนทั้งหมด
เงื่อนไขการรับสิทธิ
- เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน
ประกันสังคมมาตรา 40 กรณีชราภาพ (รับเงินบำนาญ)
- ได้รับบำนาญรายเดือนขึ้นต่ำ 600 บาท/เดือน ตลอดจนเสียชีวิต
- กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) จะได้รับเงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืนทั้งหมด
- ได้รับบำนาญแล้วเสียชีวิตภายใน 60 เดือน ทายาทได้รับเงินบำเหน็จ 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน
- กรณีทุพพลภาพก่อนได้รับบำนาญ จะมีสิทธิขอรับบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืน
เงื่อนไขการรับสิทธิ
- ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบครบหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) หรือจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี)
- ผู้ประกันตนจะต้องมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน
- ผู้ประกันตนสามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ไม่เกินเดือน พฤษภาคม 2555
เงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 40 ผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จได้แก่ บุคคล ดังต่อไปนี้
- สามี ภริยา บิดาและมารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่านกัน กรณีไม่มีผู้สิทธิตามข้อ 2.1
- ให้จ่ายแก่บุคคล ซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จชราภาพ
หมายเหตุ หากมีการนำส่งเงินสมทบต่อเนื่องทุกเดือนจะได้รับเงินกรณีชราภาพขั้นต่ำ (ยังไม่รวมผลตอบแทน) หรือดอกเบี้ย ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ 1-12 แห่ง/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)