"ไทยสร้างไทย" เสนอเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 ย้ำต้องครอบคลุมทุกกลุ่ม!

"ไทยสร้างไทย" เสนอเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 ย้ำต้องครอบคลุมทุกกลุ่ม!

"ไทยสร้างไทย" เสนอเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 ย้ำต้องครอบคลุมทุกกลุ่ม!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พรรคไทยสร้างไทย แถลงพิมพ์เขียวแนวทางเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานพรรค ,ดร. โภคิน พลกุล ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศ,นายไชยวัฒน์ หาญสมวงศ์ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศ และอดีตประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภา SMEs) ,คุณนพดล มังกรชัย สมาชิกคณะกรรมการยุทธศาสตร์ และอดีต EVP ธนาคารไทยพาณิชย์

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ในปัจจุบันได้สร้างความเสียหายอย่างยิ่งต่อปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องและการทำมาหากิน ของประชาชน โดยมีการประมาณการความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่าแสนล้าน พรรคไทยสร้างไทยจึงมองว่าการที่รัฐบาลมีคำสั่งล็อกดาวน์ แต่ยังไม่มีมาตรการเยียวยาที่เพียงพอส่งผลกระทบ ต่อประชาชนและธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นจำนวนมาก จึงขอเสนอพิมพ์เขียวแนวทางเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ จากโควิด-19 โดยจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้

dsc06056คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานพรรคไทยสร้างไทย

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานพรรคไทยสร้างไทย ระบุถึงการเยียวยาในกลุ่มภาคประชาชนนั้นจำเป็นที่จะต้องเยียวยาทุกครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 20 ล้านครัวเรือน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ช่วยค่าครองชีพเดือนละ 7,000 บาท ตลอดเวลา 3 เดือน ให้กับครัวเรือนที่ได้รับความเดือดร้อน หรือขาดรายได้จากการทำงาน ให้พอมีค่าครองชีพประทังชีวิตต่อไปได้ในช่วงล็อกดาวน์ หากครัวเรือนไหนที่ยังคงมีรายได้ ก็ขอให้ช่วยเหลือตนเองไปก่อนไม่ต้องเข้าโปรแกรมเยียวยาดังกล่าว
  • ลดค่าน้ำ-ค่าไฟ ไม่เกิน 1,000 บาท (ให้ใช้ฟรี 1,000 บาท) ตลอด 3 เดือน หากค่าใช้จ่ายเกิน 1,000 บาท ให้ประชาชนออกส่วนต่างที่เหลือ
  • ให้รัฐบาลเป็นตัวกลางในการเจรจาระหว่างผู้เช่า กับผู้ให้เช่า เพื่องดการเก็บค่าเช่าที่เป็นเวลา 3 เดือน ในช่วงที่รัฐบาลยังไม่สามารถควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ และให้รัฐบาลชดเชยให้กับผู้ให้เช่ายางส่วน โดยอาจอยู่ในรูปแบบการลดภาษี และไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดชำระค่าเช่าที่จนเป็นเหตุให้เกิดการยึดพื้นที่
  • ให้รัฐบาลเป็นตัวกลางช่วยเจรจาหามาตรการดำเนินการค่า GP กับผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Food Delivery จากเดิมเรียกเก็บจากร้านค้าราว 32% ให้เหลือ 10% เพื่อช่วยเหลือร้านค้ารายเล็ก
  • พักชำหนี้เป็นเวลา 6 เดือน ด้วยการพักเงินต้น และลดดอกเบี้ย โดยเฉพาะค่าผ่อนรถ ผ่อนบ้าน เริ่มนำร่องจากธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ และไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดชำระหนี้ จนกลายมาเป็นเหตุให้ยึดบ้าน ยึดรถ

dsc05988

สำหรับการเยียวยาในกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนั้น นายไชยวัฒน์ หาญสมวงศ์ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศ และอดีตประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภา SMEs) เสนอว่ารัฐบาลควรจะเยียวยากลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วยการจ่ายค่าจ้างให้พนักงานเดือนละ 5,000-7,000 บาท ผ่าน SMEs เพื่อรักษาชีวิต SMEs และพนักงานเป็นเวลา 6 เดือน

พักชำระหนี้ SMEs ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวล 6 เดือน โดยไม่นับเป็นหนี้เสีย หรือเครดิตบูโร

เสนอโครงการ "Soft loan 1 แสนล้านบาทเพื่อสร้างงาน 1 ล้านตำแหน่ง" โดยมีเงื่อนไขหลักๆ ต่อไปนี้

  • ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 10 ปี
  • วงเงินปล่อยกู้ 500,000 - 1,000,000 บาท
  • ให้ บสย. ค้ำประกัน 100%
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ในการขอใช้วงเงิน
  • ทุกการกู้ 5 แสนบาท ต้องจ้างงาน 5 ตำแหน่ง ตลอดระยะเวลาการกู้ ซึ่งโครงการนี้ จะทำให้เกิดการจ้างงาน 1 ล้านตำแหน่ง
  • รัฐช่วยจ่ายดอกเบี้ยให้ครึ่งหนึ่งในช่วง 2 ปีแรก สมมุติดอกเบี้ย 4% รัฐจ่ายให้ 2% เท่ากับรัฐมีภาระจ่ายดอกเบี้ยให้ประชาชนปีละ 2000 ล้าน 2 ปีเท่ากับ 4000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าน้อยมาก คุ้มกับการช่วยชุบชีวิต SMEs เป็นแสนๆ ราย ให้เดินหน้าธุรกิจได้ต่อหลังโควิด-19 และทำให้เกิดการจ้างงานถึง 1 ล้านตำแหน่ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook