วิธีขอรับเงินทดแทนประกันสังคม 50% ของค่าจ้างเมื่อป่วยโควิด-19 ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง?

วิธีขอรับเงินทดแทนประกันสังคม 50% ของค่าจ้างเมื่อป่วยโควิด-19 ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง?

วิธีขอรับเงินทดแทนประกันสังคม 50% ของค่าจ้างเมื่อป่วยโควิด-19 ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ก่อนหน้านี้ สำนักงานประกันสังคม เคยกล่าวถึงการดูแลผู้ประกันตนที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือในกลุ่มอาการสีเขียวที่ต้องแยกกักตัวที่บ้าน หรือโฮมไอโซเลชั่น พร้อมกับแนะนำการขอสิทธิประโยชน์และเงินทดแทนจากการขาดรายได้จากกองทุนประกันสังคมนั้น ซึ่งการขอรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวนั้นจะมีผู้ประกันตนกลุ่มไหนสามารถขอรับเงินทดแทนจากการขาดรายได้ ได้บ้าง Sanook Money มีข้อมูลดีๆ มากฝากกัน

สำหรับเงื่อนไขการเบิกค่าทดแทนการขาดรายได้ และเงินทดแทนประกันสังคมที่จะได้รับมีดังนี้

ผู้ประกันตนมาตรา 33

  • ต้องส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน (ส่งติดต่อกันหรือไม่ก็ได้) ก่อนเดือนที่เจ็บป่วย และแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว
  • ถ้าผู้ประกันตนลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างครบ 30 วัน ตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแล้วต้องหยุดงานตามคำสั่งแพทย์ต่อไปอีก สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินเรียกว่า “เงินทดแทนการขาดรายได้”
  • ได้รับเงินทดแทนจากการขาย 50% ของค่าจ้าง (คิดจากฐานไม่เกิน 15,000 บาท ตามกฎหมายประกันสังคม) จ่ายครั้งละไม่เกิน 90 วันในรอบปีหนึ่งๆ ก็จะจ่ายให้ปีละไม่เกิน 180 วัน

ผู้ประกันตนมาตรา 39

  • ต้องส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน (ส่งติดต่อกันหรือไม่ก็ได้) ก่อนเดือนที่เจ็บป่วย และแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว
  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตรา 50% ของค่าจ้าง ตามที่หยุดงานครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน (เฉพาะผู้ประกันตนที่ทำงานกับนายจ้าง)

ผู้ประกันตนมาตรา 40

  • ต้องส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 4 เดือน (ส่งติดต่อกันหรือไม่ก็ได้) ก่อนเดือนที่เจ็บป่วย ส่วนการรักษานั้น สิทธิประกันสังคมมาตรา 40 ไม่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลต้องใช้สิทธิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือบัตรทอง 30 บาท แต่ในกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยจะได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้ดังนี้
    • ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบเดือนละ 70 บาท
      • ผู้ป่วยในนอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้เงินทดแทนวันละ 300 บาท
      • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้เงินทดแทนวันละ 200 บาท
        • *เงื่อนไขการรับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 30 วันต่อปี
    • ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบเดือนละ 100 บาท
      • ผู้ป่วยในนอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้เงินทดแทนวันละ 300 บาท
      • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้เงินทดแทนวันละ 200 บาท
        • *เงื่อนไขการรับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 30 วันต่อปี
    • ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบเดือนละ 300 บาท
      • ผู้ป่วยในนอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้เงินทดแทนวันละ 300 บาท
      • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้เงินทดแทนวันละ 200 บาท
        • *เงื่อนไขการรับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 90 วันต่อปี

สำหรับเอกสารประกอบการยื่นคำขอรับสิทธิประโยชน์

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01 )
2. ใบรับรองแพทย์
3. หนังสือรับรองจากนายจ้าง
4. สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
5. สถิติวันลาของผู้ยื่นคำขอ
6. หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา
7. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อ–เลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) มี 9 ธนาคาร ได้แก่

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
  • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB
  • ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) TBANK
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB


โดยผู้ประกันตนสามารถยื่นเบิกขาดรายได้ภายใน 2 ปี เมื่อรักษาหายจากอาการเจ็บป่วยแล้วให้ติดต่อขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่สำนักงานประกันสังคมได้ทุกแห่งทั่วประเทศตามที่สะดวก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook