ฝากเงินไว้ที่นอมินี 230 ล้านบาท เพจดังด้านภาษีเฉลยต้องเสียภาษีหรือเปล่า

ฝากเงินไว้ที่นอมินี 230 ล้านบาท เพจดังด้านภาษีเฉลยต้องเสียภาษีหรือเปล่า

ฝากเงินไว้ที่นอมินี 230 ล้านบาท เพจดังด้านภาษีเฉลยต้องเสียภาษีหรือเปล่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีที่ผู้กำกับโจ้ เคยแชทหาดาราคาเมื่อหลายปีก่อนว่ามีเงิน 230 ล้านบาทอยู่ที่นอมินี ชาวเน็ตสงสัยกรณีเงินฝากดังกล่าวจะต้องเสียภาษีด้วยหรือเปล่า เพจดังด้านภาษีมีคำตอบ

จากกรณีที่มีการแชร์โพสต์ลงเกี่ยวกับผู้กำกับโจ้เคยแชทหาดาราสาวคนดังว่ามีเงิน 230 ล้านบาท อยู่ที่นอมินี ซึ่งคำว่า "นอมินี" ตามเว็บไซต์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาที่ระบุว่า นอมินีเป็นเครื่องมือของมหาเศรษฐีบางคนในการอำพรางชื่อผู้ถือหุ้นที่แท้จริง เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายต่างๆ ตลอดจนใช้เพื่อการถือหุ้นแทนคนต่างด้าว ด้วยการใช้อำนาจและข้อมูลภายใน (insider trading) ที่มีอยู่ฉกฉวยโอกาสของผู้อื่นอย่างไม่เป็นธรรมทว่าแยบยล คือมีกลเม็ดหรือชั้นเชิงแนบเนียน

นอมินี ( nominee ) เป็นศัพท์กลาง ๆ มีความหมายได้ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ดังตัวอย่างข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว นอมินียังหมายถึง ผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ หรือรับรางวัล เช่น รางวัลโนเบล รางวัลออสการ์

คณะกรรมการบัญญัติศัพท์เศรษฐศาสตร์ แห่งราชบัณฑิตยสถาน ได้บัญญัติศัพท์คำ nominee ไว้อย่างเข้าทีและเหมาะกับเหตุผลแล้วว่า ผู้ได้รับแต่งตั้ง; ผู้ได้รับเสนอชื่อให้เลือก; ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ทำการแทน แต่ถ้าเป็นนอมินีทางการเงินหรือเกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ จะมาจากศัพท์ nominee shareholders ซึ่งราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ว่า ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ถือหุ้นแทน ซึ่งหมายถึงบุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นแทนบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากหลักทรัพย์นั้น เมื่อมีศัพท์บัญญัติที่เข้าทีเช่นนี้แล้วก็ควรนำมาใช้ให้แพร่หลาย

และแน่นอนว่ากรณีที่มีเงินสดฝากไว้กว่า 230 ล้านบาท นั้นถือเป็นเงินได้หรือไม่ และต้องเสียภาษีตามกฎหมายด้วยหรือเปล่า ล่าสุดเพจเฟซบุ๊ก TaxBugnoms เพจดังด้านภาษี โพสต์ข้อความเกี่ยวกับเงินฝากไว้ที่นอมินี 230 ล้านบาท ต้องเสียภาษีหรือไม่? โดยมีการอธิบายรายละเอียดดังนี้

สิ่งแรกก่อนที่เงินจะไปถึงนอมินีเราควรถามว่าเงิน 230 ล้านบาทมาจากไหน? ถ้ามันมาจากการมีรายได้ไม่ว่าจะถูกหรือผิดกฎหมายก็ตาม

คำตอบของเรื่องนี้คือ ควรต้องเสียภาษีตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ต่อให้เป็นเงินได้ที่ "ผิดกฎหมาย" ก็ยังคงต้องนำมาเสียภาษีอยู่ดี

โดยอ้างอิงจาก คำพิพากษาฎีกาที่ 10701/2555 ที่เขียนเอาไว้ว่า "แม้เงินได้ดังกล่าวจะเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็เข้าลักษณะเป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ตามมาตรา 40 (1) ถึง (7) แห่งประมวลรัษฎากร จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร

ดังนั้น เงิน 230 ล้านบาท ควรต้องเสียภาษีตั้งแต่แรก หากมันเป็นรายได้ที่ได้รับมาจากการทำงานไม่ว่าจะถูกหรือผิดกฎหมายก็ตามที

ส่วนประเด็นการฝากเงินไว้ที่นอมินีถือเป็นการยกเงินให้หรือเปล่านั้น หากมองเป็นการยกเงินให้ต้องไปดูกันต่อว่า การยกให้ที่ว่านั้นเข้าข่ายการให้โดยเสน่หาหรือเปล่า? เนื่องจากการให้พี่ให้น้องที่ไม่ใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน คู่สมรส หากทยอยให้ปีละไม่เกิน 10 ล้านบาทแบบนี้ก็จะไม่เสียภาษี (กฎหมายยกเว้น)

หากให้ในปีเดียวกันเกินกว่า 10 ล้านบาท ต้องเสียภาษีในอัตรา 5% ของส่วนที่เกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป ตรงนี้เรียกว่า "ภาษีจากการรับให้" ซึ่งก็ต้องมาว่ากันที่รายละเอียดกันต่อไป

แต่สิ่งที่น่าสงสัยคือ หากเป็นธุรกรรมเงินสดเกิน 2 ล้านบาท สถาบันการเงินต้องแจ้ง ปปง. ด้วยหรือเปล่า?

แต่คำถามที่ผ่านมาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงความเห็นที่เกี่ยวกับภาษีเพียงเท่านั้น และมันอาจจะไม่สำคัญเท่าคำถามสุดท้าย ที่ประชาชนหลายคนตั้งคำถามต่อเหตุการณ์นี้ ว่าทำไมเรื่องราวแบบนี้...ถึงเกิดขึ้นกับผู้มีหน้าที่ใช้กฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับประชาชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook