รู้ไหม? "คนรวยๆเขาทำอย่างนี้"

รู้ไหม? "คนรวยๆเขาทำอย่างนี้"

รู้ไหม? "คนรวยๆเขาทำอย่างนี้"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เถ้าแก่ เป็นคำที่คนรุ่นพ่อรุ่นแม่ใช้เรียกผู้สร้างตนเองจนมีฐานะและกิจการที่ร่ำรวย ส่วนฝรั่งเขาเรียกเถ้าแก่กันว่า Entrepreneur

คนไทยเดี๋ยวนี้ไม่ใช้คำว่าเถ้าแก่แล้ว อาจเพราะฟังเสียงอ่านแล้วมันทั้ง "เฒ่า" และทั้ง "แก่" หลายคนเลยไม่ชอบใช้คำนี้ บอกว่าฟังแล้วไม่มงคลหู


แต่ไม่ว่าจะเป็นเถ้าแก่ เถ้าหนุ่ม หรือเถ้าสาว ของชาติไหนก็มักจะชาญฉลาดในกิจการ สามารถจัดการบริษัทได้ยอดเยี่ยม แต่อาจจะบริหารเงินทั้งของตนเองและของกิจการไม่ได้ดีไปทุกคน

ที่จริงแล้วเป้าหมายของ Entrepreneur ในเรื่องบริหารเงินนั้นล้วนแต่ไม่ต่างกัน เพราะมี 2 เรื่องได้แก่ 1. ทำอย่างไรถึงจะรวย กับ 2. ทำอย่างไรถึงจะรักษาส่วนที่รวยอยู่แล้วเอาไว้ได้ เพื่อให้ลูกหลานได้สืบทอดความมั่นคงไปได้อย่างยั่งยืน

ไว้ว่างๆจะเขียนเรื่องนี้ให้เศรษฐีโดยเฉพาะโดยจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการความมั่นคง กับการจัดการอารมณ์ของคนหลายรุ่นในครอบครัวเศรษฐี

อย่างเพิ่งประหลาดใจไปเลยที่ว่าถึงการจัดการอารมณ์คน เพราะเรื่องนี้สำคัญพอๆกับการจัดการทรัพย์สินทีเดียว ซึ่งหากละเลยไป ทุกอย่างอาจจะพังทลายได้ง่ายๆเชียวหล่ะ

วันนี้จะเน้นเรื่องการบริหารเงินของคนทั่วไป ว่าจะมีหลักการที่ต่างจากคนรวยๆ อย่างไร หรือไม่

เรื่องนี้ Martin Graham ประธานกรรมการ Advisor Board ของ Oracle Capital Group แนะนำเรื่องการบริหารเงินบอกว่า มันไม่ต่างกันเลย ไม่ว่าจะมีเงินมากหรือมีเงินน้อย เรียกว่า ขอให้มีเงินก่อน มีสักหน่อยก็เอาไปบริหารด้วยวิธีพื้นฐานคล้ายๆกันได้

นึกถึงตอนเปิดบูธในการมหกรรมการเงินต่างๆที่มีบูธธนาคาร กองทุน มีคนเดินเข้ามาในบูธกองทุน มาขอกู้เงิน และเพื่อไม่ให้ผู้นั้นเสียเวลา ก็ต้องบอกไปอย่างเกรงอกเกรงใจยิ่งว่า "มีเงิน ให้มาที่นี่... ถ้ายังไม่มีให้ไปที่นั่น" (แล้วก็ชี้ไปที่บูธแบงค์เพื่อให้แบงค์แนะนำการกู้ที่เหมาะสม)

Martin Graham มีกฏ 5 ข้อที่ใช้ในการจัดการเงินทอง ได้แก่

1.ลงทุนระยะยาวด้วยเงินที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้อีกยาวนาน 

ถ้ายังไม่มีเงินสำรองฉุกเฉิน ก็อย่างพึ่งไปลงทุนในหุ้น อย่างน้อยต้องมั่นใจว่าเงินที่จะนำไปลงทุนในหุ้นนั้นเราไม่จำเป็นต้องใช้มันเลยในเวลา 5 ปี แม้จะมีเรื่องฉุกเฉินเราก็มีส่วนหนึ่งที่กันเอาไว้ต่างหากแล้ว



2.อย่าไปลงทุนในอะไรที่เราไม่รู้จัก 

ในโลกของการลงทุน คนเดินดินทั่วๆไปมักจะมีสายตาที่แหลมคมกว่ามืออาชีพ


เรื่องนี้ Graham ยกตัวอย่างมาอธิบายว่า ในปี 2012 Marks & Spencer นำผลิตภัณฑ์ใหม่ เข้าสู่ตลาดและเริ่มมีความสัมพันธ์ที่ห่างเหินลูกค้า ไม่ใส่ใจเข้าถึงรสนิยมของลูกค้า แต่นักวิเคราะห์กลับไม่ได้สังเกตเห็นจุดนี้ จึงวิเคราะห์ไม่สอดคล้องกับแนวโน้มเชิงลบที่จะเกิดขึ้น ในขณะที่คนเดินถนนกับสังเกตุเห็นความผิดปกตินี้ได้ง่าย


ดังนั้น เราจึงควรลงทุนเฉพาะกิจการที่เราเองรู้จักดีเท่านั้น เพราะผู้เชี่ยวชาญก็สามารถผิดพลาดได้


3.อย่าแช่การลงทุนไว้ชั่วนิรันดร์ 

เราต้องกระจายการลงทุนทั้งในแง่สินทรัพย์ อุตสาหกรรม และพื้นที่ที่ลงทุน และสำคัญมากที่จะต้องมีการปกป้องในยามตลาดเป็นขาลง เช่น สลับหมุนเวียนการลงทุนเป็นครั้งคราว เป็นต้น


แต่ไม่ได้หมายความให้เราไปนั่งจ้องตลาดวันละเป็นชั่วโมง ๆ เพื่อพยามยามซื้ ๆ ขายๆ ให้ได้กำไรเพราะสิ่งที่ควรทำมากกว่าคือการวางแผนการลงทุนซึ่งหากทำไม่เป็นก็ให้ใช้บริการที่ปรึกษาหรือผู้แนะนำการลงทุนที่มีประสบการณ์ และเขาจะแนะนำให้ได้ว่าเราควรปรับพอร์ตลงทุนได้เมื่อไหร่


กุญแจสำคัญก็คือ เตรียมพร้อมสำหรับสมดุลพอร์ตลงทุนของเรา (Portfolio Rebalancing) เพื่อให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมที่สุดภาพใต้ความเสี่ยงที่เรารับได้ โดยเฉพาะเมื่อเราแก่ตัวลงและไม่อยากนำเงินก้อนสุดท้ายไปเสี่ยงมากๆ

ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ คนไทยแม้จะเริ่มลงทุนกันเป็นบ้างแล้ว แต่มักไม่รู้จักวางแผนการลงทุนพอร์ตโฟลิโอที่ผสมผสานด้วยสินทรัพย์หลากหลาย

หรือวางแผนลงทุนแล้ว ก็ไม่รู้จักการปรับสมดุลพอร์ตลงทุนของตน ทั้งๆที่นั่นคือการเปิดรับความเสี่ยงจากการขึ้นลงของราคาสินทรัพย์ทีเราลงทุนอย่างเต็มที่ ไม่มีดิสเบรค


4.ยืนคนละข้างกับฝูงชน 

ตลาดและสื่อมวลชนที่เสนอข้อมูลตามตลาด ไม่ได้ถูกเสมอไป อย่าแห่ลงทุนหรือแห่ขายตามตลาด จงกล้าแสวงหาสิ่งดีๆ ที่คนมองข้าม กล้าลงทุนในสิ่งดีๆ ที่อารมณ์ตลาดถล่มขาย และกล้าขายสิ่งที่ตลาดไล่ตามลงทุน เพราะมันจะทำให้เราซื้อของดีได้ในราคาถูก ในขณะที่ขายออกไปได้แพงๆ



5. ลงทุนแบบเผื่อเหลือเผื่อขาด 

กฏเหล็กที่สุดในการบริหารเงินของเศรษฐี คือ ต้องปกป้องความม่นคงเอาไว้ให้ได้ และต้องปกปป้องให้ถึงมือทายาทในรุ่นต่อๆไปได้โดยไม่เสียหาย

ในการทำให้บรรลุเป้าหมายที่เป็นกฏเหล็กนี้หลายๆคนมักลืมสัจธรรมของชีวิต นั่นก็คือ ท้องฟ้าไม่ได้สดใสไร้เมฆหมอกทุกวัน บางวันก็มีพายุ มีฝนกระหน่ำจนเปียกปอน เพราะกิจการที่เป็นเจ้าของหรือเป็นลูกค้าก็มีวันซวดเซจนเราต้องตกงานอย่างไม่คาดคิดได้

นอกจากนี้ เรายังอาจเจออุปสรรคในชีวิตส่วนตนในชีวิตครอบครัว เช่นการอย่าร้าง หรือลูกหลานมีปัญหาทางการเงินจนต้องมาขอความช่วยเหลือจากเราและแน่หล่ะ สิ่งเหล่านี้คนใหญ่มักไม่ได้ใส่มันลงไปในแผนการลงทุน

ดังนั้น ต้องเผื่อสิ่งที่ไม่คาดฝันเหล่านี้ลงไปในแผนการลงทุนด้วย อย่าลงทุนในจำนวนมากในอะไรที่ขายออกได้ยาก หรือที่เรียกว่ามีสภาพคล่องน้อย เช่น อสังหาริมทรัพย์ เพราะต่อให้ซื้อได้ถูกมากเพียงใดหากขายได้ยากในยามเราจำเป็นต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วนแล้ว เราจะลำบากมาก



ที่มา : คอลัมน์ talk with bualung fund หนังสือ BUALUANG FUND 2013

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook