ราคาทองหลุดบาทละ 18,000 บาท ฉุดผลตอบแทนกองทองวูบ 24%

ราคาทองหลุดบาทละ 18,000 บาท ฉุดผลตอบแทนกองทองวูบ 24%

ราคาทองหลุดบาทละ 18,000 บาท ฉุดผลตอบแทนกองทองวูบ 24%
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ราคา ทองโลกหลุด 1,200 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์ ฟากทองไทยต่ำสุดรอบ 3 ปี ต่ำกว่าบาทละ 18,000 บาท สะดุดข่าวลบอื้อทิศทางเฟดชะลอ QE แถมแรงเทขายถือเงินสดปิดบัญชีสิ้นไตรมาส อินเดียลดนำเข้า มอร์นิ่งสตาร์ ชี้ผลตอบแทนปีนี้ลดวูบ 24% บลจ.กรุงไทยรับลูกค้าถือกองทองมูลค่าวูบตามตลาดกว่า 20% แนะลูกค้าปรับพอร์ตถือทองเหลือ 5%

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาทองคำในตลาดโลกมีทิศทางปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยล่าสุดช่วงเช้าของวันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมาราคาปิดที่ระดับ 1,199.49 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ไม่สามารถยืนเหนือระดับ 1,200 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์ ได้ ซึ่งถือว่าร่วงลงอย่างรุนแรงใกล้ระดับราคาขายหน้าเหมืองที่อยู่ราว 1,100 เหรียญแล้ว

ขณะเดียวกันราคาทองคำแท่งในประเทศช่วงเช้าเวลา 09.34 น.ในวันเดียวกันก็ปรับตัวลดลง โดยมีราคารับซื้ออยู่ที่บาทละ 17,700 บาท ส่วนราคาขายออกบาทละ 17,800 บาท ศูนย์วิจัยทองคำให้ความเห็นว่า ราคาทองคำได้ปรับตัวลงมาแล้วกว่า 8% ในรอบ 1 สัปดาห์ และยังคงเดินหน้าทำระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี ซึ่งเป็นผลกระทบจากหลายประเด็น ได้แก่ ความกังวลการชะลอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐ หลังตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดี รวมถึงยังได้รับแรงกดดันจากการที่

นักลง ทุนสถาบันเทขายทองคำเพื่อปิดงวดบัญชี (Window Dressing) ให้ตัวเลขออกมาดูดีในช่วงสิ้นไตรมาส ขณะที่อินเดียซึ่งเป็นผู้บริโภคทองคำรายใหญ่ออกมาตรการจำกัดการนำเข้าทองคำ อย่างเข้มงวด หลังจากที่ต้องเผชิญการอ่อนค่าของสกุลเงินรูปีและปัญหาการขาดดุลบัญชีเดิน สะพัดที่ระดับสูง จึงทำให้บรรยากาศการลงทุนทองคำเป็นไปในเชิงลบ

ผล กระทบจากราคาทองคำโลกและในไทยลดลงรุนแรงทำให้กองทุนรวมที่ลงทุนอ้างอิงกับ ทองคำปรับลดลงด้วย โดยข้อมูลจากมอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า การลงทุนในกองทุนทองคำนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 26 มิ.ย 56 ให้ผลตอบแทนที่ติดลบกันถ้วนหน้า โดยภาพรวมของกองทุนทองพบว่ามีผลตอบแทนติดลบสูงถึง 26.22% และติดลบต่ำสุดอยู่ที่ 23.06% หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยผลตอบแทนติดลบอยู่ที่ 24.94%

อย่างไรก็ตาม หากดูผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปี (27 มิ.ย. 53-26 มิ.ย. 56) มีกองทุนที่สามารถบริหารผลตอบแทนได้สูงสุดอยู่ที่เพียง 0.09% เท่านั้น ส่วนผลตอบแทนต่ำสุดอยู่ที่ติดลบ 4.17% ซึ่ง

คิดเป็นค่าเฉลี่ยผลตอบแทนที่ลงทุนในช่วง 3 ปี ยังติดลบ -2.16%

นาย สมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย ในฐานะผู้จัดการกองทุนเปิดเคแทม โกลด์อีทีเอฟ แทร็กเกอร์ (GLD) ซึ่งเป็นกองทุนอีทีเอฟทองคำที่อ้างอิงราคากองทุนรวมทองคำในต่างประเทศกล่าว ว่า ราคาหน่วยลงทุนของกอง GLD ณ 27 มิ.ย.ได้ปรับตัวลดลงเหลือ 1.75 บาท จากต้นปีปิดตลาดอยู่ที่ 2.33 บาท หรือลดลง 24.9%

อย่างไรก็ตาม แม้ราคาทองจะปรับตัวลดลงมากแต่ยังไม่เห็นนักลงทุนแห่ไถ่ถอนหน่วยลงทุน (รีดีม) อย่างมีนัยสำคัญในช่วงนี้ เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ถือหน่วยลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงและรอผลตอบแทน ในระยะยาว ต่างจากในช่วงก่อนหน้านี้ที่ลงทุนเก็งกำไรตามทิศทางราคาทองคำขาขึ้น

"หาก นักลงทุนจะเข้ามาซื้อกองทุนทองคำช่วงนี้ก็ไม่ควรที่จะซื้อเกิน 5% ของพอร์ตทั้งหมด ซึ่งก็เป็นคำแนะนำที่ลดลงจากปีก่อน ๆ ที่เราให้ลงทุนทอง 10-15% ตอนนี้ไม่มีใครสามารถบอกได้ชัดเจนว่า ทองคำจะดิ่งลงไปอีกแค่ไหน เพียงแต่ถ้าอยากเข้ามาลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยง ราคาในระดับนี้ก็ถือว่าได้ต้นทุนที่ถูกกว่าคนอื่นแล้ว" นายสมชัยกล่าว

นาง วรวรรณ ธาราภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.บัวหลวง ในฐานะผู้จัดการกองทุนเปิดบัวหลวงเชโกลด์อีทีเอฟ (BCHAY) กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมายอมรับว่ามีนักลงทุนรีดีมออกจากกองทุนทองคำเป็นระยะ แต่ก็มีนักลงทุนกลุ่มใหม่ไหลเข้ามาลงทุนแทนเช่นกัน เนื่องจากบางรายอาจจะเห็นโอกาสในช่วงที่ราคาปรับตัวลดลงต่ำ

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯพบว่า BCHAY ยังคงมีราคาลดลงต่อเนื่อง จากต้นปีปิดตลาดที่ 23.96 บาท ร่วงลงมาปิดตลาด ณ วันที่ 27 มิ.ย.ที่ระดับ 17.95 บาท หรือลดลง 25.08%

"ไม่มี Panic Sell ให้เห็นในช่วงที่ผ่านมา จะมีก็แต่นักลงทุนถอนเงินออกจากกองบ้างก็เท่านั้น ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเทรนด์จะมาในลักษณะถอนอย่างเดียว เพราะนักลงทุนที่มองว่าทองคำเหมาะสมกับการลงทุนกระจายความเสี่ยงระยะยาวก็จะ เข้ามาซื้อกองทุนเหมือนกัน" นางวรวรรณกล่าว

นางวรวรรณกล่าวว่า หากจะเข้าซื้อกองทุนทองคำในช่วงนี้ ควรวางแผนให้เป็นการลงทุนระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยหนุนให้ราคาทองคำฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว จะมีก็เพียงประเด็นการปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อ ซึ่งหากเกิดขึ้นในอนาคตก็จะทำให้ทองคำเริ่มกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง

ด้าน นางประภาศรี ชุมภิรมย์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บลจ.ทองคำ แอสเซท ซึ่งมุ่งเน้นนักลงทุนตั้งแต่ขนาดกลาง-ขนาดเล็กกล่าวว่า การที่ราคาทองปรับตัวลดลงได้ส่งผลต่อมูลค่าสินทรัพย์ที่บริษัทบริหาร (AUM) โดยตรง ซึ่งมีอยู่ 2 กอง ได้แก่ กองทุนเปิดทีซี เอฟไอเอฟ โกลด์ (TCFIFGOLD) เป็นกองทุนที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน SPDR และกองทุนเปิดทีซี ทองคำแท่ง (TC-GB) ซึ่งมีนโยบายลงทุนโดยตรงในทองคำแท่ง (Physical Gold) ที่มีค่ามาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองคำเท่ากับ 96.5% ในประเทศไทย

ทั้ง นี้ ข้อมูลจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) เปิดเผยว่า บลจ.ทองคำฯมีเอยูเอ็มล่าสุด ณ วันที่ 21 มิ.ย.อยู่ที่ 14.7 ล้านบาท จากสิ้นธันวาคมปีก่อนที่อยู่ 18.4 ล้านบาท ลดลง 20%

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook