วิธีลงทะเบียนจองคิวเยียวยาแท็กซี่-วินมอเตอร์ไซค์ รับเงินสูงสุด 10,000 บาท เช็คได้ที่นี่
เยียวยาแท็กซี่-วินมอเตอร์ไซค์ รับเงินสูงสุด 10,000 บาท เริ่มลงทะเบียนจองคิวผ่านแอปฯ DLT Smart QUEUE ได้แล้ววันนี้
วันนี้ (18 ต.ค. 64) กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม เปิดให้กลุ่มคนขับรถแท็กซี่-มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่เข้าเกณฑ์เงื่อนไข ลงทะเบียนจองคิวออนไลน์ เยียวยาแท็กซี่-วินมอเตอร์ไซค์ ล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชั่น DLT Smart QUEU หรือเว็บไซต์ https://gecc.dlt.go.th/ เพื่อมาลงทะเบียนรับเงินเยียวยาจำนวน 5,000 บาท และ 10,000 บาท
ช่องทางการลงทะเบียนรับเงินเยียวยาแท็กซี่-วินมอเตอร์ไซค์
1. ลงทะเบียนจองคิว ผ่านแอปพลิเคชั่น DLT Smart QUEUE ตั้งแต่วันที่ 18 ต.ค.-5 พ.ย. 64 โดยมีขั้นตอนดังนี้
- วิธีที่ 1 สแกนคิวอาร์โค้ด โดยสามารถสแกนคิวอาร์โค้ดได้ที่หน้าเว็บไซต์ https://gecc.dlt.go.th (คลิกที่นี่)
- วิธีที่ 2 ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นพิมพ์ชื่อ DLT Smart Queue จากนั้นกดติดตั้ง
- กรอกข้อมูลส่วนตัว ลงในช่องข้อมูลต่างๆ ตรวจความถูกต้องของข้อมูล หลังจากนั้นให้กดยืนยันการลงทะเบียน
- เมื่อกรอกข้อมูล และยืนยันการลงทะเบียนเป็นที่เรียบร้อย จะเด้งป๊อปอัพเพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ "คุณได้ลงทะเบียนสำเร็จแล้ว"
- เมื่อผู้ใช้บริการลงทะเบียนเรียบร้อย สามารถเข้าสู่ระบบเพื่อเริ่มต้นการใช้งานแอปพคิเชั่นได้ทันที
2. เดินทางมาลงทะเบียน ณ อาคาร 6 ชั้น 7 กรมการขนส่งทางบก กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-4 และกลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ ตามวันและเวลาที่จองคิว (เฉพาะผู้ประกอบอาชีพใน 29 จังหวัดพื้นที่ควบคุมและเข้มงวด)
หลักฐานลงทะเบียนเยียวยาแท็กซี่-วินมอเตอร์ไซค์
- ใบคำขอเพื่อรับสิทธิช่วยเหลือ (รับ ณ จุดลงทะเบียน)
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ใบอนุญาตขับรถสาธารณะ
- บัตรประจำตัวผู้ขับรถสาธารณะ (ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน)
- การจ่ายเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ 2 รอบ
การจ่ายเงินเยียวยากลุ่มแท็กซี่-วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง
- รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 8-12 พ.ย. 2564 รถแท็กซี่เช่าขับ
- รอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 22-26 พ.ย. 2564 กรณีมีข้อสงสัย สอบถามเพิ่มเติมที่สายด่วน 1584
สำหรับเงื่อนไขที่จะได้รับสิทธิเยียวยามีดังนี้
- เป็นผู้ประกอบอาชีพผู้ขับรถแท็กซี่ และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีอายุเกิน 65 ปี ก่อนวันที่ 11 ส.ค. 64
- มีใบอนุญาตขับรถสาธารณะ และบัตรประจำตัวผู้ขับรถสาธารณะ
- รถที่ใช้ประกอบอาชีพต้องชำระภาษีครบถ้วน
- มีศักยภาพในการขับรถ
- อยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม 29 จังหวัด โดยแบ่งจ่ายเงินออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
- กลุ่มที่ 1 ใน 13 จังหวัด รับเงินเยียวยาคนละ 10,000 บาท (กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, พระนครศรีอยุธยา, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา และสงขลา)
- กลุ่มที่ 2 ใน 16 จังหวัด รับเงินเยียวยาคนละ 5,000 บาท (กาญจนบุรี, ตาก, นครนายก, นครราชสีมา, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, เพชรบุรี, เพชรบูรณ์, ระยอง, ราชบุรี, ลพบุรี, สิงห์บุรี, สมุทรสงคราม, สระบุรี, สุพรรณบุรี และอ่างทอง)
- ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 และแก้ไขเพิ่มเติม
- กรณีเป็นรถเช่า ต้องยืนยันทะเบียนรถ และผู้ให้เช่าโดยกรมการขนส่งทางบกจะตรวจสอบก่อนรับสิทธิ