ผ่อนบ้านอย่างไร ให้หมดก่อนวัยเกษียณ

ผ่อนบ้านอย่างไร ให้หมดก่อนวัยเกษียณ

ผ่อนบ้านอย่างไร ให้หมดก่อนวัยเกษียณ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ระยะเวลาผ่อนส่งบ้านที่ยาวนาน 20-30 ปีถ้าหากเริ่มต้นผ่อนที่อายุ 30 ปี บางคนจะผ่อนหมด เมื่ออายุ 60 ปี หรือเกษียณพอดี คนบางกลุ่มถามว่าทําไมไม่เริ่มให้เร็วกว่าอายุ 30 ปี เช่นอายุ 25 ปี หรือน้อยกว่านั้น

คําตอบในใจของมนุษย์เงินเดือนที่เคยผ่อนบ้านหลังแรกคงจะตอบด้วยเสียงเบาๆว่า... เริ่มเร็วนั้นยากเพราะกว่าที่จะสะสมเงินดาวน์บ้านให้ได้สักหลัง คิดอย่างง่ายๆ ที่ 500,000 บาท ทํางานกี่ปีจึงจะมีเงินเก็บเท่านี้ที่สําคัญคนที่มีวินัยทางการเงินต่ำ

ทํางานใหม่ๆ มีเงินก้อนจากโบนัส หรือได้เงินเดือนเพิ่มนิดๆ หน่อยๆก็ผันไปเป็นเครื่องอํานวยความสะดวกอื่น เช่น โทรศัพท์มือถือหรือรถยนต์กันเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเริ่มตอนที่อายุ 30 ปี

บางคนอาจมีคําถามในใจอีกว่าแล้วมันแปลกตรงไหนที่เราจะผ่อนบ้านตอนอายุ 30 ปีแล้วผ่อนหมดเมื่ออายุ 60 ปี เพราะความจริงเงินผ่อนบ้านไม่ได้มากมายอะไรถ้าเช่นนั้นลองพิจารณาตารางดังต่อไปนี้





บางคนเห็นตารางนี้แล้วแทบไม่เชื่อสายตาตัวเองว่าเงินกู้ซื้อบ้านหลังเล็กๆของตนนั้นเมื่อจ่ายกันจนหมดหนี้แล้ว จะเสียดอกเบี้ยกันมโหฬารขนาดนี้ตัวเลขในตารางข้างต้นตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าไม่มีการจ่ายเงินงวดก้อนใหญ่ก่อนครบกําหนดเลยแม้แต่ครั้งเดียว

แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นคนประเภทไม่คิดมากกับบ้านที่มูลค่า 1 ล้านบาท แต่คุณจ่ายเงินทั้งสิ้น 1.6 ล้านบาท เพราะเชื่อว่าเวลาผ่านไป 30 ปีบ้านของเราจะมีมูลค่ามากกว่านี้อย่างแน่นอน หรือคุณจะเป็นคนประเภท ทนไม่ได้ที่จะต้องเสียดอกเบี้ยเกินกวาครึ่งหนึ่งของมูลค่าของที่ซื้อ ลองมาหาวิธีง่ายๆเพื่อลดดอกเบี้ยที่ต้องเสียให้กับธนาคารกันดีกว่า

1. เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารที่คุณจะกู้ซื้อบ้านเพิ่มขึ้นหนึ่งบัญชีโดยกันไว้ให้เป็นบัญชีสําหรับจ่ายหนี้บ้านโดยเฉพาะ สมมติให้เรียกว่าบัญชีเดือนที่ 13

2. นําเงินครึ่งหนึ่งของยอดที่ต้องผ่อนบ้านทุกเดือนทะยอยใส่ไว้ในบัญชีในข้อ 1 ทุก 2 สัปดาห์ เช่น หากต้องผ่อนบ้านเดือนละ 4,544.05 บาท ตามตารางตัวอย่างสําหรับบ้านราคา 1 ล้านบาท (คิดดอกเบี้ย 5%) ให้ฝากเงินราย 2 สัปดาห์ที่ยอด 2,272 บาท
Note : ใน 1 ปีมี 52 สัปดาห์นั่นแปลว่า คุณจะมียอดเงินในบัญชีนี้ที่ 2,272 x 26 สัปดาห์ = 59,072 มากกว่าที่ต้องจ่ายหนี้จริง 4,544 x 12 เดือน = 54,528 บาท อยู่ 4,544 บาท หรือมากกว่าอยู่ 1 เดือน

3. เมื่อถึงกําหนดจ่ายเงินงวดปกติให้นําเงินส่วนเกิน (4,544 บาท ในข้อ 2) มาแบ่งเป็น 12 งวด ได้ 4,544/12 = 378.67 บาท แล้วจ่ายเพิ่มเข้าไปจากยอดเงินงวดที่ต้องจ่ายรายเดือนปกตินั่นคือแทนที่จะจ่ายเดือนละ 4,544 บาท ให้จ่ายที่ 4,544.05+378.67= 4,922.72

ด้วยกลยุทธ์เก็บเงินเพิ่มด้วยบัญชีเดือนที่ 13 ทําให้คุณสามารถประหยัดเงินได้แถมเป็นอิสระจากภาระหนี้ได้เร็วขึ้นอีกอย่างน้อย 4 ปีเรียกว่าสําหรับใครก็ตามที่เริ่มผ่อนตอนอายุ 30 แทนทึ่จะต้องผ่อนไปจนเกษียณแต่สามารถเป็นไปได้เร็วขึ้น และอาจมีทางเลือกในการเกษียณก่อนกำหนดได้อีกด้วย


ขอบคุณข้อมูล
วีระพล บดีรัฐ(weerapon@set.or.th)
หัวหน้างาน - ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพหลักทรัพย์
ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI)
สถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตีพิมพ์ลงวารสาร Productivity Corner ฉบับเดือนตุลาคม 2553

TSI Thailand

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook