เคทีซีผนึกกำลังกับพันธมิตรลุยกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยวช่วงปลายปี 64

เคทีซีผนึกกำลังกับพันธมิตรลุยกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยวช่วงปลายปี 64

เคทีซีผนึกกำลังกับพันธมิตรลุยกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยวช่วงปลายปี 64
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นางสาวเจนจิต ลัดพลี ผู้อำนวยการการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวและสันทนาการ “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากพฤติกรรมในด้านการท่องเที่ยวของสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่เปลี่ยนแปลงไป มีความต้องการที่ชัดเจนและมีความคาดหวังกับการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น พร้อมที่จะจ่ายเงินจำนวนมากสำหรับการเดินทางที่เป็นส่วนตัวและขยายระยะเวลาของทริปให้ยาวนานขึ้น เพราะห่างหายจากการท่องเที่ยวมานาน จึงเกิดความต้องการเดินทางท่องเที่ยว

เคทีซีจึงได้เตรียมความพร้อมในเรื่องการให้บริการด้านการท่องเที่ยวตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านบริการ KTC World Travel Service เพื่อดูแลและอำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ เคทีซียังได้จัดทำ Platform Domestic Travel Hub ภายใต้ concept “หา เรื่อง เที่ยว” เพื่อเป็นแหล่งรวม “เรื่องราว” “ประสบการณ์” และ “โปรโมชัน” ด้านการท่องเที่ยว อาทิ ที่พัก ตั๋วเครื่องบิน แพ็กเกจทัวร์ บัตรเข้าชมกิจกรรมต่างๆ รถเช่า และประกันภัยการเดินทาง โดยเน้นการเดินทางท่องเที่ยวทั้งเมืองหลักและเมืองรอง รวมถึงชุมชนต่างๆ กว่า 40 พื้นที่ทั่วประเทศไทย ในส่วนของพันธมิตรธุรกิจ เคทีซีได้จัดแคมเปญ “เที่ยว อยู่ ได้” เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยทางเคทีซีให้การสนับสนุนด้านสื่อประชาสัมพันธ์ รวมถึงสิทธิประโยชน์ในด้านการส่งเสริมการขายอีกด้วย

นายอติรัตน์ ด่านภัทรวรวัฒน์ เจ้าของแพ 500 ไร่ และนายกสมาคมการค้าธุรกิจที่พักบูติกไทยกล่าวว่า ภาพรวมของที่พักโรงแรมบูติกไทย มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นเกือบเทียบเท่าช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งโรงแรมบูติกที่คนไทยนิยม พื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ น่าน เชียงคาน เชียงราย แม่ฮ่องสอน และพะเยา พื้นที่ภาคตะวันตก ได้แก่ หัวหินและปราณบุรี พื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่ บ้านกรูดและตราด และพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ เชี่ยวหลาน ขนอม และสิชล โดยคาดว่าโรงแรมบูติกไทยจะมีทิศทางที่ดีขึ้น เพราะตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยวยุคใหม่ ที่ต้องการประสบการณ์และแสวงหาความแปลกใหม่ สำหรับภารกิจหลักของสมาคมการค้าธุรกิจที่พักบูติกไทยในตอนนี้ คือ การเร่งปรับแก้กฎ ระเบียบ ที่เป็นข้อจำกัดต่อที่พักขนาดเล็กและกลาง รวมถึงที่พักบูติกให้สามารถเข้าถึงทุนและการส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐ สำหรับในส่วนของแพ 500ไร่ ได้มีการปรับกลยุทธ์เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเน้นการปรับจากพื้นฐานภายใน เช่น ต้นทุน รูปแบบบริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ตามกระแส รวมถึงสร้างความมั่นใจในด้านสุขอนามัย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook