ส่องราคาหุ้น ทรู-ดีแทค พุ่งทะยานหลังควบรวมกิจการ

ส่องราคาหุ้น ทรู-ดีแทค พุ่งทะยานหลังควบรวมกิจการ

ส่องราคาหุ้น ทรู-ดีแทค พุ่งทะยานหลังควบรวมกิจการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถือเป็นอีกหนึ่งดีลที่น่าจับตามอง เพราะหลังมีกระแสข่าวเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 64 ที่ผ่านมา ถึงการควบรวมกิจการระหว่าง ทรู และดีแทค นั้น สร้างความฮือฮาให้กับหลายคนอย่างมาก จนล่าสุดเช้าวันนี้ (22 พ.ย. 64) ทรู และดีแทค ประกาศควบรวมกิจการโดยได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการควบควมรวมบริษัท ผ่านการจัดตั้งบริษัทใหม่ หรือสรุปให้เข้าใจง่ายก็คือ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของทรู เช่นเครือเจริญโภคภัณฑ์ และดีแทคอย่างเทเลนอร์ จะร่วมกันตั้งบริษัทย่อยขึ้นมาเพื่อเข้าซื้อกิจการทรูและดีแทคเพื่อให้มาอยู่ในบริษัทเดียวกัน

ขณะที่หุ้นทรูและดีแทคเช้าวันนี้ (22 พ.ย. 64) ราคาพุ่งขึ้นถึง 10% ขานรับแนวทางควบกิจการ โดยเมื่อเวลา 09.58 น. หุ้น DTAC ราคาพุ่งขึ้น 10.30% มาอยู่ที่ 45.50 บาท เพิ่มขึ้น 4.25 บาท มูลค่าซื้อขาย 266.16 ล้านบาท ส่วนหุ้น TRUE พุ่ง 11.11% มาอยู่ที่ 4.80 บาท เพิ่มขึ้น 0.48 บาท มูลค่าซื้อขาย 584.17 ล้านบาท

บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ฯมีโอกาสเห็นการ”เก็งกำไร”หุ้น บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) และ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ขึ้นไปเกิน 5.09 และ 47.79 บาท หลังบอร์ด TRUE, DTAC อนุมัติศึกษาควบรวม และรับทราบการทำคำเสนอซื้อโดยสมัครใจแบบมีเงื่อนไข ซึ่งจะมีผลให้เกิดการตรสจสอบกิจการ (Due diligence) ของทั้งคู่ โดยมีการกำหนอัตราแลกเป็นหุ้นบริษัทใหม่ที่ 1 TRUE: 2.40072 MergeCo และ 1 DTAC: 24.53775 MergeCo ซึ่งจะส่งผลให้ส่วนได้เสียของบริษัทใหม่มาจาก TRUE 57.94% และ DTAC 42.06% (ใกล้เคียงกับขนาดของทั้งคู่ เทียบจากราคาปิดวันศุกร์ที่ 59.61% และ 40.39%)

นอกจากนี้ ปัจจัยบวกที่อาจผลักดันราคามาจาก Citrine (บริษัทร่วมทุนระหลายรูปหว่าง CP Holding และ Telenor Asia) ประกาศจะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ TRUE และ DTAC ที่ราคา 5.09 และ 47.76 บาท ซึ่งประเมินส่วนนี้เป็นการเปิดช่องให้ Strategic partner เดิม หรือผู้ถือหุ้นที่อาจค้านการควบรวม (อาทิ China Mobile, บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ, ประกันสังคม) ได้มีช่องทางในการ Exit

ขณะที่ในเชิงเก็งกำไร ราคาเสนอซื้อ (Tender offer price) ดังกล่าว อาจทำหน้าที่เป็นราคาพื้น (Floor price) ในการเก็งกำไรถึงมูลค่าของบริษัทที่ควบรวม (MergeCo) ที่ยังคงต่ำกว่า Market cap ของ AIS อยู่ราว 140%

ทั้งนี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (เครือซีพี) และกลุ่มเทเลนอร์ ประกาศการพิจารณาสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) โดยการสนับสนุนให้ TRUE และ DTAC ตั้งเป้าปรับโครงสร้างธุรกิจสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี (Technology Company) ภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีฮับ พร้อมเสริมธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ การสร้างดิจิทัลอีโคซิสเต็ม และกองทุนสตาร์ทอัพ เพื่อสอดรับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีระดับภูมิภาค

ในระหว่างการศึกษาและพิจารณาการปรับโครงสร้างครั้งนี้ ธุรกิจของทรู และดีแทค จะยังคงดำเนินไปตามปกติของแต่ละบริษัท ในขณะที่เครือซีพี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของทรู และกลุ่มเทเลนอร์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของดีแทค ตั้งเป้าที่จะหาข้อสรุปในรายละเอียดของความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) ซึ่งจะส่งผลให้ เครือซีพีและกลุ่มเทเลนอร์ ถือหุ้นเท่าเทียมกันในบริษัทใหม่ที่จะร่วมกันสร้างขึ้น

นอกจากนี้ ทรูและดีแทค จะดำเนินการตามเงื่อนไขต่าง ๆ ทั้งการตรวจสอบกิจการของอีกฝ่ายหนึ่งแล้วเสร็จเป็นที่พอใจ (Due Diligence) การขออนุมัติที่เกี่ยวข้องจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทและผู้ถือหุ้นของทั้งสองบริษัท ตลอดจนการดำเนินขั้นตอนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ให้แล้วเสร็จ

ทั้งนี้ บริษัทใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้น จะตั้งกองทุนมูลค่าประมาณ 100-200 ล้านเหรียญสหรัฐ ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพบนแพลตฟอร์มดิจิทัล เน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคในประเทศไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook