ลุ้นเคาะเยียวยาคนกลางคืน-อาชีพอิสระวันนี้ คาดได้คนละ 5,000 บาท

ลุ้นเคาะเยียวยาคนกลางคืน-อาชีพอิสระวันนี้ คาดได้คนละ 5,000 บาท

ลุ้นเคาะเยียวยาคนกลางคืน-อาชีพอิสระวันนี้ คาดได้คนละ 5,000 บาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ (3 พ.ย. 64) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เตรียมสรุปมาตรการเยียวยานักร้อง นักแสดง นักดนตรี อาชีพอิสระที่ทำงานกลางคืน คาดอาจได้คนละ 5,000 บาท

เว็บไซต์ thebangkokinsight รายงานว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงแนวทางการเยียวยานักร้อง นักแสดง นักดนตรี และผู้ประกอบการสถานบันเมิง ผับ บาร์ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยจะต้องขอดูจำนวนผู้ประกอบการในวันนี้ 3 ธ.ค. 64 แต่เบื้องต้นมีตัวเลขอยู่ในระบบแล้ว สำหรับผู้มีอาชีพอิสระตามมาตรา 40 ซึ่งเดิมมีการเยียวยาไว้ที่ 5,000 บาท 29 จังหวัด ขณะนั้นมีอยู่ 2 หมื่นกว่าราย แต่หากรวมทั้งประเทศ คาดว่าไม่เกิน 1-2 แสนคน

นอกจากกลุ่มดังกล่าวแล้ว ยังรวมไปถึงกลุ่มคนขับรถรับส่งนักดนตรี เด็กเสิร์ฟ หรืออาชีพที่ได้รับการรับรองจากสมาคมฯ และสมาคมฯ ยืนยันได้ และต้องดูอายุ หากเกิน 65 ปีจะไม่เข้าข่ายมาตรา 40 อาจจะประสานกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงวัฒนธรรม

ทั้งนี้ ต้องรอดูตัวเลขจากสมาคมฯ ที่จะมาพบตนในเวลา 14.00 น. วันนี้ (3 พ.ย. 64) ว่า ตัวเลขคนกลุ่มดังกล่าวมีจำนวนเท่าใด ซึ่งการเสนอขอสภาพัฒน์ฯ ต้องมีตัวเลขที่ชัดเจนว่ามีปริมาณเท่าใด ไม่สามารถพูดลอยๆ ได้

เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมคาดว่าจะได้ข้อสรุป เนื่องจากตัวเลขของรัฐบาล กับของผู้ประกอบการต่างกันหลายเท่าตัว โดยในหลักการนายกรัฐมนตรีให้การเยียวยาอยู่แล้ว

นายสุชาติ เปิดเผยด้วยว่า มีธงในใจไว้ที่ 5,000 บาท เพราะเป็นเงินกู้ของรัฐบาลไม่ใช่เงินของกองทุนประกันสังคม แต่มีบางกรณีใช้เงินในเหตุสุดวิสัยในมาตรา 33 หรือ ร้อยละ 50 เข้าข่ายช่วยอีกทางหนึ่งในกลุ่มลูกจ้างในระบบ เช่น เด็กเสิร์ฟ เสมียน ซึ่งในส่วนนี้จดทะเบียนในประกันสังคม

แต่เรื่องนี้เป็นเพียงหลักการของตน ซึ่งยังไม่มีการเสนอเข้าที่ประชุม แต่ต้องมีโมเดลในใจ ดังนั้นหากเป็นลูกจ้างในมาตรา 33 ด้วยก็อาจจะได้รับการเยียวยา 2 ทาง คือ สำนักงานประกันสังคม และจากรัฐบาล

นายสุชาติ ยังบอกว่า รัฐมีบรรทัดฐานการเยียวยา 5,000 บาทจากครั้งก่อน ซึ่งการเยียวยาสถานบริการบันเทิงส่วนใหญ่เป็นบริษัท สามารถใช้สิทธิ์ SME ได้ ให้หัวละ 3,000 บาทในลูกจ้างไม่เกิน 200 คน ซึ่งเป็นโมเดลที่รัฐบาลสร้างไว้เพื่อการเยียวยาอยู่แล้ว ขณะที่ลูกจ้างในระบบประกันสังคม มาตรา 33 ก็สามารถใช้คำสั่ง ศบค. เยียวยาเหตุสุดวิสัยได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook