"คอตตอนฟาร์ม" ตุ๊กตาทำมือโกอินเตอร์
การเริ่มต้นทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องมีความรู้หรือประสบการณ์เสมอไป แต่หากเป็นการริเริ่มทำธุรกิจที่มาจากใจรักและชื่นชอบก็เป็นหนทางที่ทำให้ยืนหยัดอยู่บนเส้นทางนี้ได้ไม่ยาก
เฉกเช่นกับ Cotton Farm ของ "เปรมฤดี กุลสุ" ที่ปรึกษาและอดีตนายกสมาคมผู้ผลิตและส่งออกสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือ หรือนอร์แมค (NOHMEX) ซึ่งเริ่มจับธุรกิจเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าหัตถกรรมประเภทผ้าเมื่อประมาณปี 2541
นางเปรมฤดี เล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ มาทำธุรกิจนี้ทั้งๆ ที่ไม่มีความรู้และประสบการณ์มาก่อน เพราะตอนเรียน เรียน ในสายวิทย์แต่ในช่วงชีวิตที่ไปอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นได้เห็นสินค้าไทยวางจำหน่ายใน ห้างสรรพสินค้าของญี่ปุ่นมูลค่าตั้งแต่ 10,000 เยนขึ้นไป
ก็รู้สึกภูมิใจ และเมื่อกลับมาประเทศไทยหลังเกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ประมาณปี 2541 ก็ทำให้มานั่งคิดว่าจะทำอะไรก็มานึกถึงสิ่งที่ได้พบเห็นว่าสินค้าไทยเป็นที่นิยมและชื่นชอบของญี่ปุ่นมาก ประกอบกับโดยส่วนตัว ที่ชื่นชอบสินค้าท้องถิ่นด้วยก็คิดว่าจะลอง เอามาประยุกต์กับความต้องการของตลาด ในยุคเศรษฐกิจที่ไร้พรมแดน
"แรกๆ พี่ไม่ได้ทำธุรกิจใหญ่โตอะไร เปิดเป็นร้านคีออสเล็กๆ บนพลาซ่าที่ไนท์บาร์ซ่า และตัวสินค้าไม่ได้ผลิตเองหมดแต่จ้างทำ ซึ่งการทำธุรกิจในช่วงเริ่มต้นก็ค่อยเป็นค่อยไปเพราะเศรษฐกิจช่วงนั้นยังไม่ดีนัก
แต่ด้วยรูปแบบของผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นงานแฮนด์เมดก็ทำให้ได้ลูกค้าชาวญี่ปุ่น และหลังจากนั้น 6 เดือนก็สามารถขยายกิจการมาเป็น 1 ห้องและจากนั้นก็ขยับมาเป็น 3 ห้อง ซึ่งก็ถือว่ากิจการดีขึ้นเรื่อยๆ" เจ้าของร้าน Cotton Farm กล่าว
เนื่องจากลูกค้าของเราส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าขายส่ง และต่อมาก็เริ่มมีปัญหาการเรื่องผลิตเนื่องจากผู้ผลิตไม่รับผิดชอบ ทำงานตามออเดอร์ทำให้ส่งของไม่ทันและ ทำให้เราเสียเครดิตลูกค้า ก็เลยตัดสินใจตั้งกลุ่มผลิตเอง
ซึ่งสินค้าก็จะมีทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า ของตกแต่งบ้าน และเศษผ้าที่เหลือ จากการตัดเย็บก็จะเอาไปทำเป็นพวงกุญแจ หรือตุ๊กตา ซึ่งทำให้สินค้าของCotton Farm มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
"ตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา ที่เจอปัญหาหนักๆ คือ แรงงานฝีมือและ ความรับผิดชอบ ต้องยอมรับว่าบ้านเราแรง งานมีน้อยและอาจมองไม่เห็นความสำคัญในเรื่องการตรงต่อเวลา และควบคุมคุณภาพ ให้ได้มาตรฐาน แต่คนงานบ้านเราจะทำงาน แบบเรื่อยๆ เฉื่อยๆ อยากทำก็ทำ บางทีไม่มีอารมณ์ก็หยุด
นอกจากนี้ วัตถุดิบใหม่ๆ ก็หายากและไม่ค่อยมีใครยอมผลิตวัตถุดิบใหม่ๆ ให้ เพราะบางครั้งเราต้องการลาย ผ้าใหม่ๆ ก็หาคนผลิตยาก การทอผ้าชาวบ้านมักจะทำตามความถนัด ทำในลายเดิมๆ พออยากให้มีลายใหม่ๆ ก็ปฏิเสธ" นางเปรมฤดี กล่าว
ความจริงงานทอผ้า งานฝีมือต่างๆ นั้นจะต้องมีการปรับปรุงตัวเอง ต้องมีการ พัฒนา และตื่นตัวเนื่องจากสินค้าที่จำหน่าย เป็นสินค้าอิงแฟชั่น อิงฤดูกาล ดูสีสัน เทรนด์ การผลิตมันต้องได้ด้วย ซึ่งมันต้องมีการปรับตัวเหมือนอย่างการทำธุรกิจของเราก็เช่นเดียวกัน
ในส่วนของคอตตอนฟาร์มเอง ความ คาดหวังของเราคือเมื่อลูกค้าหยิบสินค้านั้นขึ้นมาดูจะต้องรู้เลยว่ามาจากเชียงใหม่หรือภาคเหนือ ไม่ใช่ยังไม่แน่ใจว่าเป็นสินค้า จากจีนหรือที่อื่น สินค้าเราเป็นสินค้าทำมือ ที่ใส่อัตลักษณ์ ใส่บริบทเข้าไปในสินค้า งานหัตถกรรมเป็นงานที่แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาผนวกเข้ากับดีไซน์ให้ดูทันสมัยและมีความเหมาะสม ในการใช้งาน
เพราะขณะนี้การเลือกซื้อ สินค้าผลิตภัณฑ์ลูกค้าจะดูที่คุณภาพต้องเป็นสีธรรมชาติ ลดคาร์บอนในกระบวน การผลิตและบางคนดูไปถึงแรงงานที่ผลิตซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการก็ไม่ควรจะมองข้ามด้วย
"จุดอ่อนของการดำเนินธุรกิจเอสเอ็มอีอยู่ที่การดีไซน์และการปรับตัวที่ช้า บางทีอาจต้องมองตลาดที่กว้าง ขึ้นด้วย เพราะในไลน์ธุรกิจหัตถกรรมไม่ได้ขายแค่ตัวสินค้าแต่ขายศิลปวัฒนธรรมด้วยโดยเฉพาะผ้าฝ้ายที่ต่อยอดมาจากวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น
นอกจากนี้ ต้องมองความต้องการของ ตลาดด้วย ซึ่งคอตตอนฟาร์มเองก็กำลังจะทำ Learning craft โดยเอาการท่อง เที่ยวที่มีอยู่มาร่วมในสินค้า จัดทำแพ็กเกจออกมา เช่น นักท่องเที่ยว อยากได้ผ้าพันคอ เราก็จะให้นักท่องเที่ยวได้ลอง
ทำตั้งแต่กระบวนการจากวัตถุดิบมาจน ถึงการออกแบบลวดลายทอผ้า ซึ่งนอก จากนักท่องเที่ยวจะได้สินค้าอย่างที่ต้อง การแล้วเค้ายังได้ความรู้สึกภาคภูมิใจในผลงานของตัวเองด้วย และก็เป็นอีกแนว ทางหนึ่งในการดำเนินธุรกิจของ Cotton Farm" นางเปรมฤดี กล่าวทิ้งท้าย
ขอบคุณภาพ cottonfarmcm