ถอดรหัส "สหฟาร์ม" สปริง เอสเอ็มอี ค่าแรงโคม่า

ถอดรหัส "สหฟาร์ม" สปริง เอสเอ็มอี ค่าแรงโคม่า

ถอดรหัส "สหฟาร์ม" สปริง เอสเอ็มอี ค่าแรงโคม่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปรากฎการณ์อาฟเตอร์ช็อกจากต้นทุนค่าแรงขั้นต่ำ "วันละ 300 บาท" เริ่มแผลงฤทธิ์ออกมาให้เห็นแล้วจากกรณีแรงงานชาวพม่าขู่จะเผาโรงงานสหฟาร์มที่จังหวัดลพบุรี เนื่องจากไม่ได้รับค่าจ้าง

เพราะบริษัทขาดสภาพคล่องทางการเงิน นับเป็นบทเรียนราคาแพงให้กับธุรกิจเอสเอ็มอีที่พึ่งพาแรงงานเป็นหลักต้องเตรียมรับมือหาทางออก โดยเฉพาะ สสว.ออกมา ระบุดัชนีความเชื่อมั่น "สอบตก" กราวรูด นั่นหมายความว่า ธุรกิจเอสเอ็มอี มีความเสี่ยงสูงจะเกิดอาการ "ฝีแตก" เช่นเดียวกัน

นายปัญญา โชติเทวัญ ประธานกรรมการ บริษัท สหฟาร์ม จำกัด เปิดเผย "สยามธุรกิจ" ว่า สหฟาร์มมีปัญหาเรื่องสภาพคล่องมาตั้งแต่ปลายปี 2555 จากผลกระทบหลายสาเหตุทั้งเรื่องปัญหาวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาแพง การปรับขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาล ทำให้ต้นทุนการผลิตของสหฟาร์มสูงขึ้น

"ปัจจุบันสหฟาร์มจังหวัดลพบุรี ได้ฆ่าไก่ 500,000 ตัวต่อวัน ลดลงจากอดีต 800,000 ตัว ในอดีตมีการจ้างแรงงานกว่า 6,000 คน ตอนนี้ลดลงเหลือเพียง 3,000 คน โดยแต่ละปีมียอดส่งออกไก่ไปทั่วโลกกว่าปีละ 50,000-60,000 ล้านบาท" นายปัญญา ระบุ

จากปัญหาการขาดสภาพคล่องทาง ธุรกิจของสหฟาร์ม น่าจะเป็นกรณีศึกษา และเป็นตัวอย่างที่น่าจะนำมาเป็นบทเรียน ให้กับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่ต้องอาศัยการจ้าง แรงงานค่อนข้างมาก แต่ต้นทุนในการทำธุรกิจมีอย่างจำกัด หากนโยบายภาครัฐไม่ เอื้อต่อผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีด้วยแล้ว เชื่อว่าวิกฤติของสหฟาร์มอาจจะส่ง ผลกระทบกับธุรกิจรายย่อยอย่างเอสเอ็มอี แน่นอน

ล่าสุดสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้รายงาน ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประ- กอบการภาคการค้าและบริการ (Trade & Service Sentiment Index:TSSI) ประจำเดือนพฤษภาคม

เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2556 ปรากฏว่า "สอบตก" กราวรูด โดยดัชนี TSSI SMEs รวมภาคการค้าและบริการ ลดลงอยู่ที่ 48.6 จากระดับ 52.8 และเป็นการลดลงทุกภาคธุรกิจ โดยภาคค้าส่ง ภาคค้าปลีก และภาคบริการ ค่าดัชนีลดลงอยู่ที่ 48.9 43.0 และ 41.7 จากระดับ 50.0 51.0 และ 56.1

เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ ประเทศและต่อธุรกิจตน ค่าดัชนีลดลงอยู่ที่ 25.6 และ 35.6 จากระดับ 62.3 และ 58.8 และเมื่อพิจารณาแต่ละประเภทกิจการ พบ ว่า ภาคค้าส่ง กิจการค้าส่งสินค้าอุปโภค/บริโภค ค่าดัชนีลดลงมากที่สุดอยู่ที่ 47.4 จากระดับ 50 ซึ่งถือว่าสอบตกเช่นกัน เนื่องจากมีการเร่งการบริโภคไปมากในช่วง ก่อนหน้านี้ และเข้าสู่ช่วงเปิดภาคเรียน

ขณะที่ระดับราคาขายปลีกน้ำมันเบน ซิน 95 และน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.80 บาทต่อลิตร ส่งผลให้สถานการณ์ด้าน การเดินทางชะลอตัวลง ภาคบริการ กิจการ ด้านการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เป็นกลุ่มที่ค่าดัชนีลดลงมากที่สุด โดยบริการด้านการท่องเที่ยว ค่าดัชนีอยู่ที่ 36.0 จากระดับ 62.2 โรงแรม, เกสต์เฮาส์ และ บังกะโล ค่าดัชนีอยู่ที่ 38.9 จากระดับ 56.1 ร้านอาหารและภัตตาคาร ค่าดัชนีอยู่ที่ 40.1 จากระดับ 56.1 เนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูฝน

ผลการสำรวจดัชนีรายภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม เมื่อเปรียบเทียบกับเดือน เมษายน 2556 ก็พบว่า ทุกภูมิภาคมีค่าดัชนีปรับตัวลดลง โดยภูมิภาคที่มีค่าดัชนีลดลงมากที่สุด ได้แก่ ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก ค่าดัชนีอยู่ที่ 40.8 จากระดับ 58.7 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ค่าดัชนีอยู่ที่ 43.0 จากระดับ 54.3 ภาคใต้ ค่าดัชนีอยู่ที่ 43.6 จากระดับ 51.7 ภาคเหนือ ค่าดัชนีอยู่ที่ 47.0 จากระดับ 54.7 และกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล อยู่ที่ 42.5 จากระดับ 47.4

นายชาวันย์ สวัสดิ์ชูโต รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สสว. กล่าวว่า สาเหตุดัชนีลดลงมาจากเข้าสู่ฤดูฝนและเปิดภาคเรียน ส่งผลให้การบริโภค การขนส่ง และท่องเที่ยวชะลอตัว โดยมีธุรกิจค้าส่งสินค้าอุปโภค/บริโภค ค้า ปลีกน้ำมันและบริการด้านการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง มีค่าดัชนีลดลงมากที่สุด

"ปัจจัยบั่นทอนเห็นได้จากการส่งออกในเดือนพฤษภาคม ปรับตัวลดลงในทุกอุตสาหกรรมและทุกตลาดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 19,830 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การลงทุนภาค เอกชนลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เช่นเดียวกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ขณะที่ค่าครองชีพของประชาชนยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง" นายชาวันย์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ยังเห็นแสงสว่างปลาย อุโมงค์ เมื่อการคาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า รวมภาคการค้าและบริการ พบว่า ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 48.6 จากระดับ 41.2 ซึ่งเอส เอ็มอีส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจ ในภาพรวมของประเทศจะปรับตัวดีขึ้น ทั้งด้านการบริโภค การขนส่งสินค้าและขน ส่งมวลชน รวมถึงสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวที่จะกลับมาคึกคัก จากมาตรการ กระตุ้นการท่องเที่ยวทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook