เว็บหางาน จะอยู่ หรือ จะไป ในยุคทองของโซเชียลเน็ตเวิร์ค

เว็บหางาน จะอยู่ หรือ จะไป ในยุคทองของโซเชียลเน็ตเวิร์ค

เว็บหางาน จะอยู่ หรือ จะไป ในยุคทองของโซเชียลเน็ตเวิร์ค
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผลสำรวจของจ็อบสตรีทดอทคอมเผยว่า นายจ้างส่วนใหญ่ยังคงเลือกใช้บริการจากเว็บไซต์หางานเป็นช่องทางหลักในการลงโฆษณาตำแหน่งงานว่าง คิดเป็นร้อยละ 91

นอกจากนี้ ยังพบว่า โซเชียลเน็ตเวิร์คและช่องทางโฆษณาอื่นๆ ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของนายจ้างได้ ล่าสุดจ็อบสตรีทดอทคอมจึงได้เปิดตัว ริชเชอร์ จ็อบ แอดส์ (Richer Job Ads) เพื่อช่วยให้นายจ้างพบผู้สมัครที่มีคุณภาพบนโลกออนไลน์ได้ง่ายขึ้น

นายอีริค ซีโต ผู้จัดการทั่วไป จ็อบสตรีทดอทคอม ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แสดงทัศนะว่า "ความท้าทายหนึ่งขององค์กรส่วนใหญ่ที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันก็คือ การแข่งขันช่วงชิงคนเก่งในตลาดแรงงานเข้ามาอยู่ในองค์กร หลายองค์กรจึงหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างภาพลักษณ์ หรือ การสร้างแบรนด์ เพื่อให้คนเกิดความรู้สึกที่ดีต่อองค์กรและอยากร่วมงานในที่สุด ในขณะเดียวกันผู้หางานเองก็ต้องการข้อมูลที่มากขึ้นก่อนที่จะตัดสินใจสมัครงานกับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง"

จ็อบสตรีทดอทคอมตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวทั้งในแง่มุมของผู้หางานและนายจ้าง จึงได้เปิดตัว ริชเชอร์ จ็อบ แอดส์ (Richer Job Ads) ขึ้นเป็นครั้งแรก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ริชเชอร์ จ็อบ แอดส์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้หางานสามารถเลือกงานจากบริษัทต่างๆ ในอัตราเงินเดือนที่ตนพอใจได้ทันที และสามารถดูรีวิวพร้อมรายละเอียดเกี่ยวกับงาน, ที่ตั้งบริษัท, และข้อมูลเชิงลึกของบริษัทก่อนตัดสินใจยื่นใบสมัคร

"เราได้สอบถามจากผู้หางานจำนวนมาก ว่าข้อมูลใดสำคัญที่สุดในการตัดสินใจเลือกสมัครงาน ซึ่งพบว่า นอกจากเงินเดือนและตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ทำงานแล้ว พวกเขายังอยากรู้ข้อมูลเชิงลึกของบริษัทด้วย

ทั้งนี้ ริชเชอร์ จ็อบ แอดส์ จะทำให้ผู้หางานเสมือนได้เห็นสภาพแวดล้อมการทำงานที่แท้จริงผ่านรูปถ่ายและวิดีโอ ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้เรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรต่างๆ อาทิ ระเบียบการแต่งกาย เวลาทำงาน และภาษาที่ใช้ ความสามารถเหล่านี้อำนวยประโยชน์แก่ผู้หางานในการทำความเข้าใจงานที่ตนสนใจได้ดียิ่งขึ้น ในคราวเดียวกันก็ยังช่วยให้นายจ้างคัดกรองผู้สมัครที่จริงจังและมีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการได้มากขึ้นด้วย" นายอีริค กล่าวเพิ่มเติม

ในส่วนของนายจ้างจ็อบสตรีทดอทคอมได้เก็บผลสำรวจความคิดเห็นจากองค์กรจำนวน 227 บริษัท พบว่า 43% ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามเคยใช้สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คในการสรรหาบุคลากร

โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการประกาศตำแหน่งงานว่าง และสร้างแบรนด์องค์กรไปพร้อมๆ กัน และเมื่อสอบถามถึงการเลือกใช้ช่องทางในการสรรหาบุคลากร ร้อยละ 91 ของบริษัทที่ร่วมทำแบบสอบถามยังคงใช้และมีแนวโน้มที่จะใช้เว็บหางานในการลงโฆษณาตำแหน่งงานว่าง ในขณะที่ ร้อยละ 49 จะประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค และองค์กรที่มีแผนจะลงโฆษณาตำแหน่งงานว่างในสื่อสิ่งพิมพ์ คิดเป็น ร้อยละ 21

 



นางสาวฐนาภรณ์ สถิตพันธุ์เวชา ผู้จัดการสาขาประเทศไทย บริษัท จ็อบสตรีท (ประเทศไทย) จำกัด เผยข้อมูลส่วนแบ่งทางการตลาดในการลงโฆษณาประกาศตำแหน่งงานว่า "จากการเก็บข้อมูลจำนวนตำแหน่งงานที่ลงโฆษณาบนเว็บไซต์สมัครงานและสื่อดั้งเดิมอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ ย้อนหลังไป 3 ปี พบว่า แนวโน้มการลงโฆษณาตำแหน่งงานว่างบนเว็บไซต์หางานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การลงประกาศในสื่อสิ่งพิมพ์มีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ในปี 2010 ระดับภูมิภาคเอเชียอาคเนย์มีส่วนแบ่งทางการตลาด สื่อออนไลน์ : สื่อสิ่งพิมพ์ คิดเป็น 70:30 ปัจจุบันอัตราส่วนเปลี่ยนไปเป็น 91:9 ตัวเลขส่วนแบ่งทางการตลาดระหว่างช่องทางลงประกาศตำแหน่งงานบนเว็บไซต์สมัครงานออนไลน์กับสื่อสิ่งพิมพ์มีตัวเลขที่ห่างกันมาก ซึ่งในจุดนี้สื่อดั้งเดิมอย่างสิ่งพิมพ์คงไม่ใช่คู่แข่งที่ท้าทายสำหรับธุรกิจเว็บไซต์หางานอีกต่อไป"

 

 

นางสาวฐนาภรณ์ กล่าวว่า "ถึงแม้โซเชียลเน็ตเวิร์คจะมีการเติบโตของจำนวนผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง และเป็นช่องทางที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกง่ายดายขึ้น แต่ยังคงไม่ใช่กระแสหลักของกิจกรรมการหางาน และการสรรหาบุคลากรในองค์กรในขณะนี้ จากผลสำรวจของบริษัท เดอะนีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด เกี่ยวกับพฤติกรรมการหางานของคนทำงานช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พบว่า ช่องทางที่คนทำงานใช้ในการหางานปัจจุบัน ส่วนใหญ่ยังคงเข้าเว็บไซต์หางาน คิดเป็นร้อยละ 85 รองลงมาคือ ร้อยละ 38 บอกต่อเพื่อนหรือคนรู้จัก อีกร้อยละ 36 เข้าเว็บไซต์บริษัทที่ต้องการสมัครงานมีเพียงร้อยละ 16 ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค"

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook