ครม. เคาะงบกลางปี 65 จำนวน 574.11 ล้านบาท เยียวยาเกษตรกรเลี้ยงหมู

ครม. เคาะงบกลางปี 65 จำนวน 574.11 ล้านบาท เยียวยาเกษตรกรเลี้ยงหมู

ครม. เคาะงบกลางปี 65 จำนวน 574.11 ล้านบาท เยียวยาเกษตรกรเลี้ยงหมู
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบอนุมัติงบประมาณประจำปี 2565 ซึ่งเป็นงบกลางจำนวน 574 ล้านบาท สำหรับค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร โรคระบาดร้ายแรงในสุกร เป็นค่าใช้จ่ายสุกรที่ถูกทำลาย ตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค.-15 ต.ค. 64 ซึ่งมีเกษตรกรที่กรมปศุสัตว์ได้ทำลายสุกร ไปแล้ว แล้วยังไม่ได้รับเงินชดเชย เกษตรกรจำนวน 4,941 ราย และสุกรจำนวน 159,453 ตัว จำนวนเงิน 574.11 ล้านบาท ในพื้นที่ 56 จังหวัดทั่วประเทศ ดังนี้

  • ภาคกลาง 10 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี อ่างทอง ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อยุธยา สระบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ และ สุพรรณบุรี
  • ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว
  • ภาคตะวันตก 3 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี เลย หนองบัวลำภู มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อำนาจเจริญ หนองคาย บึงกาฬ ร้อยเอ็ด นครพนม อุดรธานี มุกดาหาร สกลนคร และยโสธร
  • ภาคเหนือ 12 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน น่าน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์
  • ภาคใต้ 10 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ตรัง กระบี่ ระนอง นครศรีธรรมราช ชุมพร พัทลุง พังงา และสงขลา

โดยใช้แนวทางในการรับการจัดสรรชดใช้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ตามพรบ.โรคระบาด พ.ศ. 2558 ซึ่งได้มีการพิจารณาจากคณะกรรมการประเมินตามกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้จ่ายราคาสัตว์ที่ถูกทำลายเนื่องจากเป็นโรคระบาด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาด หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด พ.ศ. 2560

โดยที่ผ่านมา ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการระบบเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยง กำกับดูแลให้เกษตรกรตลอดจนการป้องกันการควบคุมโรค ให้มีรั้วรอบฟาร์ม และตั้งจุดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นต้น

อย่างไรก็ตาม โรคระบาดเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF มีมาแล้วกว่า 100 ปี แต่ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกัน ระยะที่รักษาโรคได้ซึ่งในประเทศไทยทางกรมปศุสัตว์ร่วมกับจุฬาฯ ร่วมกันทำวิจัยพัฒนาวัคซีน โดยขณะนี้มีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 60-70 โดยคาดว่าสามารถผลิตวัคซีนใช้ได้ในปีนี้ และถือได้ว่าเป็นประเทศแรกของโลก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook