รู้จัก ทองกิมซัว-ทองคำเปลว ทำมาจากอะไร

รู้จัก ทองกิมซัว-ทองคำเปลว ทำมาจากอะไร

รู้จัก ทองกิมซัว-ทองคำเปลว ทำมาจากอะไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทองกิมซัว ทองคำเปลว ทำมาจากอะไร พร้อมเทียบข้อแตกต่างระหว่างทองคำเปลวแท้ กับทองคำวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง

เว็บไซต์ห้างทอง เอ เอ เยาวราช ได้อธิบายถึง ทองกิมซัว ก็คือทองคำเปลวชนิดหนึ่ง คำว่า กิมซัวเป็นภาษาจีน โดย “กิม” แปลว่า ”ทอง” และ ”ซัว” แปลว่า ”ทราย” เกิดจากขั้นตอนในการผลิตที่ต้องสกัดด้วยวิธีโบราณ คือ การใช้สารเคมี เช่น น้ำกรด ในการแยกสกัดให้เป็นทองบริสุทธิ์ สีของทองคำหลังการสกัดนั้นจะออกมาในสภาพของทรายสีน้ำตาลปนทองซึ่งได้ความบริสุทธิ์สูงถึง 99.5-99.7% เมื่อทรายมาหลอมรวมกันก็จะกลายมาเป็นทองคำแท่ง จึงเรียกว่าทองกิมซัว

เนื่องจากทองกิมซัวเป็นทองคำซึ่งผลิตได้ยาก เนื่องจากมีการใช้สารเคมีในการผลิต ทำให้คนสกัดทองต้องสูดดมเอาสารเคมีที่เข้าไปด้วย ทำให้ป่วยได้ง่าย อีกทั้งวิธีการสกัดทองชนิดนี้ใช้เวลานานและสกัดด้วยเครื่องไม่ได้ ในการสกัดจะมีมลภาวะออกมากับน้ำและอากาศ ทำให้การทำทองกิมซัวเริ่มสูญหายไปจากท้องตลาด

ทองกิมซัว เป็นทองคำเปลวที่มีปริมาณทองคำสูงกว่าทองคำ 96.5 % ประมาณ 800 บาทต่อ 15.2 กรัม แต่ทองคำเปลวที่ใช้กิมซัวในการผลิตจะมีลักษณะเงา มีสีเหลืองออกแดงแบบโบราณ เรียกทองคำชนิดนี้ว่า ทองดอกบวบ

ทองคำเปลวที่เป็นทองคำแท้ในประเทศไทย จะมีอยู่ 2 เกรดคือ

  1. ทองคำเปลว 99% ซึ่งในภาษาช่างส่วนใหญ่จะเรียกว่า ทองกิมซัว
  2. ทองคำเปลว 96% หรือประมาณทองรูปพรรณ

ซึ่งช่างส่วนใหญ่จะใช้ทอง 96% เพื่อประหยัดต้นทุนและค่าใช้จ่าย แต่การใช้ทอง 99% เท่านั้น เพื่อให้สีของชิ้นงานมีความเข้ม สด และเงางามกว่า

ทองคำเปลว คือทองที่ตีแผ่จนเป็นแผ่นที่บางมาก มักจะใช้สำหรับการปิดทองปิดบนองค์พระพุทธรูปหรือสิ่งสักการะ ปัจจุบันมีการทำทองคำวิทยาศาสตร์ขึ้นมาใช้งานแทนทองคำเปลวที่ทำจากทองคำแท้เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่า โดยสังเกตความแตกต่างได้ง่ายคือ ทองคำวิทยาศาสตร์ เมื่อใช้นิ้วมือขยี้จะไม่ติดนิ้วมือและขาด แตกเป็นชิ้นๆ ส่วนทองคำเปลวแท้ เมื่อใช้นิ้วมือขยี้ทองคำเปลวจะติดนิ้วมือมาและจะมีสีแวววาวกว่าทองคำเปลววิทยาศาสตร์

นอกจากใช้ทองคำเปลวปิดทององค์พระและสิ่งของมีค่าต่างๆแล้ว ทองคำเปลวยังถูกนำมาใช้ในด้านต่างๆ เช่น ใช้ในทางการแพทย์ ด้านความสวยความงาม และถูกนำมาใช้ในการประกอบอาหาร เป็นต้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook