บล.เมย์แบงก์ มองการเมืองเริ่มกดดันSET
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง เชื่อ ยังมีแรงส่งให้ตลาดหุ้นไทยแตะ 1,520 จุด ขณะที่ประเด็นการเมือง เริ่มกดดันการลงทุนอีกครั้ง
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึง แนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวันนี้ (24 ก.ค.) ว่า วานนี้ SET ปิดทะลุ 1,500 จุดครั้งแรก ในรอบกว่า 1 เดือน ปิดที่ 1,513.31 จุด บวก 2.12% โดยคาดว่าวันนี้ ยังมีแรงส่งให้ไต่ระดับขึ้นทดสอบแนวต้านถัดไปที่ 1,520 จุด แม้ไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้าหนุนการลงทุน แต่ก็ขาดปัจจัยลบใหม่ที่จะเข้ามากดดัน SET เช่นกัน อีกทั้ง นักลงทุนต่างชาติซื้อ – ขายสุทธิเพียงเล็กน้อย ทำให้แรงกดดันที่เคยมีน้ำหนักในเดือนมิ.ย. อ่อนแรงลง
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิเคราะห์ เชื่อว่า การเก็งกำไรจะสามารถดำเนินต่อไปจนถึงสิ้นสัปดาห์นี้ อาจผลักดันให้ SET ขยับขึ้นทดสอบแนว 1,530 จุด ได้ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควร “ขายทำกำไร” ตามแนวต้านเป็นระยะ ๆ เช่นกัน เพราะปัจจัยพื้นฐานของการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ยังมีความเปราะบาง อีกทั้งประเด็นการเมืองมีแนวโน้มที่จะกลับมากดดันอีกครั้งในเดือน ส.ค.จากการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ที่จะเข้าสู่สภาฯ เพื่อพิจารณาในวาระ 2 และ 3 ซึ่งถือเป็นตัวแปรสำคัญต่อความเชื่อมั่นทั้งในและต่างประเทศ นอกเหนือไปจาก แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะ 3-5 ปี
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึง แนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวันนี้ (24 ก.ค.) ว่า วานนี้ SET ปิดทะลุ 1,500 จุดครั้งแรก ในรอบกว่า 1 เดือน ปิดที่ 1,513.31 จุด บวก 2.12% โดยคาดว่าวันนี้ ยังมีแรงส่งให้ไต่ระดับขึ้นทดสอบแนวต้านถัดไปที่ 1,520 จุด แม้ไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้าหนุนการลงทุน แต่ก็ขาดปัจจัยลบใหม่ที่จะเข้ามากดดัน SET เช่นกัน อีกทั้ง นักลงทุนต่างชาติซื้อ – ขายสุทธิเพียงเล็กน้อย ทำให้แรงกดดันที่เคยมีน้ำหนักในเดือนมิ.ย. อ่อนแรงลง
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิเคราะห์ เชื่อว่า การเก็งกำไรจะสามารถดำเนินต่อไปจนถึงสิ้นสัปดาห์นี้ อาจผลักดันให้ SET ขยับขึ้นทดสอบแนว 1,530 จุด ได้ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควร “ขายทำกำไร” ตามแนวต้านเป็นระยะ ๆ เช่นกัน เพราะปัจจัยพื้นฐานของการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ยังมีความเปราะบาง อีกทั้งประเด็นการเมืองมีแนวโน้มที่จะกลับมากดดันอีกครั้งในเดือน ส.ค.จากการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ที่จะเข้าสู่สภาฯ เพื่อพิจารณาในวาระ 2 และ 3 ซึ่งถือเป็นตัวแปรสำคัญต่อความเชื่อมั่นทั้งในและต่างประเทศ นอกเหนือไปจาก แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะ 3-5 ปี