ไขข้อข้องใจ "พระสงฆ์" สามารถทำสัญญากู้เงินได้หรือไม่?

ไขข้อข้องใจ "พระสงฆ์" สามารถทำสัญญากู้เงินได้หรือไม่?

ไขข้อข้องใจ "พระสงฆ์" สามารถทำสัญญากู้เงินได้หรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กูรูด้านกฎหมายและการเมือง เผยพระสงฆ์สามารถทำสัญญากู้เงินได้ หากเจ้าหนี้ยอมให้กู้

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและการเมือง เคยตอบคำถามผู้ตั้งกระทู้ผ่านเว็บไซต์ meechaithailand ถึงกรณีที่พระสงฆ์สามารถทำสัญญากู้เงินจากสถาบันการเงินได้หรือไม่ สัญญาที่เกิดขึ้นจะเป็นโมฆะหรือไม่ หาดูว่าการกู้เงินไม่ใช่กิจของสงฆ์ ว่าในสายตาทางกฎหมาย พระสงฆ์ก็เป็นบุคคลเหมือนคนทั่วไป ย่อมมีสิทธิเหมือนกับคนอื่น เว้นแต่ในส่วนที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเป็นการเฉพาะ เช่น ในเรื่องมรดก เพราะฉะนั้นถ้าพระจะกู้เงิน และเจ้าหนี้เขายอมให้กู้ ก็ไม่มีปัญหาอะไร

ข้อมูลจากส่วนนิติการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระบุถึงผู้ที่มีความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรมโดยหลักทั่วไป บุคคลย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา แต่มีข้อยกเว้นคือ บุคคลบางประเภทกฎหมายถือว่าหย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา เช่น ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ และบุคคลล้มละลาย สำหรับผู้เยาว์จะทำนิติกรรมได้ต้องรับความยินยอมจาก ผู้แทนโดยชอบธรรมต้องแสดงออก

ปกติแล้ว บุคคลทุกคนต่างมีสิทธิในการทำนิติกรรมสัญญา แต่ยังมีบุคคลบางประเภทที่เป็นผู้หย่อนความสามารถ กฎหมายจึงต้องเข้าดูแลคุ้มครองบุคคลเหล่านี้ ไม่ให้ได้รับความเสียหายในการกำหนดเงื่อนไขในการเข้าทำนิติกรรมของผู้นั้น

ผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา

  • ผู้เยาว์ (Minor)
  • บุคคลวิกลจริต (Unsound Mind)
  • คนไร้ความสามารถ (Incompetent)
  • คนเสมือนไร้ความสามารถ (Quasi-Incompetent)
  • ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย
  • สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน

ส่วนผู้ทำนิติกรรมแทน ได้แก่

  • ผู้อนุบาล (guardian) เป็นบุคคลที่ศาลแต่งตั้งให้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถ
  • ผู้พิทักษ์ (custodian) หมายถึง บุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนเสมือนไร้ความสามารถ

จากข้อมูลทั้งหมดนี้ พอจะสรุปได้ว่า พระสงฆ์สามารถทำสัญญากู้เงินได้เฉกเช่นบุคคลทั่วไปที่มีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook