ไอแบงก์ ออกมาตรการพักชำระหนี้เงินต้น-ยกเว้นค่าชดเชยผิดนัด อุ้มผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้

ไอแบงก์ ออกมาตรการพักชำระหนี้เงินต้น-ยกเว้นค่าชดเชยผิดนัด อุ้มผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้

ไอแบงก์ ออกมาตรการพักชำระหนี้เงินต้น-ยกเว้นค่าชดเชยผิดนัด อุ้มผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ออกมาตรการพักชำระหนี้เงินต้น ชำระเฉพาะกำไร นาน 6 เดือน และยกเว้นค่าชดเชยผิดนัด เพื่อบรรเทาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้

มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อของธนาคารที่ประสบภัยอุทกภัย ในพื้นที่ประสบภัยตามประกาศส่วนราชการ โดยให้ความช่วยเหลือครอบคลุมความช่วยเหลือทั้งลูกค้าบุคคลที่มีสินเชื่ออุปโภคบริโภคทั้งแบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน และลูกค้าธุรกิจที่มีสินเชื่อประเภทมีกำหนดระยะเวลา (Term Financing) ที่ได้รับผลกระทบทางตรง เช่น ที่อยู่อาศัยหรือสถานประกอบการได้รับความเสียหาย หรือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม เช่น ธุรกิจหรือคู่ค้าได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและส่งผลต่อธุรกิจหรือการดำรงชีพของลูกค้า โดยธนาคารจะพิจารณาพักชำระหนี้เงินต้นไม่เกิน 6 เดือน ให้ชำระเฉพาะกำไรตามอัตราที่กำหนดในสัญญาปัจจุบัน สามารถขยายระยะเวลาสัญญาออกไปไม่เกินระยะเวลาที่พักชำระ และยกเว้นค่าชดเชยผิดนัด (Late Charge) ที่เกิดขึ้นทั้งจำนวนจนถึงวันที่อนุมัติเข้าร่วมมาตรการ

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมมาตรการดังกล่าว สามารถติดต่อสอบถามและยื่นคำขอเข้าร่วมมาตรการได้ที่ เจ้าหน้าที่สินเชื่อของไอแบงก์ ทุกสาขา ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.-31 ธ.ค. 65 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ iBank Call Center 1302

985698

วิธีตรวจสอบพื้นที่ประสบอุทกภัย ปี 2564 ตามประกาศราชการ

1. เข้าสู่เว็บไซต์ http://portal.disaster.go.th/portal/public/index.do
2. เลือกจังหวัดที่ต้องการค้นหา
3. เลือกประเภทภัย เลือก อุทกภัย
4. เลือกสถานะ เลือก ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย
5. กดค้นหา

หมายเหตุ:

  1. "อัตรากำไร/ผลตอบแทน ผลิตภัณฑ์ธนาคารมิใช่ดอกเบี้ยหรือเป็นคำเรียกแทนดอกเบี้ย แต่มาจากหลักการที่ใช้ในการทำธุรกรรมที่ถูกต้องตามหลักการอิสลาม"
  2. อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ คืออัตราที่คำนวณได้จากประมาณการรายได้ของธนาคารและอัตราสัดส่วนการแบ่งผลตอบแทนเงินฝาก ซึ่งอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับอาจจะต่ำกว่าหรือสูงกว่าอัตราผลตอบแทนเงินฝากที่ธนาคารประกาศเมื่อครบกำหนดการฝาก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook