เทคนิควางแผนเก็บเงิน สำหรับคนที่อายุ 30 ปี แต่ไม่มีเงินเก็บ

เทคนิควางแผนเก็บเงิน สำหรับคนที่อายุ 30 ปี แต่ไม่มีเงินเก็บ

เทคนิควางแผนเก็บเงิน สำหรับคนที่อายุ 30 ปี แต่ไม่มีเงินเก็บ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เทคนิคเก็บเงิน สำหรับคนที่ทำงานอายุ 30 ปี แต่ไม่มีเงินเก็บ แค่ปรับเปลี่ยนแนวคิด-คำนวณและตั้งเป้าหมาย

"อายุ 30 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีเงินเก็บเลย ควรทำอย่างไรดี และควรมีเงินเก็บเท่าไหร่" แน่นอนว่าคำถามนี้พบได้บ่อยครั้งเมื่อเราก้าวเข้าสู่ช่วงวัยๆ หนึ่งความคาดหวังที่ว่าอายุเท่านี้ควรมีเงินเก็บ และมีสินทรัพย์อะไรเป็นของตนเองบ้าง ซึ่งผู้บริการด้านการเงินหลายคนมักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอายุไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่าควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ แต่สิ่งสำคัญคือ แต่สิ่งสำคัญคือเราควรวางแผนการเงินให้เหมาะสมกับช่วงอายุ รายได้ และแผนหลังเกษียณนั่นเอง แต่ถ้ายังมองไม่เห็นภาพ หรือเกิดข้อสงสัยที่ว่าหากวางแผนทางการเงินเพื่อให้มีเงินเก็บในอนาคตสามารถเริ่มได้ในช่วงวัย 30 ปี ถือว่าสายไปหรือไม่? แล้วจะยุ่งยากหรือเปล่า ควรเริ่มทำอย่างไรดี Sanook Money มีข้อมูลดีๆ มาฝากกัน

เว็บไซต์ keptbykrungsri ซึ่งเป็นแอปพลิเคชั่นที่ช่วยบริการเงินเพื่อตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการเก็บออมเงินอย่างเป็นระบบ ได้ให้ Trick พร้อมกับในการเริ่มต้นวางแผนการเงินของผู้ที่ประสบปัญหาสำหรับผู้ที่ทำงานจนอายุ 30 ปี แต่ไม่มีเงินเก็บไว้ดังนี้

1. เปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับเงินใหม่

หนึ่งในสาเหตุไม่มีเงินเก็บของคนอายุ 30 ปีนั้นก็คือมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเงินแบบผิด ๆ มาตั้งแต่แรก รวมถึงความเข้าใจเกี่ยวกับการออมเงินที่ผิดด้วย เพราะ “เงินเก็บ” นั้น คือเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในแต่ละเดือน แต่ในความเป็นจริงแล้วการนำรายได้มาหักเงินออมออกแล้วเหลือเงินอีกจำนวนหนึ่งต่างหาก ที่คุณสามารถนำมาใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้ เช่น ปกติแล้วคุณคิดว่า เงินเดือน-ค่าใช้จ่าย = เงินออม แต่สิ่งที่ควรจะเป็นคือ เงินเดือน-เงินออม = ค่าใช้จ่าย ต่างหาก!

อีกทั้งเรื่องของการออมเงินที่หลาย ๆ คนมีแนวคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นหากอายุยังน้อยหรือยังไม่อายุ 30 ซึ่งจริง ๆ แล้วนั้นการออมเงินนี่แหละคือสิ่งสำคัญสุด ๆ หากคุณเริ่มออมเงินและวางแผนการเงินได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ก็จะช่วยเพิ่มความมั่นคงและช่วยทำให้คุณมองเห็นเป้าหมายทางด้านการเงินได้เป็นอย่างดีมากยิ่งขึ้น ดังนั้นก่อนจะเริ่มเก็บเงิน ต้องหาสาเหตุไม่มีเงินเก็บให้ได้ก่อน แล้วปรับแนวคิดเกี่ยวกับเงินและการเงินใหม่ รับรองว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นการออมเงินที่ดีอย่างแน่นอน

saving-with-age-range

2. คำนวณและตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับเงินเกษียณ

แน่นอนว่าการเริ่มต้นเก็บเงินสำหรับผู้ที่ไม่มีเงินเก็บเลยก็คือการคำนวณเงินที่จำเป็นต้องใช้ หรือเงินที่ต้องการจะใช้ในช่วงเกษียณอายุนั่นเอง ซึ่งการคำนวณนี้จะต้องคิดถึงทุก ๆ ด้านของการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าที่อยู่อาศัย ค่ากินอยู่ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จากนั้นนำยอดเงินที่เราต้องการเอาไว้ใช้ในยามเกษียณแต่ละเดือนมาคำนวณอีกครั้งว่าจะต้องออมเงินในปัจจุบันเป็นจำนวนกี่บาทต่อเดือน จึงจะสามารถเก็บเงินได้ตามที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้

retirement-saving-plan-(1)

หนึ่งในสิ่งที่ห้ามลืมสำหรับการคำนวณจำนวนเงินที่ต้องเก็บสะสมนั้นก็คือ “อัตราเงินเฟ้อ” เพราะแน่นอนว่าทุก ๆ ปีนั้นอัตราเงินมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

3. เริ่มศึกษาการลงทุนเพื่อให้เงินทำงาน

สำหรับหลาย ๆ คน เรื่องของการลงทุนดูจะเป็นเรื่องที่ไม่คุ้นเคย ดูยุ่งยากและมีความเสี่ยงสูง แต่ในความเป็นจริงแล้วการลงทุนมีอยู่หลากหลายรูปแบบเพื่อให้คุณได้เลือกลงทุน จากคนที่ทำงานมานานและไม่มีเงินเก็บนั้น หากเริ่มเก็บเงินได้แล้ว ก็ควรมองหาการลงทุนเอาไว้เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าของเงินที่มีอยู่ให้มากขึ้นก็จะเป็นการช่วยให้เก็บเงินได้อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าการลงทุนนั้นมีโอกาสได้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากประจำหรือการเก็บเงินไว้เฉยๆ

การลงทุนสำหรับมือใหม่นั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด คุณอาจจะเริ่มจากการลงทุนในกองทุนรวมต่าง ๆ ก่อนได้ โดยทำการเปิดบัญชีกับธนาคารได้ทันที ซึ่งข้อดีของการนำเงินไปลงทุนกับเหล่ากองทุนรวมนั้นก็คือ มีผู้ดูแลเงินลงทุนให้ตลอดเวลา และเป็นผู้ที่มีความเป็นมืออาชีพเสียด้วย อีกทั้งยังทำให้คุณสามารถเข้าถึงการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น และสุดท้ายคือผลประโยชน์ด้านการลดหย่อนภาษีด้วยนั่นเอง

ดังนั้นการเริ่มเก็บเงินตั้งแต่วันนี้และเร่งเงินโตด้วยการลงทุนกับกองทุนรวม ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางการเก็บเงินที่ทำให้ได้ผลประโยชน์หลากหลายทางเลยทีเดียว ยิ่งถ้าคุณเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ไม่มีเงินเก็บแล้วล่ะก็ บอกเลยว่าไม่มีอะไรเหมาะไปกว่าการลงทุนในกองทุนรวมอีกแล้ว หากไม่มั่นใจและไม่อยากเสี่ยงมาก ก็ให้เลือกลงทุนกับกองที่มีความเสี่ยงต่ำเพื่อเรียนรู้ก่อนก็ได้ ซึ่งปัจจุบันสามารถลงทุนต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือนได้ ที่เรียกกันว่า DCA (dollar-cost averaging) การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน โดยลงทุนเป็นงวด ๆ งวดละเท่า ๆ กัน อาจลงทุนเป็นรายเดือน รายไตรมาส โดยไม่สนใจว่าราคาหุ้นที่เราจะซื้อตอนนั้นเป็นราคาเท่าไร จะขึ้นหรือจะลง การลงทุนแบบนี้จะเป็นการลงทุนแบบอัตโนมัติไปเรื่อย ๆ โดยตั้งเป้าหมายเป็นจำนวนเงินที่ต้องการลงทุนเป็นหลัก

การที่เป็นคนอายุ 30 แต่ยังไม่มีเงินเก็บนั้นไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะทุกคนมีปัจจัยการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันออกไป แน่นอนว่าคุณควรเริ่มต้นวางแผนการใช้เงิน การออม และการบริหารเงินให้เร็วที่สุด เพราะอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้าคุณก็จะเกษียณ หากคุณเริ่มออมและวางแผนการเงินตั้งแต่ตอนนี้ ก็มั่นใจได้เลยว่าชีวิตช่วงเกษียณของคุณจะดีกว่าที่คิดอย่างแน่นอน ปิดท้ายด้วยการมองหาตัวช่วยบริหารเงินดี ๆ อย่าง Kept by krungsri แอปเก็บเงินแนวใหม่จากธนาคารกรุงศรีช่วยเก็บเงินง่ายและสนุกกว่าเดิม ผ่านการทำงานร่วมกันอัตโนมัติของ 3 บัญชี ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือน 1 กระเป๋า 2 กระปุก (บัญชี Kept, Grow, Fun) แค่ปรับนิด ชีวิตก็เปลี่ยนแล้ว!

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook