ผู้ป่วยบัตรทองติดโควิดกลุ่มสีเขียว "เจอ แจก จบ" รักษาฟรีมีเงื่อนไขอะไรบ้าง เช็กเลยที่นี่

ผู้ป่วยบัตรทองติดโควิดกลุ่มสีเขียว "เจอ แจก จบ" รักษาฟรีมีเงื่อนไขอะไรบ้าง เช็กเลยที่นี่

ผู้ป่วยบัตรทองติดโควิดกลุ่มสีเขียว "เจอ แจก จบ" รักษาฟรีมีเงื่อนไขอะไรบ้าง เช็กเลยที่นี่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เงื่อนไขผู้ป่วยบัตรทองที่ติดโควิดในกลุ่มสีเขียว "เจอ แจก จบ" รักษาฟรีมีเงื่อนไขอะไรบ้างเช็กเลย!

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) วันที่ 7 มี.ค. 2565 ที่ผ่านมา ได้รับทราบการปรับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายชดเชยค่าบริการโควิด-19 ที่มีไม่มีภาวะเสี่ยงแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน (OP SELF ISOLATION: OPSI) อัตราการจ่ายดังนี้

1. ค่าบริการดูแลรักษาฯ จ่ายชดเชยในลักษณะเหมาจ่าย 1,000 บาทต่อราย ซึ่งประกอบด้วย ค่าบริการให้คำแนะนำการแยกกักตัวที่บ้าน การให้ยาที่เป็นการรักษาโรคโควิด-19 รวมค่าจัดส่ง ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร หรือยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ตามแนวทางที่กรมการแพทย์กำหนด รวมถึงยาตามอาการอื่นๆ การประสานติดตามอาการเมื่อให้การดูแลครบ 48 ชั่วโมง และการจัดระบบส่งต่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องส่งต่อ

2. ค่าบริการสำหรับการให้คำปรึกษาหรือการดูแลรักษาเบื้องต้นเมื่อได้รับคำปรึกษาจากผู้ป่วยโควิด-19 หลังให้การดูแลครบ 48 ชั่วโมงไปแล้ว เมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง และหรือให้ปรึกษาอื่นๆ จ่ายชดเชยในลักษณะเหมาจ่าย 300 บาท/ราย สำหรับหน่วยบริการที่ให้การดูแลตามข้อ 1

ทั้งนี้การปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวสืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว เมื่อปลายเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา กรมการแพทย์ร่วมกับประธานราชวิทยาลัยสาขาต่างๆ ตลอดจนผู้แทนหน่วยบริการ จึงได้จัดประชุมหารือจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย การดูแลรักษา การให้บริการผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบบผู้ป่วยนอก และมอบหมายให้ สปสช.หารืออัตราจ่ายชดเชยการให้บริการร่วมกับ 4 กองทุนสุขภาพให้มีแนวทางการจ่ายชดเชยเดียวกัน และที่ประชุมระหว่างสปสช. กรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคม และกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงได้กำหนดอัตราดังกล่าว เพื่อจัดบริการให้แก่ผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะเสี่ยงแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน

ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้แสดงความกังวลว่าการจัดบริการในลักษณะผู้ป่วยนอกอาจจะไม่สามารถครอบคลุมการให้บริการผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมากได้ เพราะที่สุดแล้วก็จะมีคอขวดที่ผู้ป่วยต้องเดินทางมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลอยู่ดี และมีการเสนอให้ร้านยาต่างๆ เข้ามาช่วยเป็นจุดกระจายยาฟ้าทะลายโจร และยาฟาวิพิราเวียร์ อีกทางหนึ่งเพื่อให้ผู้ติดเชื้อเข้าถึงบริการให้คำปรึกษาและยามากขึ้น โดยที่ประชุมคณะกรรมการ สปสช. ได้มอบหมายให้สำนักงาน สปสช. ไปดำเนินการศึกษาแนวทางความเป็นไปได้ต่อไป

657051

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook