เวิลด์แบงก์ หั่น GDP ไทยเหลือ 2.9% พิษรัสเซีย-ยูเครน ดันราคาน้ำมันพุ่ง-กระทบการใช้จ่าย

เวิลด์แบงก์ หั่น GDP ไทยเหลือ 2.9% พิษรัสเซีย-ยูเครน ดันราคาน้ำมันพุ่ง-กระทบการใช้จ่าย

เวิลด์แบงก์ หั่น GDP ไทยเหลือ 2.9% พิษรัสเซีย-ยูเครน ดันราคาน้ำมันพุ่ง-กระทบการใช้จ่าย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นางเบอร์กิต ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย (เวิลด์แบงก์) ระบุ เวิลด์แบงก์ ได้ปรับลดประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจไทยปี 2565 รอบใหม่ ลดลงเหลือ 2.9% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายที่ 3.9% ปัจจัยมาจากความเสี่ยงด้านต่างประเทศ โดยเฉพาะศึกรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลกระทบต่อด้านพลังงาน โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างสูงเพราะมีการนำเข้าด้านพลังงานมากถึง 4.5% ของ GDP

สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้มีทิศทางฟื้นตัวขึ้นปัจจัยมาจากการเปิดรับนักท่องเที่ยว ซึ่งเวิลด์แบงก์คาดว่าปี 2565 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยราว 6.2 ล้านคน รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นชัดเจน หนุนการบริโภคภายในประเทศ ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือ สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำหรับของไทยเริ่มอ่อนแอลง หากผลกระทบรุนแรงขึ้นจะทำให้ GDP ไทยลดลงไปอยู่ที่ 2.6% ซึ่งต่อกว่าประมาณการ์ไว้ โดยการคาดการณ์ดังกล่าวอยู่ภายใต้สมมติฐานว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครนจะส่งผลกระทบให้เกิดการช็อกในตลาดการเงิน

นอกจากนี้ เวิลด์แบงก์ มองนโยบายการเงินว่า แนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป อีกทั้งยังเห็นการเติบโตเศรษฐกิจที่ไม่เท่ากัน เช่น ภาคอุตสาหกรรม ฟื้่นตัวสูงกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ส่วนภาคการท่องเที่ยวเติบโตอ่อนแอ ในส่วนของภาวะเงินเฟ้อนั้นยังมีแรงกดดันจากทางด้านอุปทานจากราคาพลังงาน โดยมองว่าราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นจะเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว แต่ยังมีประเด็นที่ต้องติดตามเพราะอาจมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งปัจจุบันมองว่าแรงกดดันต่อราคาจ้างแรงงานมีอยู่จำกัด

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังค่อยเป็นค่อยไป มีความเปราะบาง และไม่เที่ยวเทียมกันในการฟื้นตัวของแต่ละภาคธุรกิจ ดังนั้น มาตรการเยียวยาผลกระทบของภาครัฐยังมีความจำเป็น แต่ควรเป้นมาตรการที่มีความเจาะจงมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางและได้รับผลกระทบสูง แม้ว่าภาครัฐจะมีพื้นที่ทางการคลังในการดำเนินนโยบายต่างๆ ได้ แต่พื้นที่แคบลง ปัจจุบันหนี้สาธารณะของไทยอยู่ที่ราว 60% ของ GDP จากเพดานหนี้สาธารณะที่ 70% ของ GDP ดังนั้น การดำเนินมาตรการด้านการเยียวยาแล้ว ควรมีการปฏิรูปด้านการจัดเก็บรายได้ในอนาคตไปพร้อมกันด้วยเพื่อความยั่งยืนทางการคลัง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook