กู้เงินออมสิน สร้างงานสร้างอาชีพ สูงสุด 300,000 บาท ยังขอกู้ได้จนถึง 30 ก.ย. นี้

กู้เงินออมสิน สร้างงานสร้างอาชีพ สูงสุด 300,000 บาท ยังขอกู้ได้จนถึง 30 ก.ย. นี้

กู้เงินออมสิน สร้างงานสร้างอาชีพ สูงสุด 300,000 บาท ยังขอกู้ได้จนถึง 30 ก.ย. นี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กู้เงินออมสิน 50,000-300,000 บาท กับสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ ดอกเบี้ย 3.99% ตลอดปี ยังขอกู้ได้จนถึง 30 ก.ย. นี้ หรือจนกว่าจะครบวงเงิน

หลังจากที่ ธนาคารออมสิน ปล่อยสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ ให้กู้สำหรับผู้เริ่มประกอบอาชีพ, ผู้ประกอบการรายย่อย, ผู้ขับขี่รถสาธารณะ วงเงินตั้งแต่ 50,000-300,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 3.99% ตลอดปี ตลอดอายุสัญญาเงินกู้ ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี ปลอดชำระ 6 งวดแรก โดยเปิดให้ลงทะเบียนเพื่อกู้เงินได้ที่เว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th เมื่อช่วงปลายปี 2564 ที่ผ่านมา โดยกำหนดกรอบโครงการจนถึงวันที่ 30 ก.ย. 65 หรือจนกว่าจะครบจำนวนวงเงินโครงการฯ

ล่าสุด นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาว่าได้มีการอนุมัติสินเชื่อ เป็นเงินทุนไปแล้ว 1,447 ล้านบาท รวมประมาณ 30,000 ราย ได้แก่ ผู้ประกอบการรายย่อยธุรกิจขนาดเล็ก, ร้านค้าปลีกค้าส่ง, โชห่วย, คนขับรถแท็กซี่-รถตู้สาธารณะ, ค้าขายออนไลน์ รวมถึงร้านค้าธุรกิจแฟรนไชส์ ส่วนการฝึกอบรมทักษะอาชีพมีราว 15,000 ราย จากเป้ามีผู้อบรมตลอดปี 2565 รวม 50,000 ราย

นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับเจ้าของธุรกิจ 57 แฟรนไชส์ ในการให้ความรู้ให้ทักษะสำหรับการประกอบอาชีพ ผู้ที่สนใจติดตามชม หรือเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ได้ที่เว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th ซึ่งมีธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม บริการ และสถาบันกวดวิชา มีราคาแฟรนไชส์ตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป สำหรับคุณสมบัติสามารถนำใบผ่านสิทธิจากเจ้าของเฟรนไชส์ไปยื่นกู้สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ เพื่อเป็นทุนตั้งต้นธุรกิจ สร้างอาชีพ มีรายได้ ต่อไปได้

สำหรับรายละเอียดโครงการสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ ธนาคารออมสิน มีดังนี้

คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อกู้เงินออมสิน 

  1. มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
  2. มีถิ่นที่อยู่อาศัย และ สถานประกอบการแน่นอน
  3. ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ผู้บริหาร หรือกรรมการของธนาคารออมสิน
  4. เป็นผู้เริ่มประกอบอาชีพ, ผู้ประกอบการรายย่อย, ผู้ประกอบการขนาดเล็ก, ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ที่ผ่านการฝึกอบรมจากหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน ที่มีความน่าเชื่อถือ หรือ มีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพดังกล่าวมาแล้ว แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
    • ผู้เริ่มประกอบอาชีพ, ผู้ประกอบการรายย่อย ประกอบด้วย ผู้ที่ผ่านการอบรมอาชีพ "ช่าง" ทุกประเภท เช่น ช่างปูน ช่างแอร์ ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม ช่างซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้ประกอบอาชีพเสริมสวย, ตัดผม เป็นต้น และผู้ที่ไม่ใช่ช่าง เช่น จำหน่ายสินค้า online การดูแลผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยติดเตียง การจัดดอกไม้ เป็นต้น โดยมีใบประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร ที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานรัฐ, เอกชน หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ
    • ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ประกอบด้วย ผู้ขับขี่รถแท็กซี่, รถตู้สาธารณะ, รถรับจ้างขนส่งสินค้า โดยมีใบอนุญาตขับขี่รถสาธารณะ หรือเอกสารอื่นๆ ตามประเภทของอาชีพ
    • ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ประกอบด้วย ผู้ประกอบการที่มีสถานที่จำหน่าย หรือสถานที่ให้บริการ ที่แน่นอน เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง โชห่วย แฟรนไชส์ ร้านนวดแผนไทย ร้านสปา อู่ซ่อมรถ เป็นต้น โดยมีทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนการค้า สัญญาแฟรนไชส์ หรือเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของอื่นๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook