ประกันสังคมเงินชราภาพ ผู้ประกันตน ม.33 ต้องส่งเงินเท่าไหร่ถึงจะมีสิทธิในเงินนี้

ประกันสังคมเงินชราภาพ ผู้ประกันตน ม.33 ต้องส่งเงินเท่าไหร่ถึงจะมีสิทธิในเงินนี้

ประกันสังคมเงินชราภาพ ผู้ประกันตน ม.33 ต้องส่งเงินเท่าไหร่ถึงจะมีสิทธิในเงินนี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เช็กเงื่อนไขประกันสังคมเงินชราภาพบำเหน็จ และเงินชราภาพบำนาญ ผู้ประกันตน ม.33 ต้องส่งเงินสมทบเท่าไหร่ถึงจะมีสิทธิในเงินนี้

การเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนมีสิทธิที่จะเลือกรับเงินสมทบประกันสังคมชราภาพบำเหน็จ หรือเงินชราภาพบำนาญ ได้ยังคงเป็นประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจกันอย่างต่อเนื่อง แต่ว่าผู้ประกันตนที่จะมีสิทธิในเงินส่วนนี้ได้จะต้องมีเงื่อนไขเป็นไปตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดด้วย

ผู้ประกันตนต้องทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจเลือกรับเงินบำเหน็จชราภาพ หรือเงินบำนาญชราภาพ

  • เงินบำเหน็จ รับก้อนเดียว
  • เงินบำนาญ รับแบบทยอยจ่ายไปตลอดชีวิต

เงินบำเหน็จชราภาพ

เงื่อนไข

  • อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • ลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน
  • ส่งเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน หรือ 15 ปี

รูปแบบเงินที่จะได้รับเป็นเงินก้อนเดียว

สิทธิที่จะได้รับของการจ่ายสมทบแต่ละแบบ

  • กรณีจ่ายสมทบน้อยกว่า 12 เดือนจะได้รับเงินสมทบเท่าที่ผู้ประกันตนจ่ายมา และจะได้รับเงินออมชราภาพของผู้ประกันตนฝ่ายเดียว
  • กรณีจ่ายสมทบตั้งแต่ 12-179 เดือน จะได้รับเงินออมชราภาพของผู้ประกันตน เงินสมทบนายจ้าง และผลประโยชน์ตอบแทน

เงินบำนาญชราภาพ

เงื่อนไข

  • ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป หรือมากกว่า 15 ปี
  • อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • ลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน

รูปแบบเงินที่จะได้รับเป็นแบบรายเดือนตลอดชีพ

สิทธิที่จะได้รับของการจ่ายสมทบแต่ละแบบ

  • กรณีจ่ายสมทบ 180 เดือน จะได้รับเงินเป็นจำนวน 20% ของค่าจ้างเฉลี่ยของ 60 เดือนสุดท้ายที่ได้ทำการจ่ายเงินประกันสังคม (คิดจากฐานค่าจ้างขั้นต่ำ 1,650 บาท สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท)
  • กรณีจ่ายสมทบเกิน 180 เดือน หรือมากกว่า 15 ปี บวกเพิ่มปีละ 1.5% ต่อปี

อย่างไรก็ตาม น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ระบุ หลังจาก ครม. มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม ด้วยการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ 3 ขอ (ขอเลือก ขอคืน และขอกู้) หลักการหลังจากนี้ต้องเข้าสู่กระบวนการทางกฤษฎีกา โดยอาจจะให้สำนักงานประกันสังคมทำกฎหมายลูกขึ้นมาเพื่อกำหนดลักษณะการจ่าย การกู้ในรูปแบบไหน จากนั้นจะนำเรื่องเข้าสู่รัฐสภาเพื่อให้ ส.ส.พิจารณารายละเอียดก่อนจะมีประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook