ออมสิน เปิดแก้หนี้ระยะยาว มัดรวมหนี้บ้าน-หนี้อื่นๆ ลดภาระดอกเบี้ย ค่างวด เพิ่มสภาพคล่อง

ออมสิน เปิดแก้หนี้ระยะยาว มัดรวมหนี้บ้าน-หนี้อื่นๆ ลดภาระดอกเบี้ย ค่างวด เพิ่มสภาพคล่อง

ออมสิน เปิดแก้หนี้ระยะยาว มัดรวมหนี้บ้าน-หนี้อื่นๆ ลดภาระดอกเบี้ย ค่างวด เพิ่มสภาพคล่อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ออมสินเปิดแก้หนี้ระยะยาว กับโครงการบ้านดีหนี้เบา โดยเปิดให้สามารถรวมหนี้บ้าน และหนี้สินเชื่อรายย่อยอื่นๆ ไว้ที่เดียว เช็กเงื่อนไขเลย

ธนาคารออมสิน เปิดโครงการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้ตามมาตรการบ้านดี หนี้เบา เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยในช่วงที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตามมาตรการแก้หนี้ระยะยาว โดยมีรายละเอียดดังนี้

debt

โครงการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้ตามมาตรการบ้านดี หนี้เบา

เป็นการรวมหนี้บ้าน และหนี้สินเชื่อรายย่อยอื่นๆ ไว้ที่เดียวเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามมาตรการแก้หนี้ระยะยาวด้วยการรีไฟแนนซ์ และการรวมหนี้ โดยใช้ประโยชน์จากหลักประกันในส่วนของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เหลืออยู่

ข้อดีของการเข้าร่วมโครงการตามมาตรการแก้หนี้ระยะยาวด้วยการรีไฟแนนซ์ และการรวมหนี้

1. ลดภาระดอกเบี้ยและค่างวด

  • ด้วยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อยที่ลดลงเมื่อนำมารวมหนี้

2. เพิ่มสภาพคล่อง

  • ด้วยระยะเวลาผ่อนชำระได้นานขึ้น

3. ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต

  • หากเจรจาปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้เสีย

รูปแบบการรวมหนี้

การรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้ภายนอกธนาคาร*

 debt1.1

เป็นการรวมหนี้สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นมารวมหนี้กับสินเชื่อบ้านธนาคารออมสิน

"หนี้รายย่อยอื่นๆ + หนี้บ้านธนาคารออมสิน > หนี้บ้าน + หนี้รายย่อยธนาคารออมสิน"

 debt1.2

เป็นการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านมาจากสถาบันการเงินอื่น พร้อมกับขอรวมหนี้สินเชื่อรายย่อยจากธนาคารออมสิน

"หนี้บ้านธนาคารอื่น + หนี้รายย่อยอื่นๆ ธนาคารออมสิน > หนี้บ้าน + หนี้รายย่อยธนาคารออมสิน"

 debt1.3

เป็นการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านมาจากสถาบันการเงินอื่น พร้อมกับขอรวมหนี้สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นจากสถาบันการเงิน

"หนี้บ้านธนาคารอื่น + หนี้รายย่อยอื่นๆ > หนี้บ้าน + หนี้รายย่อยธนาคารออมสิน"

*หมายเหตุ การรีไฟแนนซ์ และการรวมหนี้ภายนอกธนาคาร อัตราดอกเบี้ยจะอ้างอิงจากสินเชื่อเคหะเป็นหลักตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด

debt1

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ

  • ต้องเป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19
  • เป็นลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่มีประวัติการชำระหนี้ที่ดี ผลิตภัณฑ์ที่เข้าเงื่อนไขของมาตรการรวมหนี้กับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ต้องไม่เป็น NPL ปัจจุบันไม่มีหนี้ค้างชำระ และยังคงมีศักยภาพในการชำระหนี้

ระยะเวลาสมัคร

  • ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป อนุมัติและจัดทำนิติกรรมสัญญาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566

วงเงินให้กู้

  • สูงสุด (LTV) ไม่เกิน 100% ของราคาประเมินหลักประกัน (โดยยอดหนี้ของสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่นำมารวมหนี้ เมื่อรวมกับยอดหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจะต้องไม่เกินกว่ามูลค่าของราคาหลักประกัน)

ระยะเวลาผ่อนชำระ

  • ผ่อนนานสูงสุด 40 ปี**

อัตราดอกเบี้ย

  • สินเชื่อบ้าน ไม่เพิ่มจากเดิม ยกเว้นกรณีมีการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้าน ให้เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
  • สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่นำมารวมหนี้ ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เป็นอัตราดอกเบี้ยช่วงลอยตัวตามสัญญากู้เงิน บวกร้อยละ 2 ต่อปี ตลอดอายุสัญญา

สินเชื่อรายย่อยที่สามารถนำมารวมหนี้กับหนี้บ้าน (Debt Consolidation)

  • บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล / สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อทะเบียนรถยนต์เป็นประกัน

เงื่อนไขอื่นๆ

  • สินเชื่อรายย่อยที่มีอยู่กับธนาคารออมสิน ธนาคารจะไม่นำดอกเบี้ยค้างของสินเชื่อรายย่อยมารวมกับยอดหนี้ ดังนั้น กรณีผู้กู้ต้องการรวมหนี้สินเชื่อรายย่อยดังกล่าว ผู้กู้ต้องชำระดอกเบี้ยค้างชำระค่าธรรมเนียม ค่าบริการต่างๆ และเบี้ยปรับในการให้บริการ (ถ้ามี) ให้เสร็จสิ้นก่อนจ่ายเงินกู้
  • สินเชื่อรายย่อยกับสถาบันการเงินอื่น ธนาคารจะทำการรวมหนี้ด้วยวิธีการรวมยอดเงินต้น และดอกบี้ยทั้งหมด
  • ในการชำระหนี้แต่ละบัญชีต้องชำระหนี้ปิดบัญชีเท่านั้น ยกเว้น สินเชื่อที่มีลักษณะเป็นเงินหมุนเวียน เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี (OD) หากชำระหนี้ได้เพียงบางส่วนจะไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้
  • กรณีภาระหนี้ส่วนต่างที่ไม่ได้นำมารวมการขอสินเชื่อในครั้งนี้ และ/หรือกรณีสินเชื่อที่นำมารวมหนี้ในครั้ง มีส่วนเกินจากวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติ อาทิเช่น ดอกเบี้ยค้างชำระ ค่าธรรมเนียม ค่าบริการต่างๆ และเบี้ยปรับในการให้บริการต่างๆ และเบี้ยปรับในการให้บริการ (ถ้ามี) ฯลฯ ผู้กู้จะต้องชำระยอดหนี้ค้างชำระทั้งหมดพร้อมทั้งนำหลักฐาน หรือเอกสารในการชำระหนี้มาแสดงในวันที่ทำสัญญากู้เงิน
  • ผู้เข้าร่วมโครงการต้องลงนามสัญญากู้เงิน และจดทะเบียนจำนองหลักประกันตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร โดยผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาหลักประกัน , ค่าอากรแสตมป์ , ค่าใช้จ่ายในการจดจำนอง และอื่นๆ (ถ้ามี)
  • กรณีผู้เข้าร่วมโครงการผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารสามารถเก็บอัตราดอกเบี้ยผิดนัด ค่าบริการเบี้ยปรับ ที่เกิดจากการผิดนัดได้ รวมทั้งสามารถดำเนินทางกฎหมายเพื่อบังคับหลักประกันที่จำนองเพื่อชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook