สุพัฒนพงษ์ จ่อถกทีมเศรษฐกิจคลอดมาตรการลดค่าครองชีพ รับมือพลังงาน-น้ำมันแพง

สุพัฒนพงษ์ จ่อถกทีมเศรษฐกิจคลอดมาตรการลดค่าครองชีพ รับมือพลังงาน-น้ำมันแพง

สุพัฒนพงษ์ จ่อถกทีมเศรษฐกิจคลอดมาตรการลดค่าครองชีพ รับมือพลังงาน-น้ำมันแพง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เว็บไซต์ thebangkokinsight รายงานว่า นายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ระบุ เตรียมรือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงเรื่องราคาน้่ำมันผันผวน สถานการณ์วิกฤตพลังงาน อันเกิดจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่อาจยืดเยื้อยาวนาน เพื่อศึกษาและออกมาตรการรับมือช่วยเหลือกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน จากต้นทุนราคาน้ำมันแพง ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลออกมาตรการระยะสั้น 10 ข้อ และใกล้ครบกำหนดสิ้นเดือน มิ.ย. นี้

  1. ผู้ใช้ก๊าซหุงต้มที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 3.6 ล้านคน ได้รับการเพิ่มวงเงินช่วยเหลือค่าก๊าซหุงต้มเป็น 100 บาท/ 3 เดือน เป็นเวลา 3 เดือน
  2. ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 1,500 คน ได้รับส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้มเดือนละ 100 บาท เป็นเวลา 3 เดือน
  3. ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง 1.57 แสนคน ได้รับส่วนลดค่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 5 บาท/ลิตร จำนวน 50 ลิตร เป็นเวลา 3 เดือน
  4. ตรึงราคาขายปลีก NGV ที่ 15.59 บาท/กก.
  5. ผู้ขับรถแท็กซี่ที่อยู่ในโครงการลมหายใจเดียวกัน ได้ซื้อก๊าซในราคา 13.62 บาท/กก. ในวงเงิน 10,000 บาท/เดือน เป็นเวลา 3 เดือน
  6. ตรึงราคาน้ำมันดีเซล ไว้ที่ 30 บาท/ลิตร
  7. ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 300 หน่วย จำนวน 20 ล้านหลังคาเรือน ได้รับส่วนลดค่า FT เป็นเวลา 4 เดือน
  8. นายจ้างและผู้ประกันตนในมาตรา 33 จำนวน 11.2 ล้านคน ได้รับการลดเงินนำส่งจาก 5% เหลือ 1% งวดค่าจ้าง พ.ค. – ก.ค. 
  9. ผู้ประกันตนในมาตรา 39 จำนวน 1.9 ล้านคน ได้ลดเงินนำส่งจาก 9% เหลือ 1.9% หรือจาก 432 บาทต่อเดือน ลดเหลือ จำนวน 91 บาทต่อเดือน ในงวดค่าจ้าง เดือนพ.ค. – ก.ค. 2565
  10. เกษตรกร 9 ล้านคน จะได้รับประโยขน์จากการแก้ปัญหาปุ๋ยแพงและปุ๋ยขาด และแก้ปัญหาอาหารสัตว์

หากราคาถูกกว่าต้องป้องกันการลักลอบนำน้ำมันจากไทยไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน และยังต้องดูแลราคาน้ำมันให้สอดคล้องกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทย ทั้งนโยบายเปิดประเทศ และดูฐานะทางการคลังให้อยู่ในระดับเหมาะสม

ทั้งนี้ จะต้องหารือกับทีมเศรษฐกิจให้ครอบคลุมทุกฝ่าย ได้แก่ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อประเมินสถานการณ์ และตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ การใช้งบประมาณและแนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของประเทศ เพื่อดูว่ามีทิศทางเริ่มดีขึ้นอย่างไร มาตรการให้ความช่วยเหลือควรเป็นอย่างไร ทั้งมาตรการเดิมที่ใช้อยู่ และมาตรการใหม่ควรออกมาเพิ่มเติมอย่างไร จึงขอความร่วมมือประชาชนร่วมกันประหยัดพลังงานอย่างจริงจัง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook