ภาษีที่ดิน ต้องปลูกอะไรถือว่าใช้ประโยชน์เกษตรกรรม เข้าข่ายลดภาษีได้

ภาษีที่ดิน ต้องปลูกอะไรถือว่าใช้ประโยชน์เกษตรกรรม เข้าข่ายลดภาษีได้

ภาษีที่ดิน ต้องปลูกอะไรถือว่าใช้ประโยชน์เกษตรกรรม เข้าข่ายลดภาษีได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ภาษีที่ดิน ปลูกพืช 51 ชนิดเพื่อเกษตรกรรม เข้าข่ายได้ลดภาษี เช็กเลยมีอะไรบ้าง

เว็บไซต์ thebangkokinsight รายงานว่า ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่เก็บโดย องค์กรปกครอบส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดิน และเพื่อบำรุง-เพิ่มงบประมาณให้ท้องถิ่น

สำหรับที่ดินรกร้างว่างเปล่า มีเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 1.2% แต่จะปรับเพิ่มอัตรา 0.3% ทุก 3 ปี แต่อัตรารวมไม่เกิน 3% ดังนี้

  • ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท อัตรา 0.3% หรือล้านละ 3,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 50-200 ล้านบาท อัตรา 0.4% หรือล้านละ 4,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 200-1,000 ล้านบาท อัตรา 0.5% หรือล้านละ 5,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท อัตรา 0.6% หรือล้านละ 6,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตรา 0.7% หรือล้านละ 7,000 บาท
  • ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 0.15%

ส่วนที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คือ ที่ดินที่ใช้สำหรับการทำนา ไร่ สวน สัตว์เลี้ยง เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจกรรมอื่นตามที่ประกาศกำหนด และมีกำหนดเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 0.15% ดังนี้

  • ที่ดินมูลค่า 0-75 ล้านบาท อัตรา 0.01% หรือล้านละ 100 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 100-500 ล้านบาท อัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 500-1,000 ล้านบาท อัตรา 0.07% หรือล้านละ 700 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาท อัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท

จากอัตราการจัดเก็บภาษีที่แตกต่างกันอย่างมาก ระหว่างที่ดินรกร้างว่างเปล่า กับที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ส่งผลให้เจ้าของที่ดินที่ซื้อไว้เพื่อรอพัฒนา หรือปล่อยไว้เพื่อรอราคาขึ้น ต่างพากันเปลี่ยนสภาพที่ดินให้เป็นเกษตรกรรม เพื่อให้จ่ายภาษีในอัตราที่ลดลง

ทั้งนี้ ราชกิจจานุเบกษา ว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์การประกอบเกษตรกรรม พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ระบุไว้ว่า การประกอบการเกษตรที่เป็นการทำไร่ การปลูกผัก การปลูกไม้ผลยืนต้น การปลูกป่าเศรษฐกิจแบบสวนเฉพาะ หรือการปลูกไม้ผลหรือไม่ยืนต้นแบบสวนผสมที่มีชนิดพืชดังต่อไปนี้ จะต้องประกอบเกษตรให้ได้

พืชที่เข้าข่ายปลูกให้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีทั้งสิ้น 51 ชนิด ดังนี้

  • กล้วยหอม อัตราปลูกขั้นต่ำ 200 ต้นต่อไร่
  • กล้วยไข่ อัตราปลูกขั้นต่ำ 200 ต้นต่อไร่
  • กล้วยน้ำว้า อัตราปลูกขั้นต่ำ 200 ต้นต่อไร่
  • กระท้อนเปรี้ยว อัตราปลูกขั้นต่ำ 25 ต้นต่อไร่
  • กาแฟ อัตราปลูกขั้นต่ำ 170 ต้นต่อไร่
  • กานพลู อัตราปลูกขั้นต่ำ 20 ต้นต่อไร่
  • กระวาน อัตราปลูกขั้นต่ำ 100 ต้นต่อไร่
  • โกโก้ อัตราปลูกขั้นต่ำ 150-170 ต้นต่อไร่
  • ขนุน อัตราปลูกขั้นต่ำ 25 ต้นต่อไร่
  • เงาะ อัตราปลูกขั้นต่ำ 20 ต้นต่อไร่
  • จำปาดะ อัตราปลูกขั้นต่ำ 25 ต้นต่อไร่
  • จันทร์เทศ อัตราปลูกขั้นต่ำ 25 ต้นต่อไร่
  • ชมพู่ อัตราปลูกขั้นต่ำ 45 ต้นต่อไร่
  • ทุเรียน อัตราปลูกขั้นต่ำ 20 ต้นต่อไร่
  • ท้อ อัตราปลูกขั้นต่ำ 45 ต้นต่อไร่
  • น้อยหน่า อัตราปลูกขั้นต่ำ 170 ต้นต่อไร่
  • นุ่น อัตราปลูกขั้นต่ำ 25 ต้นต่อไร่
  • บ๊วย อัตราปลูกขั้นต่ำ 45 ต้นต่อไร่
  • ปาล์มน้ำมัน อัตราปลูกขั้นต่ำ 22 ต้นต่อไร่
  • ฝรั่ง อัตราปลูกขั้นต่ำ 45 ต้นต่อไร่
  • พุทรา อัตราปลูกขั้นต่ำ 80 ต้นต่อไร่
  • แพสชั่นฟรุ๊ต อัตราปลูกขั้นต่ำ 400 ต้นต่อไร่
  • พริกไทย อัตราปลูกขั้นต่ำ 400 ต้นต่อไร่
  • พลู อัตราปลูกขั้นต่ำ 100 ต้นต่อไร่
  • มะม่วง อัตราปลูกขั้นต่ำ 20 ต้นต่อไร่
  • มะพร้าวแก่ อัตราปลูกขั้นต่ำ 20 ต้นต่อไร่
  • มะพร้าวอ่อน อัตราปลูกขั้นต่ำ 20 ต้นต่อไร่
  • มะม่วงหิมพานต์ อัตราปลูกขั้นต่ำ 45 ต้นต่อไร่
  • มะละกอ (ยกร่อง) อัตราปลูกขั้นต่ำ 100 ต้นต่อไร่ (ไม่ยกร่อง) อัตราปลูกขั้นต่ำ 175 ต้นต่อไร่
  • มะนาว อัตราปลูกขั้นต่ำ 50 ต้นต่อไร่
  • มะปราง อัตราปลูกขั้นต่ำ 25 ต้นต่อไร่
  • มะขามเปรี้ยว อัตราปลูกขั้นต่ำ 25 ต้นต่อไร่
  • มะขามหวาน อัตราปลูกขั้นต่ำ 25 ต้นต่อไร่
  • มังคุด อัตราปลูกขั้นต่ำ 16 ต้นต่อไร่
  • ยางพารา อัตราปลูกขั้นต่ำ 80 ต้นต่อไร่
  • ลิ้นจี่ อัตราปลูกขั้นต่ำ 20 ต้นต่อไร่
  • ลำไย อัตราปลูกขั้นต่ำ 20 ต้นต่อไร่
  • ละมุด อัตราปลูกขั้นต่ำ 45 ต้นต่อไร่
  • ลางสาด อัตราปลูกขั้นต่ำ 45 ต้นต่อไร่
  • ลองกอง อัตราปลูกขั้นต่ำ 45 ต้นต่อไร่
  • ส้มโอ อัตราปลูกขั้นต่ำ 45 ต้นต่อไร่
  • ส้มโอเกลี้ยง อัตราปลูกขั้นต่ำ 45 ต้นต่อไร่
  • ส้มตรา อัตราปลูกขั้นต่ำ 45 ต้นต่อไร่
  • ส้มเขียวหวาน อัตราปลูกขั้นต่ำ 45 ต้นต่อไร่
  • ส้มจุก อัตราปลูกขั้นต่ำ 45 ต้นต่อไร่
  • สตอเบอรี่ อัตราปลูกขั้นต่ำ 1 หมื่นต้นต่อไร่
  • สาลี่ อัตราปลูกขั้นต่ำ 45 ต้นต่อไร่
  • สะตอ อัตราปลูกขั้นต่ำ 25 ต้นต่อไร่
  • หน่อไม้ไผ่ตง อัตราปลูกขั้นต่ำ 25 ต้นต่อไร่
  • หมาก (ยกร่อง) อัตราปลูกขั้นต่ำ 100-170 ต้นต่อไร่
  • พืชกลุ่มให้เนื้อไม้ อัตราปลูกขั้นต่ำ 100 ต้นต่อไร่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook