กอบศักดิ์ มอง 4 ช่วงวิกฤตของ "Perfect Storm" มีผลกระทบขนาดไหน

กอบศักดิ์ มอง 4 ช่วงวิกฤตของ "Perfect Storm" มีผลกระทบขนาดไหน

กอบศักดิ์ มอง 4 ช่วงวิกฤตของ "Perfect Storm" มีผลกระทบขนาดไหน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กอบศักดิ์ ภูตระกูล มอง 4 ช่วงวิกฤตของ "Perfect Storm" กินระยะเวลานานเท่าไหร่ และจะส่งผลกระทบอย่างไร

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่และเลขานุการบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงเรื่อง Perfect Storm หรือเรียกง่ายๆ ว่า มรสุมเศรษฐกิจ โดยมีการแบ่งพัฒนาการออกเป็น 4 ช่วงใหญ่ๆ ดังนี้

ช่วงแรก - ช่วงนักลงทุน Exit หนีตาย

ช่วงนี้ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เริ่มจากจุดที่เฟดมีความชัดเจนมากขึ้น เรื่องความจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย และการสู้กับเงินเฟ้อ ส่งสัญญาณว่า Party is over จากราคาที่ Peak กันประมาณพฤศจิกายนที่แล้ว การปรับลดลงของสินทรัพย์ต่างๆ ก็เริ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคริปโต Dow Jones Nasdaq รวมไปถึงการอ่อนลงอย่างต่อเนื่องของค่าเงินสกุลต่างๆ สร้างความผันผวนปั่นป่วนครั้งใหญ่ให้กับระบบการเงินโลก จนเรียกได้ว่าเป็น Investment Storm ที่พัดผ่านสินทรัพย์ต่างๆ จนระเนระนาด

ช่วงนี้ได้ผ่านไปมากพอสมควรแล้ว ครึ่งแรกของปี 65 เป็นช่วงที่ราคาได้ลงกันมามากสุดในรอบ 50-60 ปี ฟองสบู่หลายๆ ฟอง ได้แฟบลงไปมาก กล่าวได้ว่า เราคงผ่านช่วงแรงๆ ไปพอสมควร

ช่วงสอง - ช่วงหลักของ "สงครามระหว่างเฟดกับเงินเฟ้อ"

หลังช่วงหนีตายของนักลงทุน เฟดก็ยังจะต้องขึ้นดอกเบี้ยไปอีกระยะ เพราะแม้ว่าจะขึ้นมา 3 ครั้งแล้ว 0.25%, 0.5%, 0.75% ดอกเบี้ยนโยบายของเฟดก็ยังเรียกว่าต่ำอยู่ดี ที่ 1.5-1.75% เงินเฟ้อก็ยังสูงที่ 8-9% เฟดยังจะต้องจ่ายยา และปรับยาไปอีกระยะจนกระทั่งโรคร้าย คือ เงินเฟ้อ เริ่มตอบสนอง และเริ่มปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ โดยจะเริ่มจาก

  • เงินเฟ้อเริ่ม peak
  • เงินเฟ้อเริ่มลดลงมาบ้าง
  • เงินเฟ้อเริ่มลงมาที่ 3-4%
  • เงินเฟ้อกลับมาที่เป้าหมาย 2%

ที่ยากสุด คงจะเป็นช่วงที่เฟดต้องต่อสู้ เพื่อเอาเงินเฟ้อลงจากระดับ 3-4% กลับมาที่เป้าหมาย 2% ช่วงสองนี้ คงใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 1 ปี เพราะเฟดต้องค่อยๆ ขึ้นดอกเบี้ย หากเงินเฟ้ออยู่นาน เงินเฟ้อก็จะดื้อยา หมายความว่า เฟดอาจจะต้องจ่ายยาแรง จากที่เคยบอกไว้ว่า ดอกเบี้ยเฟดจะขึ้นไปที่ 3.4% ปลายปีนี้ 3.8% ปีหน้า สุดท้ายแล้ว ก็อาจจะเอาเงินเฟ้อไม่อยู่ ต้องเพิ่มยา (ตลาดก็จะปั่นป่วนอีกรอบ) จนเอาเงินเฟ้อกลับลงมาสู่เป้าหมาย

ช่วงสาม - ช่วงที่รับผลพวงจากสงคราม

หนึ่งในผลพวงที่จะตามมา ที่หลายคนมองไว้ คือ Recession ซึ่ง Recession ครั้งนี้ อาจจะเป็น Global Recession เพราะการทำสงครามกับเงินเฟ้อ เกิดในหลายประเทศ พร้อมๆ กัน สภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยพร้อมๆ กัน จะทำให้สมดุลระหว่าง Demand และ Supply เริ่มเกิดขึ้นอีกครั้ง

สุดท้ายแล้ว เงินเฟ้อที่ดื้อยา ก็จะยอมสยบ กลับมาที่เป้าหมายหลายธนาคารกลางหวังว่า ไม่ต้องถึงจุดนี้ แต่ถ้าจำเป็นก็จะสร้าง Recession ขึ้นมา ก็จะทำซึ่งเรื่องนี้ ก็คงต้องลุ้นกันครับว่า เงินเฟ้อจะยอมง่ายๆ หรือจะต้องไปถึง "ไพ่ตาย" ใบนี้ แต่ที่น่ากังวลใจก็คือ ระหว่างสู้ศึก จะมีผลพวงอีกเรื่องเกิดขึ้น กลุ่มประเทศเกิดใหม่จะเริ่มเกิดปัญหา กลายเป็น Emerging Market Crisis ในช่วงนี้ ดอกเบี้ยสูงลิ่ว เศรษฐกิจซบเซา ความยาวนานของสงครามกับเงินเฟ้อ จะทำให้หลายประเทศเข่าอ่อน เข้าสู่วิกฤตในที่สุด

ช่วงสี่ - ช่วงฟื้นฟู

หลังเฟดและธนาคารกลางต่างๆ บรรลุเป้าหมาย ก็จะเป็นเวลาของการเก็บซากปรักหักพังจากสงคราม ถึงเวลาจ่ายยาตัวใหม่ ยากระตุ้นเศรษฐกิจ ที่เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ย อัดฉีดสภาพคล่องนำเศรษฐกิจออกจากความถดถอย เข้าสู่ช่วง "การขยายตัวอย่างยั่งยืน" ที่เป็นเป้าหมายของเฟดอีกครั้ง

ช่วงนี้ คงใช้เวลาประมาณ 2 ปี (บวกลบ) นับแต่ต้นปี 65 ส่วนแต่ละช่วงจะยาวนานแค่ไหน คงต้องรอดูว่าจะมีปัจจัยอะไรใหม่ๆ ที่พลิกผันเข้ามาซ้ำเติม หรือมาช่วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook