ค่าเงินบาทวันนี้ 15/7/65 เปิดเช้าที่ระดับ 36.58 บาทต่อดอลลาร์

ค่าเงินบาทวันนี้ 15/7/65 เปิดเช้าที่ระดับ 36.58 บาทต่อดอลลาร์

ค่าเงินบาทวันนี้ 15/7/65 เปิดเช้าที่ระดับ 36.58 บาทต่อดอลลาร์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.58 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 36.62 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย ระบุ ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 36.58 บาทต่อดอลลาร์ จากระดับปิดวันก่อนหน้าที่ระดับ 36.62 บาทต่อดอลลาร์ ทุบสถิติใหม่ในรอบ 6 ปี 9 เดือน นับจากเดือน ต.ค. 58 โดยมีแนวโน้มความผันผวนและมีความเสี่ยงที่จะอ่อนค่าได้ ท่ามกลางปัจจัยกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์

รวมถึงความกังวลแนวโน้มทางการจีนอาจใช้มาตรการ Lockdown ที่เข้มงวดเพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ดี เรามองว่า หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีนในวันนี้ออกมาดีกว่าคาดและช่วยหนุนให้ตลาดกลับมาเปิดรับความเสี่ยงสินทรัพย์ฝั่ง EM Asia มากขึ้น ก็อาจช่วยชะลอการอ่อนค่าของสกุลเงินฝั่ง EM Asia ได้บ้าง โดยแนวต้านใหม่ของเงินบาทจะเป็นโซน 36.70 บาทต่อดอลลาร์

อย่างไรก็ดี ควรระมัดระวังความผันผวนในตลาดการเงินในช่วงตลาดรับรู้รายงานเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะกลางในวันนี้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อทิศทางดอกเบี้ยนโยบายเฟด

อนึ่ง เรามองว่า ความไม่แน่นอนของทิศทางนโยบายการเงินเฟดได้กลับมากดดันตลาดการเงินอีกครั้ง ทำให้ตลาดมีแนวโน้มผันผวนสูงในระยะนี้ ซึ่งเราคงคำแนะนำเดิมว่า ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลาย โดยเฉพาะกลยุทธ์ที่ใช้ Options ซึ่งสามารถเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพในช่วงตลาดผันผวนหนักได้ โดยมองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.45-36.70 บาท/ดอลลาร์

ตลาดการเงินโดยรวมยังคงถูกกดดันจากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจหลักอาจเข้าสู่สภาวะถดถอยได้ จากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของบรรดาธนาคารกลาง โดยเฉพาะในฝั่งสหรัฐฯ ผู้เล่นในตลาดอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยงและกังวลแนวโน้มผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนมากขึ้น หลังจากที่สถาบันการเงินขนาดใหญ่ อาทิ JPM (-3.5%) และ Morgan Stanley (-0.4%) รายงานผลกำไรแย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ กดดันให้หุ้นกลุ่มการเงินต่างปรับตัวลดลง เช่นเดียวกันกับหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่อ่อนไหวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ (Cyclical stocks) อย่างไรก็ดี ผู้เล่นในตลาดบางส่วนยังคงกลับเข้ามาซื้อหุ้นเทคฯ ใหญ่ อาทิ Apple +2.1% หลังบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ทรงตัวใกล้ระดับ 3.00% อีกทั้งผู้เล่นในตลาดมองว่าผลประกอบการของบริษัทเทคฯ ใหญ่ อาจยังไม่แย่มากนัก ส่งผลให้ดัชนี S&P500 ปิดตลาด -0.30%

ส่วนในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ของยุโรป ปรับตัวลงต่อเนื่องกว่า -1.53% กดดันโดยความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปอาจเสี่ยงเข้าสู่สภาวะถดถอย ท่ามกลางความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤติพลังงานและแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อคุมปัญหาเงินเฟ้อ ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงขายหุ้นกลุ่มธนาคาร (Intesa Sanpaolo -5.5%, Santander -4.7%) รวมถึงหุ้นกลุ่มพลังงานที่ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบ (Total Energies -4.7%, BP -3.5%)

ทางด้านตลาดบอนด์ ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความเสี่ยงเศรษฐกิจหลักอาจถดถอย ได้กดดันให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 2.96% แม้ว่าตลาดจะยังคงมองว่าเฟดอาจมีโอกาสเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงได้ หลังเงินเฟ้อทั่วไป CPI ของสหรัฐฯ ล่าสุด ออกมาสูงกว่าคาด อนึ่ง เรามองว่า บอนด์ยีลด์ระยะยาวยังมีโอกาสผันผวนได้ในวันนี้ โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดจะรับรู้ รายงานเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะกลาง (U of Michigan 5-year Inflation Expectations) ซึ่งเรามองว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นอีกปัจจัยที่เฟดติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินความจำเป็นของการเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ยังคงผันผวนหนัก โดยดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นทดสอบจุดสูงสุดใหม่ใกล้ระดับ 109 จุด ท่ามกลางความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) เพื่อรับมือความเสี่ยงเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะยุโรปเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ดีเงินดอลลาร์ได้พลิกกลับมาย่อตัวลงบ้าง จากแรงขายทำกำไรของผู้เล่นในตลาดบางส่วน ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลสถานะการถือครองเงินดอลลาร์ (Net Long Positions) ที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามจุดสูงสุดใหม่ของเงินดอลลาร์ โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ ได้ย่อตัวลงและแกว่งตัวใกล้ระดับ 108.6 จุด อนึ่ง แม้เงินดอลลาร์จะแกว่งตัว sideways หรือย่อลงเล็กน้อย พร้อมการบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ที่ย่อตัวลงบ้าง แต่แนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดก็เป็นปัจจัยที่กดดันให้ ราคาทองคำย่อตัวลงและแกว่งตัวใกล้ระดับ 1,710 ดอลลาร์ต่อออนซ์

สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ โดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน (U of Michigan Consumer Sentiment) โดยผลกระทบจากปัญหาเงินเฟ้อสูงและภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจจะกดดันให้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคมลดลงสู่ระดับ 49 จุด จาก 50 จุด ในเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ จากผลสำรวจเดียวกัน ตลาดจะรอลุ้นข้อมูลคาดการณ์เงินเฟ้อระยะกลาง (U of Michigan 5-yr Inflation Expectations) ว่าจะเริ่มชะลอลงจากระดับ 3.1% จากที่สำรวจในเดือนก่อนหน้า หรือจะพุ่งสูงขึ้น เพราะหากเงินเฟ้อคาดการณ์เร่งตัวขึ้น พร้อมกับเงินเฟ้อทั่วไป CPI ล่าสุดที่เร่งตัวสูงขึ้น ก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เฟดยังคงจำเป็นต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยถึง 1.00% ในการประชุมเดือนกรกฎาคม และอาจมีแนวโน้มเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงในปีนี้ ซึ่งภาพดังกล่าวอาจยังคงเป็นปัจจัยหนุนการแข็งค่าของเงินดอลลาร์และกดดันตลาดการเงินให้อยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยงได้

ส่วนในฝั่งเอเชีย ตลาดมองว่า เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีขึ้นในเดือนมิถุนายนจากอานิสงส์ของการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากทางการจีน ทำให้ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) จะโตราว 0.3%y/y จากที่ดิ่งลงกว่า -6.7% ในเดือนก่อนหน้า ส่วนยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) ก็จะขยายตัวราว 4.3%y/y จากที่โตเพียง 0.7% ในเดือนก่อน เช่นเดียวกับ ยอดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Investment) ก็ยังขยายตัวได้ราว 6.0%y/y, YTD ทั้งนี้ เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 อาจโตเพียง 1.0%y/y ชะลอลงจากที่โตได้ 4.8% ในไตรมาสแรก จากผลกระทบของการระบาด COVID-19

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทยังมีแนวโน้มผันผวนและมีความเสี่ยงที่จะอ่อนค่าได้ ท่ามกลางปัจจัยกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ รวมถึงความกังวลแนวโน้มทางการจีนอาจใช้มาตรการ Lockdown ที่เข้มงวดเพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ดี เรามองว่า หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีนในวันนี้ออกมาดีกว่าคาดและช่วยหนุนให้ตลาดกลับมาเปิดรับความเสี่ยงสินทรัพย์ฝั่ง EM Asia มากขึ้น ก็อาจช่วยชะลอการอ่อนค่าของสกุลเงินฝั่ง EM Asia ได้บ้าง โดยแนวต้านใหม่ของเงินบาทจะเป็นโซน 36.70 บาทต่อดอลลาร์

อย่างไรก็ดี ควรระมัดระวังความผันผวนในตลาดการเงินในช่วงตลาดรับรู้รายงานเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะกลางในวันนี้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อทิศทางดอกเบี้ยนโยบายเฟด อนึ่ง เรามองว่า ความไม่แน่นอนของทิศทางนโยบายการเงินเฟดได้กลับมากดดันตลาดการเงินอีกครั้ง ทำให้ตลาดมีแนวโน้มผันผวนสูงในระยะนี้ ซึ่งเราคงคำแนะนำเดิมว่า ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลาย โดยเฉพาะกลยุทธ์ที่ใช้ Options ซึ่งสามารถเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพในช่วงตลาดผันผวนหนักได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook