CMMU เผยผลสำรวจคนไทยเสนอใช้อาหารเครื่องดื่ม เป็น Soft Power ดึงรายได้เข้าประเทศ

CMMU เผยผลสำรวจคนไทยเสนอใช้อาหารเครื่องดื่ม เป็น Soft Power ดึงรายได้เข้าประเทศ

CMMU เผยผลสำรวจคนไทยเสนอใช้อาหารเครื่องดื่ม เป็น Soft Power ดึงรายได้เข้าประเทศ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วานนี้ (7 กันยายน 2565) วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เผยผลสำรวจมุมมองของคนไทยในการใช้ Soft Power เพื่อส่งเสริมในการพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และภาพลักษณ์เพื่อสร้างพลังของประเทศ พบว่าคนไทย 73.2% ชี้ว่าควรนำเสนออาหารและเครื่องดื่ม รองลงมา 59.1% คือการบริการที่ยิ้มแย้มแจ่มใส และ 56.8% คือการเผยแพร่ศิลปะและวรรณกรรม นอกจากนี้ CMMU ได้ทำการวิจัยนำ Soft Power มาปรับใช้กับภาคธุรกิจเพื่อเพิ่มยอดขาย และคิดกลยุทธ์ SOFT ที่จะทำให้แบรนด์สินค้าแทรกซึมเข้าไปอย่างแนบเนียบในกลุ่มผู้บริโภค 

ผศ.ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากข้อมูลของ Brand Finance บริษัทด้านกลยุทธ์การประเมินมูลค่าแบรนด์ชั้นนำระดับโลก ได้แบ่ง Soft Power ออกเป็น 7 หมวดหมู่ย่อย ประกอบด้วย 1. การบริหารและการปกครอง 2. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 3. คุณภาพความเป็นอยู่ของประชากร 4. การส่งต่อด้านมรดกและความมั่งคั่งทางวัฒนธรรม 5. การศึกษาและวิทยาศาสตร์ 6. ด้านธุรกิจและการค้า และ 7. สื่อและการสื่อสาร ทั้งนี้ Soft Power ได้นำมาใช้อย่างเด่นชัดผ่านภาพลักษณ์และการสื่อสาร ทั้งโดนตั้งใจและไม่ตั้งใจของประเทศต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม หมวดสื่อและการสื่อสาร เป็นหมวดที่มีอิทธิพลกับผู้บริโภคที่เด่นชัดที่สุด ผ่านภาพบนตร์ ซีรีส์ ดนตรี โฆษณา และการสตรีมมิ่ง เป็นต้น 

จากผลสำรวจของ CMMU ต่อมุมมองคนไทยในการใช้ Soft Power ของประเทศต่าง ๆ ก็มีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอเมริกาถือเป็น “ขั้วอำนาจตะวันตก” ที่มีอิทธิพลต่อทั่วทั้งโลกมากที่สุด ขณะที่จีนเป็น “ขั้วอำนาจตะวันออก” ที่มีอิทธิพลกับคนไทยมากกว่า ในส่วนของแฟชัน ไลฟ์สไตล์ และวัฒนธรรม เกาหลีใต้ยังครองตำแหน่ง “ประเทศที่มีอืทธิพลต่อคนไทยมากที่สุด” นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า คนไทยอยากใช้กลยุทธ์ Soft Power เพื่อส่งเสริมในการพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และภาพลักษณ์เพื่อสร้างพลังของประเทศ โดย 73.2% ชี้ว่าควรนำเสนออาหารและเครื่องดื่ม รองลงมา 59.1% คือการบริการที่ยิ้มแย้มแจมใส และ 56.8% คือการเผยแพร่ศิลปะและวรรณกรรม 

ด้านกีรติ ศิริมงคล นักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมวิจัย ระบุว่า CMMU ได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างประชาชนและวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย เรื่อง “Soft Power ละมุนยังไงให้สุดปัง” เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดแบบ Soft Power ถ่ายทอดผ่านสื่ออย่างไรให้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย และคิดค้นกลยุทธ์ SOFT ที่ทำให้แบรนด์สินค้าแทรกซึมเข้าไปอย่างแนบเนียนในกลุ่มผู้บริโภค พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อให้นักการตลอดและผู้ประกอบการ รวมถึงคนทั่วไปที่สนใจ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ดังนี้ 

  • ABSORB (S) แบรนด์ต้องแทรกซึมเข้าไปอยู่ใกล้ตัวผู้บริโภคแบบแนบเนียน ให้เชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์และความชื่นชอบของผู้บริโภค เพื่อให้เกิดความรู้สึกยึดโยงกับแบรนด์ 
  • EXTRAORDINARY (O) ทำความธรรมดาให้พิเศษ แบรนด์ต้องสร้างจุดขายของตนเองได้จากสิ่งที่เรียบง่าน โดยจับลักษณะทั่วไปของแบรนด์มาสร้างสรรค์ผ่านสื่อและเนื้อหาให้น่าสนใจจนเกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ประทับใจกลุ่มเป้าหมาย 
  • FAST (F) การตลาดของแบรนด์จะต้องทันกระแสและสถานการณ์เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับการรับรู้ของผู้บริโภค รวมถึงต้องปรับตัวให้เท่าทันพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว 
  • CONSISTENCY (T) การสื่อสารของแบรนด์ต้องทำอย่างต่อเนื่องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทุก ๆ ช่องทาง เพื่อให้เกิดความกลมกลืน ซึมซับจนนำไปสู่การสร้างภาพจำของแบรนด์ต่อไป 

นอกจากกิจกรรมสัมมนา “Soft Power ละมุนยังไงให้สุดปัง” แล้ว CMMU ยังได้รับเกียรติจากผู้คร่ำหวอดในวงการ Soft Power มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ อาทิ ปิง - เกรียงไกร วชิรธรรมพร ผู้กำกับซีรีส์ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น ซีซัน 2-3 และโปรดิวเซอร์ซีรีส์แปลรักฉันด้วยใจเธอ, บุ๋ม - บุณย์ญานุช บุณบำรุงทรัพย์ อดีตหัวเรือใหญ่บาร์บีคิว พลาซ่า ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ YourNextU by SEAC และปราบ เลาหะโรจนพันธ์ Communication Director แคมเปญเลือกตั้งผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธ์ โดยทั้ง 3 ท่านได้พูดคุยถึงมุมมองที่มีต่อ Soft Power และการนำไปต่อยอด ประยุกต์ใช้เพื่อสร้างผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง รวมทั้งสะท้อนกลยุทธ์ Soft Power ในไทยที่มีมากขึ้นทุกวัน 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook