มัญญสิริ โชติบูรณ์วงศ์ สร้างชื่อโครงการ "HER" ผ้าอนามัยแบบผ้าสู่รางวัลระดับโลก

มัญญสิริ โชติบูรณ์วงศ์ สร้างชื่อโครงการ "HER" ผ้าอนามัยแบบผ้าสู่รางวัลระดับโลก

มัญญสิริ โชติบูรณ์วงศ์ สร้างชื่อโครงการ "HER" ผ้าอนามัยแบบผ้าสู่รางวัลระดับโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นางสาวมัญญสิริ โชติบูรณ์วงศ์ นักเรียนชั้นเกรด 12 โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา กล่าวว่า โครงการนี้เกิดจากการรวมตัวกลุ่มเพื่อน 12 คน ที่มีความเห็นตรงกัน ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยผู้หญิงที่ขาดแคลนผ้าอนามัย จึงมีแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณณ์แบบผ้า เป็นวิธีการที่เราจะสามารถช่วยเหลือผู้หญิงที่ขาดแคลนผลิตภัณฑ์ประจำเดือนได้ในระยะยาว ในระยะสั้น มอง ว่าในคนส่วนใหญ่เ เขาก็จะเอาเงินไปซื้อผ้าอนามัยธรรมดาทั่วไปที่อยู่ตามท้องตลาด ที่ใช้แล้วทิ้ง แล้วเขาก็จะเอาไปบริจาคกัน ซึ่งคิดว่าการที่เราทำแบบนี้ นก็เป็นวิธีหนึ่งที่เราสามารถช่วยผู้หญิงได้นะ เราสามารถที่จะช่วยเขามีผลิตภัณฑ์ประจำเดือนใช้ในระยะ 1 เดือน 2 เดือน ไม่ก็ 3 เดือน แต่ว่าจะนานขนาดไหนที่จะเราต้องเอาผ้าอนามัยไปบริจาคให้เขาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในช่วงโควิด มันยากมาก ๆ ที่เราจะนำผ้าอนามัยไปบริจาคให้คนกลุ่มนี้ได้ทุกครั้ง เช่น ผู้หญิงในทัณฑสถาน ซึ่งถ้าเราจะสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์เหล่านี้ มันอยู่ใกล้สถานที่ที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่หรือเปล่า หรือว่ากลุ่มคนผู้หญิงเขาจะสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ทุกครั้งไปหรือเปล่า นี่คือคำถามที่พวกเรา ตั้งขึ้นมาก่อนที่จะตัดสินใจว่าเราควรที่จะทำผ้าอนามัยแบบผ้า ซึ่ง ในเมืองไทยตอนนี้เห็นแล้วว่ามันมีผ้าอนามัยแบบผ้าเข้ามาแล้ว มีผ้าอนามัยแบบผ้าอยู่ 2 แบรนด์ ซึ่งก็ได้ลองซื้อมาดู แล้วก็มีซื้อของต่างประเทศมาดูด้วย จึงตัดสินใจว่าผ้าอนามัยแบบผ้าน่าจะเป็นสิ่งที่สังคมต้องการ ที่น่าจะเป็นผลในระยะยาวกว่า

s__96542772

ในส่วนของ ขั้นตอนการผลิต
1 Research & Development หลังจากฟอร์มทีมกับเพื่อน ๆ แล้ว เราก็มีการ Meeting กัน ตอนนั้นก็มี Meeting ออนไลน์ แล้วก็มี Meeting ที่มาเจอกันด้วย ที่เราแบบซื้อตัวอย่างมาลองเทสดู มีการทำ Research เกี่ยวกับแบรนด์ผ้าอนามัยแบบผ้าต่าง ๆ แล้วก็มีการอ่านรีวิวของลูกค้าหลาย ๆ คน ว่าเขาว่ายังไงว่าแบบตรงไหนดีตรงไหนไม่ดี อะไรเป็น จุดอ่อน อะไรเป็นจุดแข็ง ของผลิตภัณฑ์ เราเรานำมาปรับปรุง

2.Product Design มีวิธีการเย็บผ้าแบบไหนที่จะสามารถให้เราสามารถเย็บผ้าอนามัยแบบนี้ได้ เราควรที่จะใช้วัสดุ แบบไหน หลังจากที่เราดูตัวอย่างมาแล้ว จึงตัดสินใจ ออกแบบผ้าอนามัยแบบผ้า แล้วเราก็มีการทำ Research ด้วยว่ามีวัสดุ อะไรที่มันสามารถซึมซับน้ำได้ดี เราก็ไปทำ Research เกี่ยวกับวัสดุ ที่ทำจากสาหร่าย ที่ทำมาจากเปลือกแอปเปิ้ลก็มี มีทำมาจากผักตบชวาก็มี มีทำเป็นผ้าไมโครไฟเบอร์ก็มีหามาแล้ว สุดท้ายเราก็เลยมาลงเอยที่ผ้าสาลูแล้วก็มีการทดลอง ตัวเม็ดซึมซับของที่ทำจากชานอ้อย เราจะทำเลเยอร์ 4 เลเยอร์ตรงกลาง แล้วก็เลเยอร์บน แล้วก็เลเยอร์ล่าง แล้วก็มีการดีไซน์ อยากทำปลอกที่เอาไว้สอดผ้าอนามัยเข้าไป

3 Feedback & Review เราก็ได้รับฟีดแบคจากผู้หญิงที่เขาได้ลองใช้จริง รับฟังพวกเขา ซึ่งพวกเขาหลาย ๆ คนก็จะบอกว่ามีปัญหาเช่นว่าเลือดมันชอบไหลย้อนกลับ หรือว่ามันไม่ซึมเข้าไป มันใช้เวลานานมากกว่าจะซึมจากชั้นแรกลงไปชั้นถัด ๆ ไป หรือว่าผลกระทบ คือว่าหลาย ๆ คนก็รู้สึกไม่มั่นใจในการใช้ผ้าอนามัยแบบผ้าซึ่งมันอาจจะเป็นปัญหาในด้านการให้ความรู้ เป็นการให้ความรู้มากกว่าว่า ไม่ต้องกังวลเรื่องผ้าอนามัยแบบผ้า ก็คือมีสองจุดที่เราจะต้องทำให้ผ้าอนามัยแบบผ้าที่เราดีไซน์มันใช้ได้จริง

s__96542773

นอกจากนั้นแล้ว เราก็ต้องทำให้คนที่ใช้ รู้สึกมั่นใจในผลิตภัณฑ์ เพราะว่าหลายครั้ง คนไทยหลาย ๆ คนยังไม่เคยใช้ผ้าอนามัยแบบผ้ามาก่อน แล้วก็คิดว่าเป็นเรื่องที่ใหม่ แล้วพวกเราก็มักจะกลัว หรือว่าไม่มั่นใจ กับสิ่งใหม่ ๆ เสมอ พวกเราจึงคิดว่า หลังจากที่ได้รับฟังแล้ว เราก็กลับมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เราต่อไป เป็นผลิตภัณฑ์ ณ ปัจจุบันของเรา ณ ตอนนี้ ต่อไปก็คือเป็นพาร์ทเนอร์กับองค์กรต่าง ๆ เช่นองค์กรบ้านพระพร องค์กรที่อเมริกา อย่างแอมนาสตี้ ซึ่งเราก็ไปหาทุน ระดมทุน เพื่อที่จะเอาทุนเหล่านี้ มาเย็บผ้าอนามัย ซึ่งเราก็มีแอมบาสเดอร์ต่าง ๆ จากหลายโรงเรียน รอบ ๆ กรุงเทพฯ ที่เขาคอยช่วยกันระดมทุนในโรงเรียนของพวกเขา จัดงานในโรงเรียนอะไรอย เราก็เอาทุนเหล่านี้ มาเพื่อที่จะมาเย็บผ้าอนามัย
4.Solving & Production ซึ่งก็คือจ้างผู้หญิงและผู้ชายที่เพิ่งออกมาจากเรือนจำที่อยู่ที่บ้านพระพร ให้เขาเย็บผ้าอนามัยเหล่านี้ และสุดท้ายแล้ว เ ก็คือเราเอาไปมอบให้กับเด็กผู้หญิง แล้วก็เอาผู้หญิงที่เขาอาจจะอยู่ที่โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาน หรืออาจะเป็นผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ หรือว่าผู้ยากไร้ หรือว่าผู้หญิงที่ขาดแคลนผลิตภัณฑ์ประจำเดือนต่าง ๆ เช่นในเรือนจำ เราก็จะเอาไปมอบให้พวกเขาผ่านการที่เราพาร์ทเนอร์กับองค์กรหรือโรงเรียนที่อยู่ในสถานที่นั้น ๆ
นอกจากนั้นแล้วอีกความคาดหวังหนึ่งของกิจกรรมนี้ พวกเรา อยากที่จะทำให้โครงการนี้มันโตขึ้น คืออยากจะพาร์ทเนอร์กับ NGO และก็โรงเรียนมากขึ้น เพื่อที่จะเอาผ้าอนามัยแบบผ้าไปบริจาคให้กับพวกเขา ซึ่งตอนนี้ได้มีการติดต่อ NGO 10 แห่งด้วยกัน ซึ่งพวกเขารวม ๆ แล้วเราต้องใช้ผ้าอนามัยแบบผ้ามากกว่า 2,000 แผ่นเลย ก็คิดว่าจากการที่เราจะสามารถทำอย่างนั้นได้ เราก็จะต้องมีการ ระดมทุนเพิ่มขึ้น แล้วก็นำทุนเหล่านี้ไปจ้างให้คนเย็บผ้าอนามัยเพิ่มขึ้น แล้วก็นำผ้าอนามัยเหล่านี้ไปบริจาคให้กับ NGO เหล่านี้

แต่สุดท้ายแล้วเก็อยากพูดถึงเรื่อง Policy ด้วย เรื่องคล้าย ๆ กฎหมาย หรือ คล้าย ๆ โปรแกรมที่อยู่ในประเทศไทย ในแง่มุมในด้านของประจำเดือนด้วย ซึ่งเราก็ได้เห็นที่ผ่านมา ในประเทศไทยก็มีแคมเปญ เช่น ผ้าอนามัยฟรี หรือว่าโครงการนำร่องในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่มีการแจกผ้าอนามัยฟรี

s__96542770

ในฐานะเยาวชนไทย แพรคิดว่าเราสามารถเริ่มการนำร่องแบบนี้ได้ ซึ่งคิดว่าเราควรที่จะเริ่มในสถานที่การศึกษา เช่น โรงเรียน และมหาวิทยาลัย เพราะว่าเด็กนักเรียนหลาย ๆ คน เขาขาดแคลนทรัพยากรที่จะซื้อผ้าอนามัยใช้เอง หลายคนไม่มีรายได้เป็นกอบเป็นก้อน หลายคนเขาก็ไม่ได้มีเงินมากมายที่จะเอาไปใช้กับผ้าอนามันทุกเดือน คิดว่าการที่เรา เริ่มต้นจากการแจกผ้าอนามัยฟรีในโรงเรียน เราก็ไม่ต้องกลัวด้วยว่าจะมีคนขโมยผ้าอนามัย แล้วก็เลยคิดว่าสถานที่การศึกษาก็เป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะสามารถเอาผ้าอนามัยลองไปใช้ ลองเป็นโครงการนำร่องในการทำให้ผ้าอนามัยฟรีได้ เช่น ใน Switzerland ผู้หญิงทุกคนสามารถเข้าถึงผ้าอนามัยแบบฟรีได้แล้ว ก็เลยคิดว่าอันนี้เป็นอีกประเด็น เราจะต้องช่วยผลักดัน และช่วยเหลือกันเป็นหลาย ๆ กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะต้องลุกขึ้นมาเห็นถึงปัญหาเรื่องประจำเดือนว่ามันไม่ใช่แค่ปัญหาของผู้หญิง แต่มันเป็นของทุกคน เพราะเรื่องประจำเดือน เรื่องสุขอนามัย เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานแล้วก็การที่เรามารวมตัวกันช่วยเหลือและผลักดันปัญหานี้ ช่วยเหลือแล้วก็คอยฟื้นฟู คอยช่วยเหลือผู้หญิงที่ตกอยู่ในปัญหาเหล่านี้ มันไม่ใช่แค่การช่วยเหลือผู้หญิงเท่านั้น แต่มันเป็นการผลักดันความเท่าเทียมทางเพศอยู่ในสังคมของเรา

ซึ่งโครงการ “HER” ได้รับรางวัล Diana Award เป็นรางวัลที่อยู่ในนามเจ้าหญิงไดอาน่าของประเทศอังกฤษ ซึ่งรางวัล Diana Award เจะมอบให้เยาวชนอายุ 9 – 25 ปี ที่เขาได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมของเขา ผ่านโครงการ หรือว่าผ่านกิจกรรม คณะกรรมการจะคัดเลือกเยาวชนจากรอบโลกเลย จะมีแค่ไม่กี่คนที่ได้รับรางวัลนี้ ซึ่งพวกเราก็รู้สึกเป็นเกียรติมาก ๆ ที่ได้รับ เป็นเยาวชนไทยคนเดียวในปีนี้นะที่ได้รับรางวัลนี้ จากโครงการ HER ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยเหลือผู้หญิงที่ขาดแคลนผลิตภัณฑ์ประจำเดือน และความรู้ประจำเดือน ให้เขามีสุขอนามัยประจำที่ดีขึ้นผ่านผ้าอนามัยแบบผ้าที่เรานำไปมอบให้กับพวกเขานั่นเอง

ความเป็นมาของรางวัลนี้ เป็นรางวัลที่มอบในนามของเจ้าหญิงไดอาน่า เป็นมูลนิธิไดอาน่าโดยเฉพาะ แล้วก็รางวัลนี้เขาจะตัดสินเยาวชนจาก 5 เกณฑ์ด้วยกัน ซึ่งเกณฑ์แรกจะเป็นเกณฑ์ Vision คือว่าเราจะทำไมเราถึงสร้างโครงการของเราขึ้นมา จะมี Social Impact คือเราช่วยเหลือคนไปมากขนาดไหน เรามี Impact ต่อสังคมขนาดไหน มี Service Journey คือหลังจากที่เราทำโครงการเหล่านี้แล้ว เราได้เรียนรู้อะไร นอกจากเราได้เปลี่ยนแปลงสังคมแล้ว มันเปลี่ยนตัวเราให้ดีขึ้นอย่างไร มีแรงบันดาลใจ ให้กับผู้อื่นอย่างไร สุดท้ายแล้ว คือเราเป็นเยาวชนคนหนึ่งที่เป็นผู้นำในกลุ่มไหน เราเป็นผู้นำอย่างไร อาจจะแบบมีทีมที่คอยซัพพอร์ตเรา แล้วซึ่งเราก็ต้องเป็นผู้นำที่ดี แล้วก็คอยนำพวกเขาในการที่จะทำโครงการนี้ขึ้นมาจนประสบความสำเร็จ

อีกหนึ่งความภาคภูมิใจ คือดิฉันไปเข้าแคมป์ปรัชญาโอลิมปิก ได้เจอเพื่อน ๆ จากหลายประเทศ จาก 46 ประเทศด้วยกัน ซึ่งพวกเขาก็เก่ง ๆ กันทั้งนั้นเลย บางคนเขาถูกเลือกมาจากเป็นพัน ๆ คนเลย พวกเขาก็คือเก่งที่สุดจากพันคนเลย ซึ่งเราก็โชคดีมาก ๆ ที่ได้มีโอกาสเข้าไปอยู่ ณ จุด ๆ นั้น ที่เราสามารถได้คุยกับพวกเขา ได้ทำความรู้จักพวกเขา เป็นเพื่อนกับพวกเขา ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเกี่ยวกับประเทศของกันและกัน ปรัชญาสามารถเข้ามาใช้ในสังคมไทยเราได้ เราอาจจะสามารถสร้างสังคมที่ตั้งคำถาม สามารถตั้งคำถามได้มากขึ้น นั้นอาจจะเป็นสาเหตุที่เราไม่มีการสอบปรัชญาในโรงเรียนของเรา แต่ว่าถามว่าเราสอนได้ไหม เราก็จำเป็นที่จะต้องมีบุคลากรที่พร้อมก่อน ที่จะสอนปรัชญา เพราะปรัชญามันไม่ใช่แค่การสอนธรรมะ มันคือการสอนมันเป็นคล้าย ๆ วิชาวิทยาศาสตร์ เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์เลยก็ว่าได้ เพราะเป็นการตั้งคำถามแต่มันก็คือการที่เราจะต้องหาข้อมูล มีข้อมูลของนักปรัชญาหลายคน มาซัพพอร์ตความคิดเห็นของเรา ซึ่งความคิดเห็นของเรามันสามารถแตกต่างไปจากใครก็ได้เป็นความคิดเห็นของเราเองก็ได้ แต่เราจะต้องสามารถอธิบาย แล้วเราก็จะต้องสามารถสนับสนุน ประเด็นของเราได้ว่าทำไมเราถึงเชื่อแบบนี้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook