เช็กสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 อัปเดตล่าสุด "ผ่าน-ไม่ผ่าน" วัดเกณฑ์บุคคล-ครอบครัว

เช็กสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 อัปเดตล่าสุด "ผ่าน-ไม่ผ่าน" วัดเกณฑ์บุคคล-ครอบครัว

เช็กสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 อัปเดตล่าสุด "ผ่าน-ไม่ผ่าน" วัดเกณฑ์บุคคล-ครอบครัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตรวจสอบสิทธิ์ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 ล่าสุด ประกาศผลลงทะเบียนรอบที่ 6 วันที่ 21 ต.ค. 65 ผ่าน-ไม่ผ่าน เช็คสิทธิ์ตรวจสอบสถานะโสดหรือมีคู่สมรส ต้องเช็กด่วนอัปเดตข้อมูล

วันนี้ (21 ต.ค. 65) กระทรวงการคลัง ประกาศผลการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 บัตรคนจน รอบใหม่ ผ่านเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th ถือเป็นรอบที่ 6 ที่ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 บัตรคนจน รอบใหม่ ในช่วงวันที่ 7 ต.ค.-13 ต.ค. 65 สามารถเข้าไปตรวจสอบสิทธิผลการลงทะเบียนบัตรคนจน


card

วิธีเช็กสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th จากนั้นคลิก "ตรวจสอบสถานะการลงทะเบียน"
  2. กรอกหมายเลขบัตรประชาชน และวันเดือนปีเกิด จากนั้นคลิก "ตรวจสอบข้อมูล"
  3. ระบบจะ แสดงสถานะการลงทะเบียน ของผู้ลงทะเบียน

card2
card1

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวถึงความคืบหน้าการเปิดรับลงทะเบียนโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 (โครงการฯ) ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย.–17 ต.ค. 65 ณ เวลา 12.00 น. มีประชาชนลงทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 21,526,830 ราย โดยเป็นการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ 9,853,518 ราย และลงทะเบียนผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียน 11,673,312 ราย

โดยการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 บัตรคนจน รอบใหม่ สามารถสมัครได้จนถึงสิ้นเดือน ต.ค. 65 ส่วนการตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อคัดกรอกมี 2 เกณฑ์ดังนี้

1. การลงทะเบียนตามโครงการฯ เป็นการลงทะเบียนรายบุคคล (ผู้ลงทะเบียน) ตรวจสอบจะตรวจสอบทั้งรายบุคคล

  • ผู้ลงทะเบียนจะต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปนับถึงวันสุดท้ายที่เปิดรับลงทะเบียน
  • ผู้ลงทะเบียนมีบุตรอายุต่ำกว่า 18 ปี และเกิน 18 ปี ต้องระบุข้อมูลในแบบฟอร์มเฉพาะบุตรที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์นับถึงวันสุดท้ายที่เปิดรับลงทะเบียน
  • บุคคลที่สามารถมอบอำนาจสำหรับการลงทะเบียน ได้แก่ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะต้องมีเอกสารประกอบการลงทะเบียน ดังนี้
    • หนังสือมอบอำนาจ (สำหรับผู้ลงทะเบียนที่เป็นผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง)
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงทะเบียน (ผู้มอบอำนาจ) พร้อมลงลายมือชื่อสำเนาถูกต้อง
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงลายมือชื่อสำเนาถูกต้อง
    • สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ (ถ้ามี) หรือใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)

paper

2. การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ เกณฑ์บุคคล หากผู้ลงทะเบียนผ่านการตรวจสอบตามเกณฑ์บุคคลโดยมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้จะมีการตรวจสอบคุณสมบัติของเกณฑ์ครอบครัว ในกรณีที่มีคู่สมรสหรือบุตร

  • ตรวจสอบรายบุคคลและครอบครัว โดยมีขั้นตอนการพิจารณาคุณสมบัติ 2 ขั้นตอน ดังนี้
    • ขั้นตอนที่ 1 พิจารณาคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนว่าผ่านตามเกณฑ์หรือไม่
    • ขั้นตอนที่ 2 พิจารณาคุณสมบัติตามเกณฑ์ของครอบครัว กรณีที่ผู้ลงทะเบียนมีครอบครัว

**ดังนั้น หากผู้ลงทะเบียนมีครอบครัว สามารถลงทะเบียนได้ทั้งสามี และภรรยา ทั้งนี้ หากสามี และภรรยาผ่านการตรวจสอบคุณสมบติก็จะได้รับสิทธิคนละ 1 สิทธิ**

  • หากผู้ลงทะเบียนมีครอบครัว แต่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสหรือบุตรให้มาลงทะเบียนที่จุดรับลงทะเบียนหรือลงลายมือชื่อในเอกสารได้

แบบฟอร์มลงทะเบียนจะต้องมีการลงนามที่ครบถ้วนหากมีครอบครัว คู่สมรสและ/หรือบุตรที่อายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องลงนามทุกคนให้ครบถ้วน ทั้งนี้ คู่สมรสและ/หรือบุตรที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่จำเป็นต้องเดินทางมายื่นแบบฟอร์มลงทะเบียนพร้อมกับผู้ลงทะเบียน แต่จำเป็นต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรสและ/หรือบุตรพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาพร้อมกับแบบฟอร์มลงทะเบียน

กรณีที่ผู้ลงทะเบียนเป็นคนไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติ และหากต้องการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯสามารถลงทะเบียนได้หรือไม่ และถ้าหากลงทะเบียนได้ ผู้ลงทะเบียนจะต้องลงทะเบียนว่ามีครอบครัวหรือไม่ ตอบคือผู้ลงทะเบียนที่จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติตามกฎหมายประเทศไทย คู่สมรสจะต้องขอ "บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย" หรือบัตรต่างด้าว ที่เขต/อำเภอ เพื่อให้คู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติ มีข้อมูลเลข 13 หลัก เพื่อใช้สำหรับลงทะเบียน

ทั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทะเบียนกลุ่มดังกล่าวเมื่อตรวจสอบสถานการณ์ลงทะเบียนจะพบข้อความว่า “สถานะการลงทะเบียนสมบูรณ์” ซึ่งผู้ลงทะเบียนกลุ่มดังกล่าวไม่ต้องดำเนินการใด ๆ ในช่วงนี้ โดยขอให้รอผลการตรวจสอบคุณสมบัติอีกครั้ง ซึ่งจะประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนในช่วงเดือนมกราคม 2566

ผู้ลงทะเบียนที่มีสถานะแสดงข้อความว่า “สถานะการลงทะเบียนไม่สมบูรณ์” เนื่องจากข้อมูลของผู้ลงทะเบียนไม่ตรงตามฐานข้อมูลของกรมการปกครอง สำหรับผู้ลงทะเบียนที่มี “สถานะการลงทะเบียนไม่สมบูรณ์” สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ/สำนักงานเขต หากพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้องขอให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง

หากพบว่าข้อมูลที่ลงทะเบียนไม่ตรงกับข้อมูลทะเบียนราษฎร์ เช่น จำนวนบุตรที่อายุต่ำกว่า 18 ปี มีจำนวนมากกว่าข้อมูลบุตรที่ลงทะเบียนไว้ เป็นต้น ให้ติดต่อแก้ไข โดยหากเป็นผู้ที่ลงทะเบียนที่หน่วยงานรับลงทะเบียนจะต้องติดต่อขอแก้ไขข้อมูลที่หน่วยงานรับลงทะเบียนที่ผู้ลงทะเบียนได้ยื่นแบบฟอร์มลงทะเบียนไว้เท่านั้น

สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ สามารถติดต่อขอแก้ไขข้อมูลที่หน่วยงานรับลงทะเบียนใดก็ได้ โดยจะต้องแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในวันพฤหัสบดีที่ 17 พ.ย. 2565

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook