APEC 2022 กับประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการเป็นเจ้าภาพจัดประชุม

APEC 2022 กับประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการเป็นเจ้าภาพจัดประชุม

APEC 2022 กับประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการเป็นเจ้าภาพจัดประชุม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

APEC 2022 กับประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมในครั้งนี้

การประชุม APEC 2022 ที่ไทยรับไม้ต่อจากนิวซีแลนด์ในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคปี 2565 APEC 2022 ซึ่งก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรี โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศว่าไทยจะขับเคลื่อนให้เอเปคเป็นโอกาสการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกยุคหลังโควิดที่สมดุล ยั่งยืน โดยทุกคนมีส่วนร่วมผ่านแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) พร้อมประกาศหัวข้อหลักการประชุม APEC 2022 ว่า Open. Connect. Balance. หรือ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล”

โดยประเด็นที่ไทยผลักดันมี 3 ด้าน ได้แก่

  1. การส่งเสริมการค้าการลงทุนเสรีและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค
  2. การเดินทางที่สะดวกและปลอดภัย
  3. การส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมในเอเปค

สำหรับประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการเป็นเจ้าภาพ APEC 2022 ได้แก่

  • แสวงหาความร่วมมือกับสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค เพื่อปฏิรูปและยกระดับมาตรฐานทางเศรษฐกิจของไทยให้ทันสมัยและเป็นสากล รวมถึงยกระดับการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
  • พัฒนาระบบเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า พร้อมทั้งลดข้อจำกัดและอุปสรรคทางการค้าระหว่างเขตเศรษฐกิจ รวมถึงสร้างโอกาสทางการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับเขตเศรษฐกิจเอเปค
  • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาครัฐและภาคเอกชน เสริมสร้างศักยภาพให้ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยของไทยเข้าสู่ระบบการค้าโลกได้ เป็นการสนับสนุนการนำไปสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ซึ่งถือเป็นการดำเนินงานที่สอดรับกับบริบทโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption)
  • ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากคณะทำงานของเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเข้าถึงองค์ความรู้จาก Think Tank ที่สำคัญ เช่น Pacific Economic Cooperation Council (PECC) และ Organization for Economic Cooperation and development (OECD)
  • เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะภาคการเดินทางและท่องเที่ยว ภาคธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการค้าดิจิทัล ซึ่งเป็นการฟื้นฟูการเดินทางและการทำธุรกิจแบบพบหน้า ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้ ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  • ลดความเหลื่อมล้ำอันก่อให้เกิดการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน รวมถึงเป็นโอกาสในการแสดงความพร้อมว่าไทยสามารถปรับตัว และอยู่ร่วมกับสถานการณ์โควิด-19 โดยที่ยังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อมกันได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook