ครม. รับทราบผลการใช้จ่ายเงินกู้ตาม พรก. รอบที่ 2 กระตุ้นเศรษฐกิจ 2.9 ล้านล้านบาท

ครม. รับทราบผลการใช้จ่ายเงินกู้ตาม พรก. รอบที่ 2 กระตุ้นเศรษฐกิจ 2.9 ล้านล้านบาท

ครม. รับทราบผลการใช้จ่ายเงินกู้ตาม พรก. รอบที่ 2 กระตุ้นเศรษฐกิจ 2.9 ล้านล้านบาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี ( 3 มกราคม 2566) รับทราบการประเมินผลโครงการหรือแผนงานภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. เงินกู้ ฯ 1 ล้านล้านบาท) ครี้งที่ 2 ใช้จ่ายเงินกู้

ตามพระราชกำหนด รอบ 6 เดือน (เดือน ก.ค.-ธ.ค. 65) โดยการประเมินผลจะสุ่มตัวอย่างโครงการ/แผนงาน ที่ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 100 โครงการ กรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติรวม 898,092.12 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายรวม 877,766.71 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 97.73 ของกรอบวงเงินตามที่ คณะรัฐมนตรีอนุมัติ (ณ วันที่ 22 ส.ค. 65) โดยทั้ง 100 โครงการ มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมาก สร้างมูลค่าผล กระทบต่อเศรษฐกิจ 2,916,074.47 ล้านบาท มีรายได้กลับคืนภาครัฐ 562,869.84 ล้านบาท เกิดความคุ้มค่า 3.55 เท่า โดยมีผลการประเมินระดับแผนงาน ดังนี้

แผนงานที่ 1 แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อแก้ไขปัญหาโควิด- 19 การประเมินผลจำนวน 26 โครงการ กรอบวงเงินรวม 55,086.52 ล้านบาท เบิกจ่ายรวม 51,046.76 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 92.66 ของกรอบวงเงิน มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี เช่น โครงการค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัยสำหรับการปฏิบัติงานของ อสม. ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโควิด-19 ในชุมชน และโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด- 19 สำหรับบริการประชาชนในประเทศไทยเพิ่มเติม 35 ล้านโดส ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ 63,559.74 ล้านบาท มีรายได้กลับคืนภาครัฐจากการจัดเก็บภาษี จำนวน 12,267.03 ล้านบาท เกิดความคุ้มค่าหรือมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ 4.65 เท่า และผลกระทบทางสังคมที่สำคัญ คือ เพิ่มความสามารถด้านระบบสาธารณสุขในการรองรับผู้ป่วยและผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส โควิด-19 เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 เป็นต้น

แผนงานที่ 2 แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้กับ ภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 การประเมินผลจำนวน 17 โครงการ กรอบวงเงินรวม 669,688.03 ล้านบาท มีผลเบิกจ่ายรวม 667,393.81 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.65 ของกรอบวงเงิน โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับดี

เช่น โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ 2,156,189.28 ล้านบาท มีรายได้กลับคืนภาครัฐจากการจัดเก็บภาษี จำนวน 416,212.00 ล้านบาท เกิดความคุ้มค่าหรือมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ 3.23 เท่า สำหรับผลกระทบทางสังคมที่สำคัญ คือ เพิ่มความสามารถในการรักษาสภาพคล่อง ชะลอการเกิดหนี้เสียของภาคธุรกิจ รักษาการจ้างงานของภาคธุรกิจและระบบเศรษฐกิจและสังคมรักษา/ชดเชยรายได้ให้กับประชาชนและเกษตรกร บรรเทาภาระค่าใช้ใช้จ่ายสาธารณูปโภค (ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า) และชะลอการเกิดหนี้เสียและการเพิ่มขึ้นของหนี้สินครอบครัว

อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอแนะ เช่น ควรเพิ่มบทลงโทษกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของโครงการ และการมีระบบ ฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์และการปรับปรุงฐานข้อมูลให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน

แผนงานที่ 3 แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับ ผลกระทบจากโควิด-19 โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับดี เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่ ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” และโครงการคนละครึ่ง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ 696,325.45 ล้านบาท มีรายได้ที่คาดว่ารัฐจะได้รับกลับคืนสูงสุดจากการจัดเก็บภาษี จำนวน 134, 390.81 ล้านบาท เกิดความคุ้มค่าหรือมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ 3.55 เท่า สำหรับผลกระทบทางสังคมที่สำคัญ คือ ลดการว่างงาน การเลิกจ้างงาน สร้างงาน สร้างอาชีพ ประชาชนได้รับการฝึกอบรมด้านเกษตร ด้านการท่องเที่ยว และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เกิดแปลงต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ และมีการพัฒนาแหล่งน้ำกักเก็บน้ำและระบบชลประทาน รวมทั้งเกิดฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่ใช้วิเคราะห์เชิงลึกเพื่อออกแบบนโยบายทางเศรษฐกิจ โดยมีข้อเสนอแนะ เช่น ควรพัฒนาระบบเทคโนโลยีให้สามารถรองรับการทำธุรกรรมจำนวนมาก และให้ความสำคัญกับความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยี และการปกป้องข้อมูลของประชาชน เป็นต้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook