ประกันสังคมมาตรา 40 คืออะไร จ่ายเท่าไหร่ ได้รับการคุ้มครองอะไรบ้าง?

ประกันสังคมมาตรา 40 คืออะไร จ่ายเท่าไหร่ ได้รับการคุ้มครองอะไรบ้าง?

ประกันสังคมมาตรา 40 คืออะไร จ่ายเท่าไหร่ ได้รับการคุ้มครองอะไรบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รู้จัก "ผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 40" คืออะไร จ่ายเท่าไหร่ คุ้มครองอะไรได้บ้าง ล่าสุดประกันสังคมตอบชัดเจนแล้ว

ถือเป็นอีกหนึ่งคำถามสำหรับใครหลายคนว่า ประกันสังคมมาตรา 40 คืออะไร เงื่อนไขคุณสมบัติการสมัครเป็นอย่างไรบ้าง และต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ถึงจะได้รับการคุ้มครอง Sanook Money จะพาไปทำความรู้จักความหมายของผู้ประกันตนมาตรา 40 กัน

ประกันสังคมมาตรา 40 คืออะไร?

ประกันสังคมมาตรา 40 คือ สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะได้รับจากสำนักงานประกันสังคม โดยผู้ประกันตนมาตรา 40 หมายถึง บุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ ทำงานไม่มีนายจ้าง เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ทำงานค้าขาย เกษตรกร หรือผู้ประกอบวิชาชีพอิสระอื่น ๆ และไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39

คุณสมบัติของผู้สมัครประกันสังคม

  1. มีสัญชาติไทย
  2. เป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งอพยพเข้ามมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยมีมติคณะรัฐมนตรีผ่อนผันให้อาศัย อยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยโดยเลขประจำตัวหลักแรกเป็นเลข 6 หรือ 7
  3. เป็นบุคคลซ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจำตัวหลักแรกเป็นเลข 0 ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (ยกเว้นผู้ที่มีเลขประจำตัวหลักแรกและหลักที่สองเป็น 0)
  4. อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
  5. ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือมาตรา 39
  6. ไม่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการท้องถิ่น หรือไม่เป็นสมาชิกกองทุนของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีลักษณะอย่างเดียวกับกองทุนบำเหน็จบำนาญของส่วนราชการ รวมทั้งไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร หรือกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
  7. หากเป็นบุคลซึ่งเป็นผู้พิการ ให้ระบุลักษณะหรืออาการของผู้พิการโดยละเอียด (ยกเว้นผู้พิการทางสติปัญญา และผู้พิการที่ไม่อาจรับรู้สิทธิที่พึงจะได้รับจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ไม่สามารถสมัคร และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้)

หลักฐานการสมัคร

  • แบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส.1-40)
  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

ช่องทางการสมัครประกันสังคมมาตรา 40

  • ที่สำนักงานประกันสังคม และหน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม
  • สมัครผ่านระบบ Internet ที่ websit ของสำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th/section40_regist/
  • สมัครผ่านหน่วยบริการรับสมัครผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่ทำความตกลงกกับสำนักงานประกันสังคม เช่น ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น หรือร้านค้าที่มีสัญลักษณ์เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ

ช่องทางการชำระเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40

  • ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา
  • หักบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ทีเอ็มบีธนชาต (ttb), ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน
  • จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • จ่ายผ่านเคาน์เตอร์หน่วยบริการ ได้แก่ เคาน์เตอร์เซอร์วิส เทสโก้โลตัส เซ็นเพย์ บิ๊กซี และผ่านตู้บุญเติม

ประกันสังคมมาตรา 40 สิทธิประโยชน์

ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาทต่อเดือน

รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี

  • เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย
  • เงินทดแนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพ
  • ตาย (ค่าทำศพ)

ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาทต่อเดือน

รับสิทธิประโยชน์ 4 กรณี

  • เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย
  • เงินทดแนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพ
  • ตาย (ค่าทำศพ)
  • ชราภาพ (รับบำเหน็จ)

ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาทต่อเดือน

  • เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย
  • เงินทดแนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพ
  • ตาย (ค่าทำศพ)
  • ชราภาพ (รับบำเหน็จ)
  • สงเคราะห์บุตร

ประกันสังคมมาตรา 40 ได้เงินชราภาพกี่บาท

เงินชราภาพที่ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะได้รับเมื่ออายุ 60 ปี และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ได้แก่

  • เงินบำเหน็จชราภาพ (ตามจำนวนงวดที่จ่ายเงินสมทบ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน)
  • รับเงินบำเหน็จเพิ่ม (เมื่อจ่ายเงินสมทบ 180 เดือนขึ้นไป)
  • ฝากเงินออมเพิ่มได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท 

ผู้ประกันตนที่เลือกส่งประกันสังคมแบบทางเลือกที่ 1 (70 บาทต่อเดือน) จะไม่ได้รับเงินชราภาพตั้งแต่ข้อ 1-3

ผู้ประกันตนที่เลือกส่งประกันสังคมแบบทางเลือกที่ 2 (100 บาทต่อเดือน) จะได้รับเงินชราภาพ 50 บาทต่อเดือน และออมเพิ่มได้เดือนละ 1,000 บาท จะไม่ได้รับเงินชราภาพเฉพาะข้อ 2  

ผู้ประกันตนที่เลือกส่งประกันสังคมแบบทางเลือกที่ 3 (300 บาทต่อเดือน) จะได้รับเงินชราภาพ 150 บาทต่อเดือน รับบำเหน็จเพิ่ม 10,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป และออมเพิ่มได้เดือนละ 1,000 บาท

ประกันสังคม ม.40

ผู้ประกันตนมาตรา 40

ขาดส่งประกันสังคม มาตรา 40 กี่เดือนถึงหมดสิทธิ์

ผู้ประกันตน ประกันสังคม มาตรา 40 หากคุณไม่ได้ส่งเงินสมทบหรือมีช่วงเวลาที่ไม่ได้ส่งเงินสมทบอย่างต่อเนื่อง จะไม่สิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตน แต่การใช้สิทธิ์ในการรับประโยชน์ในกรณีต่างๆ จะขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับแต่ละกรณี หากคุณหยุดชำระเงินสมทบแล้วต้องการจะชำระต่อ คุณสามารถเริ่มจ่ายเงินสมทบได้ตั้งแต่เดือนปัจจุบันขึ้นไป แต่คุณไม่สามารถชำระเงินสมทบย้อนหลังได้

หากกังวลว่าจะลืมหรือขาดการชำระเงินสมทบ คุณสามารถชำระเงินสมทบประกันสังคมล่วงหน้าได้สูงสุด 12 เดือนเพื่อความสะดวกและป้องกันการลืมชำระ

เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 40

ช่องทางตรวจสอบสถานะประกันสังคม และสิทธิ์ต่างๆ 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook